อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น 'แลง' คาดขึ้นฝั่ง ประเทศญี่ปุ่น คืนนี้ (14 ส.ค.66)

อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น 'แลง' คาดขึ้นฝั่ง ประเทศญี่ปุ่น คืนนี้ (14 ส.ค.66)

อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น "แลง" (LAN) คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งแถบ จ.วากะยะมะ และโอซากา ประเทศญี่ปุ่น คืนวันนี้ (14 ส.ค.66)

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดต พายุไต้ฝุ่น "แลง" (LAN) เช้าวันนี้ (14 ส.ค.66) มี ศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ด้านตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งแถบ จ.วากะยะมะ และโอซากา ประเทศญี่ปุ่น ในคืนวันนี้ (14 ส.ค.66) โดยพายุนี้ ไม่มีผลกระทบกับสภาพอากาศบ้านเรา แต่ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางในระยะนี้

อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น \'แลง\' คาดขึ้นฝั่ง ประเทศญี่ปุ่น คืนนี้ (14 ส.ค.66)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

กรมอุตุนิยมวิทยา ยังให้รายละเอียด พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุว่า ในช่วงวันที่ 14 - 15 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 16 – 20 ส.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมยังคงพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ส่วนมากบริเวณด้านรับมรสุม และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง: ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มตลอดช่วง ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนด้านภาคตะวันออกควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 14 – 15 ส.ค. 66 นี้ไว้ด้วย

สถานการณ์แผ่นดินไหว ในช่วง (13 - 14 ส.ค. 66): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว

  • ขนาด 3.9, 4.0, 4.0, 2.4 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา
  • ขนาด 4.6 มีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลยูนนาน, ประเทศจีน
  • ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

อัปเดตเส้นทาง พายุไต้ฝุ่น \'แลง\' คาดขึ้นฝั่ง ประเทศญี่ปุ่น คืนนี้ (14 ส.ค.66)