วิกฤติ! ค่าฝุ่น PM2.5 บ่ายนี้ กทม.แดงเถือกทุกเขต ติดอันดับ 9 โลก หนองแขมสูงสุด

วิกฤติหนัก! ค่าฝุ่น PM2.5 บ่ายนี้ กทม.แดงเถือกทุกเขต เขตหนองแขมสูงสุด 113.2 มคก./ลบ.ม. ขณะที่ IQAir เผยอันดับเมืองที่มีมลพิษมากสุด ไทยพุ่งติดอันดับ 9 โลก
อัปเดตล่าสุด ค่าฝุ่น PM2.5 วันนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) รายงาน "ค่าฝุ่น PM2.5 บ่ายนี้" สถานการณ์ฝุ่นละออง (PM2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 24 มกราคม 2568 เวลา 15.00 น. แดงเถือกทุกเขตของกทม. เขตหนองแขมสูงสุด 113.2 มคก./ลบ.ม. โดย ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 89.2 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
อ่วม ค่าฝุ่นกทม.แดงเถือก ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร เตือน ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน ทั้ง 50 เขต มีผลกระทบต่อสุขภาพ ณ เวลา 15.00 น.
12 อันดับ เขตที่มี ค่าฝุ่น PM2.5 สูงสุดในกรุงเทพมหานคร ฝุ่นระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ ได้แก่
- เขตหนองแขม 113.2 มคก./ลบ.ม.
- เขตคันนายาว 111.4 มคก./ลบ.ม.
- เขตทวีวัฒนา 108.1 มคก./ลบ.ม.
- เขตมีนบุรี 106.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตบางนา 104.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตคลองสามวา 103.3 มคก./ลบ.ม.
- เขตบึงกุ่ม 102.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตตลิ่งชัน 102 มคก./ลบ.ม.
- เขตหนองจอก 101.4 มคก./ลบ.ม.
- เขตหลักสี่ 99.8 มคก./ลบ.ม.
- เขตลาดพร้าว 96.5 มคก./ลบ.ม.
- เขตภาษีเจริญ 95.1 มคก./ลบ.ม.
กรุงเทพเหนือ
84.6 - 99.8 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพตะวันออก
80.7 - 111.4 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพกลาง
75.6 - 94.4 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงเทพใต้
72.4 - 104.3 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนเหนือ
81.7 - 108.1 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
กรุงธนใต้
76.6 - 113.2 มคก./ลบ.ม.
ภาพรวม : อยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ทั้งนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ IQAir ได้จัดอันดับเมืองใหญ่ที่มีมลพิษมากที่สุด ณ เวลา 15:56 น. ประเทศไทยติดอันดับ 9 ของโลก คุณภาพอากาศแย่
ข้อแนะนำสุขภาพ คุณภาพอากาศระดับสีแดง - ระดับสีส้ม
คุณภาพอากาศระดับสีแดง (มีผลกระทบต่อสุขภาพ)
- งดกิจกรรมกลางแจ้ง
- หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5
- หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม (เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ)
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
GISTDA เผย จุดความร้อนไทย วานนี้พุ่ง 336 จุด พบมากสุดในพื้นที่เกษตร 126 จุด
อัปเดต จุดความร้อนไทย กระทรวง อว. โดย GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) เผยข้อมูลจาก ดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ระบบ VIIRS และจากข้อมูลดาวเทียมดวงอื่นๆ ของเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2568 พบว่า ประเทศไทยมีจุดความร้อน รวม 336 จุด
ทั้งนี้ ข้อมูลจากดาวเทียมระบุว่า จุดความร้อนในประเทศไทยเกิดขึ้นในพื้นที่เกษตร 126 จุด พื้นที่เขต สปก. 75 จุด พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 62 จุด พื้นที่ชุมชนและพื้นที่อื่นๆ 44 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 25 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 4 จุด
จุดความร้อนของประเทศเพื่อนบ้านที่พบมากสุด 5 อันดับ ได้แก่
- กัมพูชา 465 จุด
- พม่า 291 จุด
- ลาว 165 จุด
- เวียดนาม 133 จุด
- มาเลเซีย 1 จุด
ทั้งนี้ GISTDA ยังคงติดตาม วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่ สามารถติดตามรายละเอียดข้อมูลปัจจุบัน ข้อมูลพื้นที่เสี่ยง ไฟป่า พื้นที่เผาไหม้ซ้ำซาก รวมถึงดาวน์โหลดข้อมูลย้อนหลังเพิ่มเติมได้ที่ disaster.gistda.or.th/fire