สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

เปิดสถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 เดินหน้าแก้ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม จังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ให้กลับคืนมาสมบูรณ์ พร้อมเปิดแผนศึกษา วิจัย สาเหตุการตายของหญ้าทะเลครอบคลุม 3 ด้านหลัก ฟื้นฟูหญ้าทะเลให้กลับมาเป็นแหล่งอาหารพะยูนไทย

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ตนในฐานะคณะทำงานฯ รู้สึก ดีใจที่ได้เห็น นักวิชาการด้านทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง จากหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชนและมหาวิทยาลัย รวมถึงอาสาสมัครที่ได้มาร่วมกันแก้ไขปัญหาหญ้าทะเล ในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ 

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

 

ซึ่งทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญกับปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม และต้องขอขอบคุณ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ห่วงใยในปัญหาดังกล่าว โดยได้สนับสนุนงบประมาณสำหรับงานวิจัยให้กับคณะทำงานแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทั้ง 8 โครงการ 

การศึกษา วิจัยเกี่ยวกับสาเหตุการตายของหญ้าทะเล เหตุปัจจัยหรือสาเหตุความเสื่อมโทรมของหญ้าทะเลให้ครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน  

  • ด้านระบบนิเวศหญ้าทะเล 
  • ด้านสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ 
  • ด้านสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อมบริเวณแหล่งหญ้าทะเล 

เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูสภาพเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลจังหวัดตรังให้กลับคืนมาสมบูรณ์ โดยเร็วที่สุด และยั่งยืนอีกครั้ง

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ติดตามสถานการณ์แหล่งหญ้าทะเลเสื่อมโทรมในพื้นที่จังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ มาโดยตลอด

พร้อมได้สั่งการให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ รวมถึงได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์แก้ปัญหาหญ้าทะเลตรังอย่างใกล้ชิด 

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

 

เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ส่งทีมนักวิชาการร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยที่มีการสอนด้านทรัพยากรทางทะเล กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดตรัง

และอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล ออกสำรวจตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลและดินตะกอน เพื่อเร่งหาสาเหตุการเกิดปัญหาดังกล่าว 

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

 

ทั้งนี้ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา คณะทำงานฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ครอบคลุมในทุกภารกิจทั้งการบินสำรวจพะยูนด้วย UAV Lider scan การสำรวจชายฝั่งด้วย USV การจัดทำแบบจำลองลักษณะสมุทรศาสตร์กายภาพ การศึกษาการปนเปื้อนของโลหะหนัก 

และการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพหญ้าทะเลเชิงพื้นที่ จ.ตรัง เพื่อหาสาเหตุการตายของหญ้าทะเลให้เร็วที่สุด ก่อนจะฟื้นฟูหญ้าทะเลที่เสื่อมโทรมให้กลับมาเป็นแหล่งอาหารของพะยูนไทยต่อไป

เปิดสถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ผลการสำรวจการแพร่กระจายของสัตว์ทะเลหายาก พื้นที่จังหวัดตรัง

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566 ผลสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่จังหวัดตรัง โดยวิธีการบินสำรวจ ระหว่างวันที่ 17-21 มีนาคม 2566

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566 วันที่ 17-21 มีนาคม 2566 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ร่วมกับ เจ้าหน้าที่จากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันตก (ศวบต.) โดยการสนับสนุนของ ท่าอากาศยานตรัง และสนามบินภูเก็ตแอร์พาร์ค ออกปฏิบัติงานสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณ พื้นที่จังหวัดตรัง 

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

 

โดยวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) โดยใช้เครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect และวิธีการสำรวจทางเรือโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV-drone) ร่วมกับนักบินอาสาสมัคร นาย Eduardo Angelo Loigorri และคุณภิญญดา ภิธัญสิริ ณ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกต์และหมู่เกาะใกล้เคียง จังหวัดตรัง 

ผลการ สำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบพะยูนไม่น้อยกว่า 180 ตัว (พะยูนคู่แม่-ลูก จํานวน 12 คู่) โลมาหลังโหนก (Indo-Pacific Humpback Dolphin, Sousa chinensis) 19 ตัว และเต่าทะเล 174 ตัว 

ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนไทยแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล และพฤติกรรมการผสมพันธุ์ 

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

 

นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ รวมถึงโลมาหลังโหนกและเต่าทะเล 

สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ ส่วนข้อมูลและภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งนี้ จะใช้ คำนวณหาจํานวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณเพนทจังหวัดตรังต่อไป

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2567 ผลการสำรวจการแพร่กระจายของสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่จังหวัดตรัง โดยวิธีการบินสำรวจ (Aerial survey) ระหว่างวันที่ 5-11 มีนาคม 2567

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2567 วันที่ 5-11 มีนาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ออกปฏิบัติงานสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่จังหวัดตรัง โดยวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) 

โดยใช้เครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect และ Hot spot ร่วมกับนักบินอาสา สมัคร นาย Eduardo Angelo Loigorri และวิธีการสำรวจทางเรือ ณ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์และบริเวณ แนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง 

ผลการสำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบพะยูน 36 ตัว ( พะยูนคู่แม่-ลูก จํานวน 1 คู่) โลมาหลังโหนก 6 ตัว (โลมาคู่แม่-ลูก 2 คู่) และเต่าทะเล 38 ตัว 

ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนไทยแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล 

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

 

นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ โดยโลมาหลังโหนกพบว่า สุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีบาดแผลหรือร่องรอยที่เกิดจากการถูกเครื่องมือประมงหรือขยะทะเลพันรัด รวมถึงเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ

 

สถิติสัตว์ทะเลหายาก 2566/2567 ปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม แหล่งอาหารพะยูนไทย

 

อ้างอิง-ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , Thon Thamrongnawasawat