ผลจาก พายุฤดูร้อน ทำ จุดความร้อน ไทยลดฮวบ พบเพียง 186 จุด พม่าที่ 1 พุ่ง 4,075 จุด

ผลจาก พายุฤดูร้อน ทำ จุดความร้อน ไทยลดฮวบ พบเพียง 186 จุด พม่าที่ 1 พุ่ง 4,075 จุด

GISTDA เผยผลพวงจาก 'พายุฤดูร้อน' ทำ 'จุดความร้อน' ไทยวานนี้ลดฮวบ พบเพียง 186 จุด ขณะที่ พม่า อันดับ 1 พุ่งถึง 4,075 จุด รองลงมา กัมพูชา 1,336 จุด

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) และจากดาวเทียมอีกหลายดวง เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ไทยพบ 'จุดความร้อน' ทั้งประเทศเพียง 186 จุด

 

 

ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมยังระบุอีกว่า จุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่เกิดขึ้นใน พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 81 จุด ตามด้วยพื้นที่เกษตร 36 จุด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 34 จุด พื้นที่เขต สปก. 21 จุด แหล่งชุมชนและอื่นๆ 14 จุด

 

สำหรับ จังหวัดที่พบจำนวนจุดความร้อนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่

 

  1. แม่ฮ่องสอน 65 จุด
  2. กระบี่ 36 จุด
  3. เชียงใหม่ 23 จุด

 

สาเหตุหลักที่จุดความร้อนลดลงในหลายพื้นที่เพราะผลพวงจาก พายุฤดูร้อน ที่เข้ามายังประเทศไทยในช่วงนี้

 

ขณะที่ ประเทศเพื่อนบ้านพบจุดความร้อนมากสุดอยู่ที่ พม่า 4,075 จุด ตามด้วย กัมพูชา 1,336 จุด เวียดนาม 486 จุด ลาว 392 จุด และไทย 186 จุด

 

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดข้อมูลเฉพาะพื้นที่ท่านสามารถติดตามจากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโดยตรง GISTDA ยังคงติดตามและรายงานสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้บริหารจัดการในพื้นที่

 

ผลจาก พายุฤดูร้อน ทำ จุดความร้อน ไทยลดฮวบ พบเพียง 186 จุด พม่าที่ 1 พุ่ง 4,075 จุด

 

 

 

 

ขณะที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 08.00 น.

 

พื้นที่เฝ้าระวังพายุฝนฟ้าคะนอง/ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง

 

  • ภาคเหนือ : แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ และอุทัยธานี

 

  • ภาคกลาง : กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม


 

พื้นที่เฝ้าระวังคุณภาพอากาศ (PM 2.5) ข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ เวลา 08.00 น.

 

ระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ (75.1 มคก./ลบ.ม. ขึ้นไป)

 

  • ภาคเหนือ : แม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ)

 

ระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (37.6 - 75.0 มคก./ลบ.ม.)

 

  • ภาคเหนือ : แม่ฮ่องสอน (อ.แม่สะเรียง ปาย) เชียงใหม่ (อ.เมืองฯ) เชียงราย (อ.แม่สาย) และน่าน (อ.เฉลิมพระเกียรติ)

 

  • ภาคกลาง : กาญจนบุรี (อ.เมืองฯ) ระยอง (อ.เมืองฯ) ปทุมธานี (อ.คลองหลวง) นนทบุรี (อ.เมืองฯ ปากเกร็ด) นครปฐม (อ.เมืองฯ) สมุทรสาคร (อ.เมืองฯ กระทุ่มแบน) สมุทรปราการ (อ.เมืองฯ พระประแดง บางเสาธง) และ กรุงเทพมหานคร (ทุกเขต)

 

ผลจาก พายุฤดูร้อน ทำ จุดความร้อน ไทยลดฮวบ พบเพียง 186 จุด พม่าที่ 1 พุ่ง 4,075 จุด