ด่วน! จับสด บุกจับข้าราชการ กองการกีฬา จัดจ้างซ่อมรถบัสทิพย์

ด่วน! จับสด บุกจับข้าราชการ กองการกีฬา จัดจ้างซ่อมรถบัสทิพย์

เหตุล่าสุด ด่วน! จับสด บุกจับข้าราชการ กองการกีฬา จัดจ้างซ่อมรถบัสทิพย์

เช้านี้ ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ร่วมกับ ป.ป.ท. ป.ป.ช. สตง. บุกจับข้าราชการ จนท.กองการกีฬา จัดจ้างซ่อมรถบัสทิพย์ รัฐเสียหาย 2.7 ล้านบาท

ปฏิบัติการจับกุมเจ้าหน้าที่สังกัดกองการกีฬา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดจ้างซ่อมรถโดยสารเป็นเท็จ มูลค่าความเสียหาย 2,790,928 บาท จำนวน 7 ราย 

ในความผิดฐาน

  • ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
  • ร่วมกันเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่ทำเอกสาร รับเอกสารหรือกรอกข้อความลงในเอกสาร กระทำการดังต่อไปนี้ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่
    (1) รับรองเป็นหลักฐานว่าตนได้กระทำการอย่างใดขึ้น หรือว่าการอย่างใดได้กระทำต่อหน้าตนอันเป็นความเท็จ
    (2) รับรองเป็นหลักฐานว่าได้มีการแจ้งซึ่งข้อความอันมิได้มีการแจ้ง
    (3) ละเว้นไม่จดข้อความซึ่งตนมีหน้าที่ต้องรับจดหรือจดเปลี่ยนแปลงข้อความเช่นว่านั้น
    (4) รับรองเป็นหลักฐานซึ่งข้อเท็จจริง อันเอกสารนั้น มุ่งพิสูจน์ความจริงอันเป็นความเท็จ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 162 และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172 

ด่วน! จับสด บุกจับข้าราชการ กองการกีฬา จัดจ้างซ่อมรถบัสทิพย์

สืบเนื่องจาก สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบพบความผิดปกติของการจัดซื้อจัดจ้างโดยวิธีการจ้างเหมาซ่อมแซมรถโดยสารปรับอากาศ ขนาด 45 – 50 ที่นั่ง จำนวน 5 คัน ในหน่วยงานราชการ สังกัด กองการกีฬา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร

จึงดำเนินการตรวจสอบเอกสาร พบว่า มีการเบิกฎีกาจ้างเหมาซ่อมรถโดยสารดังกล่าว ในห้วงระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2566 โดยไม่มีการส่งรถเข้าซ่อมจริง จำนวน 11 ครั้ง

โดยมีกลุ่มของผู้ต้องหาทั้ง 7 คน ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุขออนุมัติจ้างซ่อม และทำการปลอมใบเสนอราคาของบริษัทซ่อมรถ ทั้ง 5 คัน เพื่อจัดทำเอกสาร ใบเสนอราคากลางในการจ้างซ่อม แล้วดำเนินการอนุมัติงบประมาณ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) จึงส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ดำเนินการ

และมีการตรวจสอบเพิ่มเติม พบว่า ในห้วงระหว่างปี พ.ศ. 2565 – 2567 มีการจ้างเหมาซ่อมรถโดยสารดังกล่าว โดยที่   ไม่มีการส่งรถเข้าซ่อมจริงอีก จำนวน 12 ครั้ง

และกรุงเทพมหานครได้ตรวจพบการกระทำลักษณะเดียวกันอีก จำนวน 5 ครั้ง รวมจำนวนเงินที่กลุ่มผู้ต้องหาทำการเบิกจ่ายค่าซ่อมรถ โดยไม่มีการซ่อมจริง 28 ครั้ง หรือจำนวน 28 ฎีกาของการเบิกจ่ายงบประมาณ เป็นเงินที่มีการทุจริตทั้งสิ้น 2,790,928 บาท (สองล้านเจ็ดแสน-เก้าหมื่นเก้าร้อยยี่สิบแปดบาทถ้วน) 

และต่อมา เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 กรุงเทพมหานคร ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ในสังกัดกรุงเทพมหานคร เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน บก.ปปป. เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดทั้ง 7 คน จึงรวบรวมพยานหลักฐานและขออนุมัติหมายจับจาก ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง

ต่อมาในวันที่ 12 มีนาคม 2568 ผู้ต้องหาทั้ง 7 คน ได้ขอเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดสืบสวน กก.1 บก.ปปป. และมีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาทั้งหมดตามกฎหมาย