สทนช. เตือน เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง น้ำล้นตลิ่ง ช่วง 12 - 18 ต.ค. 66

สทนช. เตือน เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง น้ำล้นตลิ่ง ช่วง 12 - 18 ต.ค. 66

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เตือน เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง และพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ ในช่วงวันที่ 12 - 18 ต.ค. 66

เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีปริมาณฝนตกหนักสะสม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้คาดการณ์จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้นอีกในช่วงวันที่ 9 – 12 ตุลาคม 2566 ส่งผลให้น้ำหลากลงสู่ลุ่มน้ำและอ่างเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้น จึงขอให้เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ด้านท้ายอ่างเก็บน้ำ ในช่วงวันที่ 12 - 18 ตุลาคม 2566 ดังนี้ 

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่มีปริมาตรน้ำสูงกว่าเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำกักเก็บสูงสุด (Upper Rule Curve) จำนวน 9 แห่ง ได้แก่

  1. อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล จังหวัดเชียงใหม่ 
  2. อ่างเก็บน้ำกิ่วลม จังหวัดลำปาง
  3. อ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง 
  4. อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จังหวัดอุดรธานี 
  5. อ่างเก็บน้ำน้ำพุง จังหวัดสกลนคร
  6. อ่างเก็บน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร  
  7. อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น 
  8. อ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ 
  9. อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก 

อ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มีปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80 และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำล้นกระทบพื้นที่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณอ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ คาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน และมีแนวโน้มปริมาตรน้ำมากกว่าร้อยละ 80

สทนช. เตือน เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง น้ำล้นตลิ่ง ช่วง 12 - 18 ต.ค. 66
 

พื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ

1. แม่น้ำยม บริเวณ อำเภอศรีสัชนาลัย สวรรคโลก ศรีสำโรง เมืองสุโขทัย และกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย 
อำเภอพรหมพิราม และบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก 
อำเภอสามง่าม และโพทะเล จังหวัดพิจิตร

2. แม่น้ำมูล บริเวณสถานี M.7 อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี คาดการณ์ว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอยู่ที่ +113.00 ถึง +113.50 เมตร ระดับทะเลปานกลาง สูงกว่าตลิ่ง 1.00 – 1.50 เมตร ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ บริเวณอำเภอเมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ พิบูลมังสาหาร ดอนมดแดง ตระการพืชผล และม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี 

3. แม่น้ำยัง บริเวณสถานี E.92 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด คาดการณ์ว่าระดับจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สูงกว่าตลิ่ง 1.00 - 1.50 เมตร ในวันที่ 10 - 11 ตุลาคม 2566 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบริเวณ อำเภอเสลภูมิ และโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด และลดลงต่ำกว่าตลิ่ง ในวันที่ 13 - 14 ตุลาคม 2566  

สทนช. เตือน เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง น้ำล้นตลิ่ง ช่วง 12 - 18 ต.ค. 66

ในการนี้ จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ

2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

3. วางแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยปรับแผนการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และระบบชลประทานเพื่อเป็นการหน่วงน้ำที่ไหลลงมาสมทบแม่น้ำสายหลักให้ได้มากที่สุดตามศักยภาพในแต่ละช่วงเวลา รวมทั้งจัดการจราจรทางน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำมูล และแม่น้ำเจ้าพระยา

4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่บริเวณที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

สทนช. เตือน เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำที่มีความเสี่ยง น้ำล้นตลิ่ง ช่วง 12 - 18 ต.ค. 66