เช็กพื้นที่เสี่ยงภาคใต้ เฝ้าระวังดินถล่ม ช่วง 16-18 เม.ย. นี้

เช็กพื้นที่เสี่ยงภาคใต้ เฝ้าระวังดินถล่ม ช่วง 16-18 เม.ย. นี้

กรมทรัพยากรธรณี เตือนภัย พื้นที่เสี่ยงภาคใต้ เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม ในระหว่างวันที่ 16 - 18 เมษายน 2568

KEY

POINTS

ทั้งนี้ ขอให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยของกรมทรัพยากรธรณี เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังและวัดปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง หากเกิดเหตุให้แจ้งเตือนสถานการณ์แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบ 

กรมทรัพยากรธรณี เตือนภาคใต้ เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ ธรณีพิบัติภัยแผ่นดินถล่ม ในระยะ 1-3 วันนี้ เนื่องจากอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณภาคใต้ ทำให้มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง วัดปริมาณน้ำฝนในรอบ 24 ชั่วโมงได้มากกว่า 100 มิลลิเมตร อาจส่งผลให้เกิดแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากได้

กรมทรัพยากรธรณี ขอให้เครือข่าย ฯ และประชาชนทั่วไป ในพื้นที่เสี่ยงภัย จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ตรัง และกระบี่ เฝ้าระวังภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ในระหว่างวันที่ 16 - 18 เมษายน 2568

เช็กพื้นที่เสี่ยงภาคใต้ เฝ้าระวังดินถล่ม ช่วง 16-18 เม.ย. นี้

โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มซ้ำ

  • จังหวัดชุมพร (อำเภอสวี ละแม หลังสวน)
  • จังหวัดระนอง (อำเภอกะเปอร์ ละอุ่น)
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอท่าชนะ ไชยา กาญจนดิษฐ์)
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช สิชล ลานสกา ท่าศาลา)
  • จังหวัดพัทลุง (อำเภอป่าพะยอม)
  • จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง กันตัง ห้วยยอด)
  • จังหวัดกระบี่ (อำเภอเกาะลันตา เมืองกระบี่ เขาพนม)

ทั้งนี้ ขอให้อาสาสมัครเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัยของกรมทรัพยากรธรณี เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังและวัดปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง หากเกิดเหตุให้แจ้งเตือนสถานการณ์แผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลากให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบ 

ลักษณะดินที่เสี่ยงภัย

  • หน้าดินอุ้มน้ำในฤดูฝนได้มาก ดินเหนียวและดินตะกอนลำน้ำ
  • หน้าดินที่อยู่บนชั้นหินผุพังหนา
  • หน้าดินที่อยู่ในบริเวณที่ลาดชัน
  • มีร่องรอยดินไหล หรือซากต้นไม้ล้มอยู่ในบริเวณนั้น
  • หมู่บ้านที่เคยเกิดแผ่นดินถล่ม หรืออยู่ใกล้ทางน้ำบริเวณโค้งตวัด เคยเกิดแผ่นดินถล่มในอดีต

สิ่งบอกเหตุแผ่นดินถล่ม

  • ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน
  • ระดับน้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • น้ำในลำห้วยมีสีขุ่นข้น มีเศษไม้และดินโคลนจากที่สูงไหลลงมาตามน้ำ
  • เสียงดังผิดปกติในภูเข และในลำห้วย
  • เนื่องจากมีการแตกร้าวและเลื่อนตัวของดินหรือหิน

ข้อปฏิบัติ

  • ติดตามข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานภาครัฐ
  • สังเกตปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนสะสม > 100 มิลลิเมตร
  • พื้นที่ต้นน้ำ ทำฝายชะลอน้ำ ขุดลอกร่อง/ลำธาร เพื่อระบายน้ำ
  • พื้นที่ลาดชัน สังเกตการเปลี่ยนแปลงของดิน/หิน เช่น รอยแตก รอยเลื่อน ต้นไม้เอียง
  • เตรียมพร้อมอพยพหากสถานการณ์สุ่มเสี่ยง เช่น น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม
  • ตัดกระแสไฟฟ้า และปิดวาล์วน้ำประปา/น้ำบาดาล
  • หากจำเป็นต้องอพยพ ให้เคลื่อนย้ายไปยังจุดปลอดภัยที่ได้เตรียมไว้
  • เฝ้าระวังและสังเกตการณ์อย่างต่อเนื่อง และพร้อมรับข้อมูลข่าวสาร
  • แจ้งข้อมูลให้เครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็วที่สุด

ช่องทางการติดต่อและแจ้งข้อมูลเหตุดินถล่มได้ที่

ผ่านช่องทางออนไลน์

  • Line ID : goc.dmr
  • เพจ Facebook : กรมทรัพยากรธรณี
  • Website : www.dmr.go.th
  • ทางโทรศัพท์ หมายเลข 0 2621 9701