ตำรวจปลอม วิธีสังเกตง่าย ๆ 4 ข้อ แนะ 3 ข้อป้องกัน ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฯ

เตือนภัย ตรวจสอบอัปเดต ตำรวจปลอม วิธีสังเกตง่าย ๆ 4 ข้อ แนะ 3 ข้อป้องกันก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฯ แก๊งคอลเซ็นเตอร์
เรื่องนี้ตรวจสอบอัปเดตแล้ว กรณีตำรวจปลอม วิธีสังเกตง่าย ๆ 4 ข้อ แนะ 3 ข้อป้องกันก่อนตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์
ปัจจุบันมิจฉาชีพใช้ช่องทางออนไลน์เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงมากขึ้น เช่น การปลอมแปลงเป็นตำรวจ ติดต่อผ่านแอปพลิเคชันไลน์ วิดีโอคอล หรือติดต่อผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อหลอกลวงเงินจากประชาชน โปรดระมัดระวังทุกครั้งที่มีการติดต่อจากบุคคลที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
วิธีสังเกตตำรวจปลอม
1. พฤติกรรมไม่น่าเชื่อถือ : ตำรวจปลอมจะทำการติดต่อผู้เสียหายผ่านช่องทางแชท ไลน์ หรือทำการวิดีโอคอล ขอข้อมูลส่วนตัว หรือหลอกให้โอนเงิน
2. ส่งเอกสารปลอม : ตำรวจปลอมมักจะส่งเอกสารราชการผ่านทางไลน์ เช่น หมายเรียก หมายจับ ข้อมูลการฟอกเงิน
3. เครื่องแบบไม่ถูกต้อง : ควรตรวจสอบเครื่องแบบตำรวจ เช่น เข็มประจำตำแหน่ง, เครื่องหมายยศ หรือการแต่งตัวที่ถูกต้องตามระเบียบ
4. สถานที่ทำงาน : ตำรวจจริงจะปฏิบัติหน้าที่ในสถานีตำรวจหรือในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ไม่ใช่จากสถานที่ส่วนตัวหรือผ่านทางช่องทางออนไลน์
วิธีป้องกันตำรวจปลอมหลอกโอนเงิน
1. อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัตรประชาชน ข้อมูลบัญชีธนาคาร หรือข้อมูลสำคัญใด ๆ ผ่านทางโทรศัพท์หรือทางออนไลน์
2. อย่าหลงเชื่อการเรียกรับเงิน ตำรวจจริงไม่มีการเรียกรับเงินเข้าบัญชีส่วนตัว
3. หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงกับสถานีตำรวจในพื้นที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
อ้างอิง - ตำรวจไซเบอร์ บช.สอท. และศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม