แผ่นดินไหว เชียงราย-เชียงใหม่ เขย่า 5 ครั้ง รับรู้แรงสั่นไหว รอยเลื่อนที่มีพลัง

แผ่นดินไหว เชียงราย-เชียงใหม่ เขย่า 5 ครั้ง รับรู้แรงสั่นไหว รอยเลื่อนที่มีพลัง

จับตา "แผ่นดินไหว" ล่าสุด เขย่า 5 ครั้ง เชียงราย-เชียงใหม่ รับรู้แรงสั่นไหว สาเหตุรอยเลื่อนที่มีพลัง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานเหตุ 'แผ่นดินไหว' เมื่อเวลา 00.45 น. วันที่ 21 กันยายน 2566 เกิด 'แผ่นดินไหวบนบก' ขนาด 3.6 ความลึก 2 กิโลเมตร บริเวณ ต.ดงมะดะ อ.แม่ลาว จ.เชียงราย 

 

 

เบื้องต้นจาก"เหตุแผ่นดินไหว"ดังกล่าว ได้รับรายงาน ความรู้สึกสั่นไหวที่บริเวณ อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.พาน อ.แม่สรวย จ.เชียงราย 

 

ทั้งนี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไป 

 

แผ่นดินไหว เชียงราย-เชียงใหม่ เขย่า 5 ครั้ง รับรู้แรงสั่นไหว รอยเลื่อนที่มีพลัง

 

แผ่นดินไหว เชียงราย-เชียงใหม่ เขย่า 5 ครั้ง รับรู้แรงสั่นไหว รอยเลื่อนที่มีพลัง

 

 

ล่าสุดเมื่อเวลา 04.20 น. วันเดียวกัน (21 กันยายน) 'เกิดแผ่นดินไหว' ขนาด 1.6 ความลึก 4 กิโลเมตร ที่ ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ (Tambon Mueang Ngai, Amphoe ChiangDao, ChiangMai) ยังไม่มีรายงานผลกระทบจากพื้นที่ หากมีข้อมูลเพิ่มเติม ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) จะรายงานให้ทราบเป็นระยะต่อไป 

 

แผ่นดินไหว เชียงราย-เชียงใหม่ เขย่า 5 ครั้ง รับรู้แรงสั่นไหว รอยเลื่อนที่มีพลัง

 

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าเกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนแม่ลาว ซึ่งเป็น 1 ใน 16 กลุ่มรอยเลื่อนที่มีพลัง มีการวางตัวในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ที่พาดผ่านอำเภอแม่สรวย อำเภอแม่ลาว และอำเภอเมืองเชียงรายของจังหวัดเชียงราย รอยเลื่อนนี้มีความยาวประมาณ 80 กิโลเมตร มีแผ่นดินไหวขนาดเล็ก และปานกลางเกิดขึ้นเป็นประจำ 

 

ในอดีตที่ผ่านมาผลจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนแม่ลาวทำให้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในรอบกว่า 50 ปี คือ"เหตุการณ์แผ่นดินไหว"ขนาด 6.3 เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 มีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ในเขตตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนโรงเรียน วัด และโรงพยาบาล ในอำเภอแม่ลาว อำเภอแม่สรวย และอำเภอพาน สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนถึงตึกสูงในกรุงเทพมหานคร 

 

อย่างไรก็ตาม กรมอุตุนิยมวิทยา จะติดตามและรายงานสถานการณ์ต่อไป ขอให้ประชาชนติดตามประกาศอย่างใกล้ชิดได้ทางเว็บไซต์กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา earthquake.tmd.go.th เฟซบุ๊กและแพล็ตฟอร์ม X : EarthquakeTMD โทรศัพท์หมายเลข 0-2366-9410, 0-2399-0969, 0-2399-4547 และสายด่วน 1182 ตลอด 24 ชั่วโมง

 

แผ่นดินไหว เชียงราย-เชียงใหม่ เขย่า 5 ครั้ง รับรู้แรงสั่นไหว รอยเลื่อนที่มีพลัง