ล่า! ขบวนหลอกลงทุน ลวงซื้อสินค้าบริการ คอลเซ็นเตอร์ ไล่จับเพิ่ม

ล่า! ขบวนหลอกลงทุน ลวงซื้อสินค้าบริการ คอลเซ็นเตอร์ ไล่จับเพิ่ม

ไล่ล่า! ขบวนหลอกลงทุน ลวงซื้อสินค้าบริการ คอลเซ็นเตอร์ ไล่จับเพิ่ม ชี้ทำงานเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติการ จนถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังสั่งการ

กรณีตำรวจไล่ล่า ขบวนหลอกลงทุน ลวงซื้อสินค้าบริการ คอลเซ็นเตอร์ ไล่จับเพิ่ม ชี้ทำงานเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติการ จนถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังสั่งการ

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สอท. ให้แต่ละกองบังคับการ มีการการระดมจับกุมอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และปราบปรามการกระทำผิดที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการดำเนินการในทุกๆ เดือน อย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

1. กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สอท.4 จับกุม 2 ผู้ต้องหา เครือข่ายหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ หลอกลงทุน และคอลเซ็นเตอร์ เชื่อมโยง 7 เคสไอดี ความเสียหายกว่า 13 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • หญิงไทย อายุ 29 ปี ตามหมายจับศาลอาญา ที่ 9/2568 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยจับกุมได้ที่บ้านหลังหนึ่ง ในพื้นที่ ม.10 ต.คุยม่วง อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก
  • ชายไทย อายุ 33 ปี ตามหมายจับศาลอาญาพระโขนง ที่ 3/2568 ลงวันที่ - มกราคม 2568 โดยจับกุมได้ที่บริเวณหน้าบ้านหลังหนึ่ง ถนนไชยานุภาพ ต.ในเมือง อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก

เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีในข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนฯ” นำตัวส่งพนักงานสอบสวน และขยายผลเพื่อดำเนินคดีกับผู้ต้องหาในขบวนการรายอื่นๆ ต่อไป

2. กก.2 บก.สอท.5 ขบวนการหลอกลวงให้ลงทุนในระบบคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บไซต์ ctutdu5a.cc มูลค่าความเสียหาย 1,153,737.68 บาท โดยจับกุมตัวชายไทย อายุ 24 ปี ตามหมายจับของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ที่ 55/2568 ลงวันที่ 21 มกราคม 2568 ในข้อหา “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน,ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา” เจ้าหน้าที่สืบสวนขยายผล นำตัวผู้ร่วมขบวนการรายอื่น มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

3. กก.3 บก.สอท.5 จับกุมเจ้าของบัญชีขบวนการหลอกลงทุน โดยจับกุมชายไทย อายุ 31 ปี ชาว จ.กาญจนบุรี ตามหมายศาลอาญา ที่ จ.933/2568 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงทรัพย์โดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่บุคคลคนหนึ่งบุคคลใดและเป็นผู้เปิดหรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีเงินฝากบัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตนโดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตน หรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง โดยประการที่รู้หรือควรจะรู้ว่าจะ นำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี”

เจ้าหน้าที่ตำรวจไซเบอร์ยังคงสืบสวนอย่างต่อเนื่อง และการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการตรวจสอบข้อมูลการโอนเงิน และการใช้เทคโนโลยีในการหลอกลวงที่ถูกใช้ในคดีหลายกรณี ที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก โดยผู้ต้องหาหลายรายมีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการธุรกรรมการเงินผ่านบัญชีปลอมและการทำธุรกรรมออนไลน์ในลักษณะหลอกลวง ซึ่งมีการทำงานเป็นระบบตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติการไปจนถึงผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่คอยสั่งการการดำเนินงาน

ทั้งนี้ ตำรวจไซเบอร์ ยังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเพิ่มความระมัดระวังในการใช้บริการโทรศัพท์และการทำธุรกรรมออนไลน์ พร้อมทั้งแนะนำให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือและไม่หลงเชื่อข้อความหรือข้อเสนอที่ดูไม่น่าเชื่อถือจากแหล่งที่ไม่รู้จัก

อ้างอิง ตำรวจไซเบอร์