เปลี่ยนไม่มีกำหนด รอระบบ วันลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568

เปลี่ยนไม่มีกำหนด รอระบบ วันลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568

เปลี่ยนไม่มีกำหนด วันลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568 รอระบบทางรัฐ คนไทย ใกล้ตามไม่ทัน รายเก่ารัฐจ่ายอะไรบ้าง? จ่ายถึงเดือนไหน? เงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

"กรุงเทพธุรกิจ" ติดตามสิทธิสวัสดิการ 2568 คนไทย ใกล้ตามไม่ทัน ล่าสุด เปลี่ยนไม่มีกำหนด "วันลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568"  รอระบบทางรัฐ จัดซื้อจัดจ้างคนทำระบบลงทะเบียน รายเก่ารัฐจ่ายอะไรบ้าง? จ่ายถึงเดือนไหน เงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผู้มีสิทธิ์เช็กก่อน ประกาศคุณสมบัติล่าสุด ได้บัตรคนจน 2568

เปลี่ยนไม่มีกำหนด รอระบบ วันลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2568 อาจล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม เนื่องจากความล่าช้าในการจัดซื้อจัดจ้างผู้จัดทำระบบลงทะเบียน ซึ่งเดิมทีมีการแจ้งไว้ว่าจะ เปิดลงทะเบียนรอบใหม่ ภายในเดือนมีนาคม 2568

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเสร็จทันภายในปีงบประมาณนี้ และจะมีการพิจารณาปรับปรุงเกณฑ์คุณสมบัติผู้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568 โดยเฉพาะเกณฑ์เรื่องรายได้และทรัพย์สินอย่างรอบคอบ

มีผลกระทบต่อผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรายเก่าหรือไม่?

แม้ว่า การลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2568 จะล่าช้าออกไป แต่ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในปัจจุบัน จะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ

รัฐบาลยืนยันว่ามีงบประมาณเพียงพอ และพร้อมที่จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้กับผู้มีสิทธิ์ จนถึงเดือนตุลาคม 2568 

แต่ละเดือนเงินเข้าบัตรกี่บาท บัตรสวัสดิการแห่งรัฐรายเก่า รัฐจ่ายอะไรบ้าง?

รัฐจ่ายรวมเป็นเงิน 1,545 บาท ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงินสิทธิไม่สามารถถอนเป็นเงินสดได้ และไม่สะสมในเดือนถัดไป แบ่งออกเงินช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยดังนี้

  • ให้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 300 บาทต่อคนต่อเดือน
  • ให้วงเงินค่าเดินทางผ่านระบบขนส่งสาธารณะ 750 บาท ต่อคนต่อเดือน
  • ให้วงเงินส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 80 บาท ต่อคนต่อ 3 เดือน
  • มาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำประปา 100 บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน
  • มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า 315 บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน

กระทรวงการคลัง แจ้งคุณสมบัติ ผู้มีสิทธิ์ได้เงินรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด

  • ต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 
  • มีรายได้คนละไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี ภายในครอบครัว มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี 
  • ทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝาก พันธบัตร ตราสารหนี้ต่างๆ ต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนครอบครัวไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปีเช่นเดียวกัน
  • ต้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดิน เกินจากเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด 
  • ต้องไม่มีบัตรเครดิต 
  • ต้องไม่มีวงเงินกู้บ้านตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป 
  • ต้องไม่มีวงเงินกู้ซื้อรถไม่เกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป 
  • ต้องไม่เป็นภิกษุ สามเณร ผู้ต้องขัง บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ ข้าราชการ พนักงานราชการ ผู้รับบำเหน็จรายเดือน ผู้รับบำนาญ ข้าราชการการเมือง รวมถึง สส.และ สว.

อ้างอิง-ภาพ : กระทรวงการคลัง , กรมบัญชีกลาง