ช่วยลูกหนี้ 'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

ช่วยลูกหนี้ 'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

คุณสู้ เราช่วย ล่าสุด ช่วยลูกหนี้รายย่อย - SMEs - Non-bank "ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ" ธปท. ขยายลงทะเบียนให้แล้ว เข้าระบบ www.bot.or.th/khunsoo เช็กรายชื่อธนาคารไทยเข้าร่วม

รัฐช่วย โอกาสได้ปิดหนี้มาถึงแล้ว "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" อัปเดต คุณสู้ เราช่วย ล่าสุด ช่วยลูกหนี้รายย่อย - SMEs - ผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank "ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ" ธปท. "ขยายลงทะเบียน"ให้แล้ว สมัครได้ถึง 30 เมษายน 2568

เข้าระบบเว็บลงทะเบียนมาตรการล่าสุด www.bot.or.th/khunsoo เช็กรายชื่อธนาคารไทยเข้าร่วม"โครงการคุณสู้ เราช่วย" ปิดหนี้ได้ไว ไปต่อได้เร็ว

ช่วยลูกหนี้ \'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ\' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

โครงการคุณสู้ เราช่วย ขยายเวลาลงทะเบียน ถึง 30 เม.ย. 68

ธปท. ขยายเวลาการสมัครเข้าร่วมโครงการคุณสู้ เราช่วยและเพิ่มมาตรการของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์

ตามที่กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับสถาบันการเงิน ได้ออกมาตรการชั่วคราวภายใต้ชื่อโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" (โครงการฯ)

เพื่อให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยและ SMEs เฉพาะกลุ่มของธนาคารพาณิชย์ ผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เมื่อเดือนธันวาคม 2567 นั้น

เปิดข้อมูลจำนวนคนลงทะเบียนคุณสู้ เราช่วย ล่าสุด

ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568  มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 746,912 บัญชีจากลูกหนี้ 642,030 ราย 

และยังพบว่ามีลูกหนี้ทยอยสมัครเข้าร่วมโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง ธปท. จึงขยายระยะเวลาการสมัครเข้าโครงการฯ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 จากเดิมที่สิ้นสุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568

เพื่อเพิ่มโอกาสที่ลูกหนี้จะได้รับความช่วยเหลือและสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติในระยะข้างหน้าเมื่อรายได้ฟื้นตัว

ช่วยลูกหนี้ \'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ\' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

ธปท. ร่วมกับกระทรวงการคลัง ธนาคารออมสิน และผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank อื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยตามโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เพิ่มเติม 

โดยผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank จำนวน 2 ราย ที่มีคุณสมบัติและผ่านการพิจารณา ได้แก่ 

  • บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) 
  • บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

นั้น จะได้รับการสนับสนุน Soft loan จากธนาคารออมสิน เพื่อลดต้นทุนในการส่งผ่านความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้ 

และ Non-bank ทั้งสองรายนี้ จะร่วมสนับสนุนเม็ดเงินในการช่วยเหลือลูกหนี้ด้วย โดยการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ในส่วนของ Non-bank ประกอบด้วย 2 มาตรการ 

Non-Bank คืออะไร ต่างกับธนาคารทั่วไปยังไง?

คุณคงเคยได้ยินคำว่า Non-Bank อยู่บ่อย ๆ แล้วอาจเกิดความสงสัยว่า Non-Bank = ไม่ใช่ธนาคาร แค่นั้นรึเปล่า? 

จริงๆ แล้ว แทบทุกคนน่าจะเคยใช้บริการจาก Non-Bank กันมาบ้าง โดยที่เราอาจไม่รู้ว่าเป็นบริการของ Non-Bank ครับ ยกตัวอย่างเช่น 

  • บัตรเครดิตที่ออกโดยห้างสรรพสินค้า 
  • บัตรกดเงินสด 
  • บัตรเติมเงินค่าโดยสารรถไฟฟ้า 
  • การแลกเงินตราต่างประเทศจากร้านรับแลกเงิน เป็นต้น   

ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับจากการให้บริการของ Non-Bank 

  • ความสามารถในการเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกขึ้น 
  • Non-Bank ช่วยสนับสนุนนโยบายด้านบริการทางการเงิน ในการสร้างนวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ทางการเงินของประเทศ

เพื่อให้ Non-Bank มีความพร้อมในการให้บริการประชาชนอย่างเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ แบงก์ชาติได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 

กำหนดหลักเกณฑ์ในการประกอบธุรกิจของ Non-Bank เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่า จะได้ใช้บริการทางการเงินที่อยู่ภายใต้มาตรฐานการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินในระดับเดียวกับของธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ 

ช่วยลูกหนี้ \'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ\' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

มาตรการช่วยเหลือโครงการคุณสู้ เราช่วย เป็นอย่างไร?

มาตรการที่ 1 "ลดผ่อน ลดดอก" 

เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยด้วยการลดภาระค่างวดและภาระดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี 

1.) สินเชื่อวงเงินผ่อนชำระ (installment loan) ได้แก่

  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถยนต์
  • สินเชื่อจำนำทะเบียนรถจักรยานยนต์
  • สินเชื่อส่วนบุคคล
  • สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล
  • สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ (นาโนไฟแนนซ์)

โดยให้ชำระค่างวดขั้นต่ำที่ 70% ของค่างวดเดิม 

2.) สินเชื่อวงเงินหมุนเวียน (revolving credit) ได้แก่

  • สินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันประเภทบัตรกดเงินสด

โดยให้แปลงเป็นสินเชื่อแบบผ่อนชำระรายเดือน ชำระค่างวดไม่ต่ำกว่า 2% ของยอดคงค้างสินเชื่อก่อนทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการ 

รวมทั้งลูกหนี้จะได้รับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 10% จากอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาเดิม โดยต้องเป็นลูกหนี้สินเชื่อที่ทำสัญญาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2567

โดยมีสถานะบัญชีและคุณสมบัติตามที่กำหนด รวมถึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการ เช่น ลูกหนี้ต้องไม่ก่อหนี้เพื่ออุปโภคบริโภคเพิ่มในช่วง 12 เดือนแรกที่เข้าร่วมมาตรการ

ช่วยลูกหนี้ \'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ\' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

มาตรการที่ 2 "จ่าย ปิด จบ" 

เป็นการช่วยลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้รายย่อยที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL) และมียอดคงค้างหนี้ไม่สูง (ไม่เกิน 5,000 บาท) ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้แบบผ่อนปรน 

โดยลูกหนี้จะชำระหนี้บางส่วนเพื่อให้สามารถปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น ทำให้ลูกหนี้สามารถเริ่มต้นใหม่ได้

รวมภาพสรุปรายละเอียดมาตรการคุณสู้ เราช่วย

ช่วยลูกหนี้ \'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ\' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

ช่วยลูกหนี้ \'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ\' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

ช่วยลูกหนี้ \'ลดผ่อน ลดดอก - จ่าย ปิด จบ\' ขยายลงทะเบียน คุณสู้ เราช่วย

ช่องทางติดต่อสอบถามโครงการ "คุณสู้ เราช่วย" ช่วงยเหลือปัญหาหนี้ ปิดจบหนี้ประชาชน

ลูกหนี้ของ Non-bank ทั้ง 2 รายข้างต้น ที่สนใจเข้าร่วมมาตรการภายใต้โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" สามารถศึกษารายละเอียดของมาตรการและสมัครเข้าร่วมได้ที่ https://www.bot.or.th/khunsoo ตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 8.30 น. ถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 เวลา 23.59 น. 

ติดต่อสาขาของ Non-bank ที่เข้าร่วมมาตรการ และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 

  • BOT contact center ของ ธปท. โทร 1213 
  • Call center ของผู้ประกอบธุรกิจ Non-bank ที่เข้าร่วมโครงการ

อ้างอิง-ภาพ : ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand , ธนาคารแห่งประเทศไทย bot.or.th