เตือนน้ำท่วมซ้ำซาก 9-11 เม.ย. 67 อากาศแปรปรวน หนักสุดภาคเหนือ-กลาง-ตะวันออก

เตือนน้ำท่วมซ้ำซาก 9-11 เม.ย. 67 อากาศแปรปรวน หนักสุดภาคเหนือ-กลาง-ตะวันออก

สทนช. เตือนฝนตกหนัก น้ำท่วม สัปดาห์หน้าอากาศแปรปรวน 9-11 เมษายน 2567 เจอหนักสุด ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก ย้ำจุดเสี่ยงพื้นที่ชุมชนเมืองเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก พร้อมอัปเดตสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวมทั้งประเทศที่นี่

วันนี้ 5 เมษายน 2567 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือน เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง ช่วงสัปดาห์หน้าวันที่ 9-11 เมษายน 2567 

จากการคาดการณ์จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออก จึงขอให้เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง บริเวณจุดเสี่ยงในพื้นที่ชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำ "น้ำท่วมซ้ำซาก"

เตือนน้ำท่วมซ้ำซาก 9-11 เม.ย. 67 อากาศแปรปรวน หนักสุดภาคเหนือ-กลาง-ตะวันออก

เตือนน้ำท่วมซ้ำซาก 9-11 เม.ย. 67 อากาศแปรปรวน หนักสุดภาคเหนือ-กลาง-ตะวันออก

ทั้งนี้ สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 5 เมษายน 2567 เวลา 7.00 น.

สภาพอากาศวันนี้

ประเทศไทยมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ และลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

 

เตือนน้ำท่วมซ้ำซาก 9-11 เม.ย. 67 อากาศแปรปรวน หนักสุดภาคเหนือ-กลาง-ตะวันออก

คาดการณ์สภาพอากาศ "อากาศพรุ่งนี้" 

อากาศพรุ่งนี้ วันที่ 6 – 7  เมษายน 2567 ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง 

ส่วนลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวมของประเทศ

ปริมาณน้ำรวม 58 ของความจุเก็บกัก (47,939 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 41% (23,742 ล้าน ลบ.ม.) 

การประเมินสถานการณ์แหล่งน้ำเฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง 

  • ภาคเหนือ: สิริกิติ์ 
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จุฬาภรณ์ 
  • ภาคตะวันออก: คลองสียัด 
  • ภาคกลาง : กระเสียว 

(ต้องเฝ้าระวังในช่วงฤดูแล้ง)

ประเมินคุณภาพน้ำ

  • น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน  

ประเมินคุณภาพน้ำเพื่อการเกษตร 

  • แม่น้ำท่าจีน ณ สถานีประตูระบายน้ำปากคลองจินดา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • แม่น้ำแม่กลอง ณ สถานีอัมพวา อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • แม่น้ำบางปะกง ณ สถานีวัดบางคาง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
     

แนวทางการบริหารจัดการน้ำ

สทนช. สร้างความมั่นคงด้านน้ำในพื้นที่ EEC โดยบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฤดูแล้งปี 2567 เร่งขับเคลื่อนการสร้างสมดุลในจัดสรรน้ำอย่างยั่งยืนให้ทุกภาคส่วน ตามมติคณะกรรมการลุ่มน้ำ โดยใช้โครงข่ายน้ำภาคตะวันออกในการผันน้ำเชื่อมโยง 3 จังหวัด (จ.ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) 

โดย สทนช. จะติดตามการบริหารจัดการน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การใช้น้ำเป็นไปตามข้อตกลงของคณะกรรมการลุ่มน้ำและแผนที่วางไว้ พร้อมดำเนินการประสานงานร่วมกับกรมชลประทานและการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) สาขาฉะเชิงเทรา

ในการดึงน้ำจากบึงฝรั่งเพื่อรักษาคุณภาพน้ำที่จุดสูบน้ำของ กปภ. บริเวณคลองพระองค์-ไชยยานุชิต ให้มีมาตรฐานคุณภาพที่เหมาะสมต่อการผลิตน้ำประปาตลอดช่วงฤดูแล้งปี 2567

เตือนน้ำท่วมซ้ำซาก 9-11 เม.ย. 67 อากาศแปรปรวน หนักสุดภาคเหนือ-กลาง-ตะวันออก

อ้างอิง : สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ