'วันรักนกเงือก' สัญลักษณ์แห่งความรักความซื่อสัตย์ ก่อนถึงวันวาเลนไทน์

'วันรักนกเงือก' สัญลักษณ์แห่งความรักความซื่อสัตย์ ก่อนถึงวันวาเลนไทน์

13 กุมภาพันธ์ 'วันรักนกเงือก' สัญลักษณ์แห่งความรักและความซื่อสัตย์ ก่อนถึงวันวาเลนไทน์ อนุรักษ์นกเงือกซึ่งเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี ตรงกับ วันรักนกเงือก (Love Hornbill Day) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 สัญลักษณ์แห่งความรักและความซื่อสัตย์ ก่อนถึงวันวาเลนไทน์

โดยมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ดำเนินการศึกษาวิจัยนกเงือกเป็นระยะเวลาหลายสิบปี เพื่อให้สังคมและประชาชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์นกเงือก ซึ่งเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์

นกเงือก

  • เป็นนกที่มีมีขนาดใหญ่
  • มีหน้าตาที่เป็นเอกลักษณ์ คือ จะงอยปากใหญ่ หนา
  • มีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง
  • ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ
  • นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านกเงือกถือกำเนิดขึ้นมาไม่น้อยกว่า 45 ล้านปี
  • นกเงือกเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าได้ในระดับหนึ่ง
  • นกเงือกมีมีพฤติกรรมการเลือกกินผลไม้สุกและนำเมล็ดทิ้งไว้ในพื้นที่ต่าง ๆ จนได้รับฉายาว่า "นักปลูกป่ามือฉมัง"
  • ช่วยควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็กอย่างแมลงและหนูอีกด้วย

 

นอกจากนี้ นกเงือกยังถูกกำหนดให้เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักและความซื่อสัตย์

เพราะตลอดชีวิตของ"นกเงือก"นั้นจะมีคู่เพียงแค่ครั้งเดียว หากคู่ของนกเงือกตายไปจะทำให้นกเงือกอีกตัวหนึ่งต้องตรอมใจตายตามไปด้วย

ในประเทศไทยมีนกเงือกทั้งหมด 13 ชนิด และหลายชนิดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ อาทิ นกชนหิน (Helmeted hornbill) ที่ประกาศให้เป็นสัตว์ป่าสงวนลำดับที่ 20 ของประเทศไทย ในบัญชีสัตว์ป่าสงวนท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562

หากนกเงือก มีจำนวนลดลงหรือสูญพันธุ์ สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาจสูญพันธุ์ตามไปด้วย

ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องอนุรักษ์ป่าและนกเงือกไว้ เพื่อไม่ให้ระบบนิเวศของป่าเกิดความเสียหาย และรักษาเผ่าพันธุ์ของนกเงือกให้คงอยู่สืบไป

\'วันรักนกเงือก\' สัญลักษณ์แห่งความรักความซื่อสัตย์ ก่อนถึงวันวาเลนไทน์

อ้างอิง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช