วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน เปิดข้อกฎหมาย โทษฝ่าฝืนดื่ม-ขายเหล้า

วันออกพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน เปิดข้อกฎหมาย โทษฝ่าฝืนดื่ม-ขายเหล้า

วันออกพรรษา 2566 อีกหนึ่งวันสำคัญทางพุทธศาสนา เปิดปฏิทินเช็กปีนี้ตรงกับวันไหน ความสำคัญ พร้อมความรู้ด้านข้อกฎหมายห้ามขายเหล้า และผู้ฝ่าฝืนจะต้องรับโทษเช่นไรบ้าง

วันออกพรรษา 2566 อีกหนึ่งวันสำคัญทางพุทธศาสนา เปิดปฏิทินเช็กปีนี้ วันออกพรรษาตรงกับวันไหน ความสำคัญ พร้อมความรู้ด้าน ข้อกฎหมายห้ามขายเหล้า และผู้ฝ่าฝืนจะต้องรับโทษเช่นไรบ้างข้อมูลจากประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 ซึ่งมีโทษทั้งปรับและถึงติดคุก

วันออกพรรษา ปีนี้ตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม 2566 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันออกพรรษา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันมหาปวารณา ถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นกิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนร่วมกันทำบุญตักบาตร ไหว้พระ หรือร่วมงานประเพณีของแต่ละท้องถิ่น

วันออกพรรษา ถือเป็นวันสำคัญวันหนึ่งของพระภิกษุสงฆ์ คือ เป็นวันสิ้นสุดการจำพรรษา หรือออกจากพรรษาที่ได้อธิษฐานเข้าจำพรรษาตลอดระยะเวลา 3 เดือน นอกจากนั้น วันออกพรรษา ก็ยังถือเป็น วันพระใหญ่ โดยกลุ่มพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่นิยมเดินทางไปไหว้พระทำบุญตามวัดต่างๆ หรือเดินทางไปต่างจังหวัด ทำให้มีผู้ใช้รถใช้ถนนจำนวนมากในช่วงวันเวลาดังกล่าว วันพระใหญ่ในแต่ละปีก็จะประกอบด้วย

  • วันมาฆบูชา
  • วันวิสาขบูชา
  • วันอาสาฬหบูชา
  • วันเข้าพรรษา
  • วันออกพรรษา

ตาม พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มีการประกาศห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ทั้งขายส่งและขายปลีกทั่วราชอาณาจักร ตลอด 24 ชั่วโมง

เช็กข้อกฎหมายเรื่อง กำหนดวันห้ามขายเครื่องแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 

- ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬบูชา วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา ยกเว้น การขายเฉพาะร้านค้าปลอดอากรภายในอาคารท่าอากาศยานนานาชาติ” หากผู้ใดฝ่าฝืน มีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 39 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

- พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 32 “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม" ซึ่งในหมวด 7 บทกำหนดโทษ มาตรา 43 ระบุไว้ว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ