"เชง"นักศึกษาชาติพันธุ์ ชนะเลิศการออกแบบจากผ้าม้งบนเวที"SACIT AWARD 2022"

"เชง"นักศึกษาชาติพันธุ์ ชนะเลิศการออกแบบจากผ้าม้งบนเวที"SACIT AWARD 2022"

นักศึกษาชาติพันธุ์หมู่บ้านเล็กๆ จ.ตาก คว้ารางวัลชนะเลิศการออกแบบบนเวที“SACIT AWARD2022” โดยนำผ้าปักของม้งมาใช้ออกแบบให้เหมาะกับวัยทำงาน เพื่อให้“ผ้าไทยใส่ได้ทุกGen” 

คิดสร้างสรรค์ให้ผ้าไทยใส่ได้ทุกเจน เป็นอีกเรื่องที่ต้องสนับสนุนจาก เวทีประกวดออกแบบผลงานศิลปหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ SACIT AWARD2022

โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ส่งงานเข้าประกวดการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นในรูปแบบ Ready to wearจากผ้าไทยที่สะท้อนภูมิปัญญา และอัตลักษณ์ความงามของผ้าไทยใน 4 ภูมิภาค จัดโดยสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) 

ศุภสุตา ชยเมธากูล หรือเชง นักศึกษาชั้น ปวส. วิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปาง สาขาเทคโนโลยีแฟชั่นและสิ่งทอ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทนิสิต/นักศึกษาGen-Y ชื่อผลงาน “UNDER THE SEA” 

เชง เป็นนักศึกษาชาติพันธุ์ มาจากหมู่บ้านวังน้ำเย็น จังหวัดตาก ชอบการวาดรูปและวาดแบบเสื้อผ้ามาตั้งแต่เด็ก ๆ มีความใฝ่ฝันในอนาคต อยากเป็นดีไซเนอร์ด้านออกแบบเสื้อผ้า โดยเฉพาะการนำลายผ้าปักของคนม้งมาออกแบบ 

"เชง"นักศึกษาชาติพันธุ์ ชนะเลิศการออกแบบจากผ้าม้งบนเวที"SACIT AWARD 2022"

เธอจึงส่งผลงานเข้าประกวด จนได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ จากการออกแบบเน้นสีสันเต็มไปด้วยสาหร่ายและสิ่งเหนือธรรมชาติ เลือกลวดลายปักด้วยมือของชนเผ่าม้ง เพราะอยากอนุรักษ์และส่งเสริมให้คนรุ่นหลังได้เห็นและสานต่อ 

"นำผ้าใยกันชงที่ทอด้วยมือโดยคนม้งในชุมชน เน้นความหลากหลายของสีที่แฝงไปด้วยเทคนิคการปักของคนม้งบนตัวชุดและการใช้ลูกเล่นที่เหมาะสมกับวัยทำงาน"

สำหรับเวทีการประกวดSACIT AWARD2022 “ผ้าไทยใส่ได้ทุกGen”ในปีนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 5 หัวข้อ ได้แก่1.ประเภทบุคคลทั่วไป ในหัวข้อ ชุดที่เหมาะสำหรับBaby Boomer,ชุดที่เหมาะสำหรับGen-X,ชุดที่เหมาะสำหรับGen-Yและ 2. ประเภทนิสิตนักศึกษาในหัวข้อ ชุดที่เหมาะสำหรับGen-YโดยGen-Z ,ชุดที่เหมาะสำหรับGen-ZโดยGen-Zโดยจัดการประกวดใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ คือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคกลาง