กรมขนส่งทางราง เร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กรมขนส่งทางราง เร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

กรมการขนส่งทางราง เดินหน้าเร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ M-MAP 2 หวังให้บริการประชาชนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุม กทม. และปริมณฑล ได้ทุกพื้นที่

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2566 ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา เพื่อประชาสัมพันธ์และการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 “โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง และการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2” หรือ M-MAP 2  ณ โรงแรมเรเนซองส์ ราชประสงค์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินงาน M-MAP 2 และการพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทาง ด้วยระบบราง โดยงานสัมมนาดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 27-29 มิถุนายน 2566 เป็นการสัมมนา ในรูปแบบ onsite และผ่านระบบประชุมออนไลน์

กรมขนส่งทางราง เร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
 

ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการได้ออกแบบแบบจำลอง คาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง (Railway Demand Forecast) แล้วเสร็จ และได้นำมาดำเนินการวางแผน M-MAP 2 โดยการวิเคราะห์และกำหนดแนวเส้นทางที่มีความเป็นไปได้ให้ตอบโจทย์นโยบายการพัฒนารถไฟฟ้าใน 5 ด้าน ดังนี้

1. เพื่อบรรเทาความหนาแน่นระบบราง (Capacity)

2. เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่และรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต (Coverage)

3. เพื่อพัฒนาโครงข่ายรวมและการกระจายการเดินทางเพิ่มเติม (Connectivity)

4. ปรับปรุงรูปแบบค่าโดยสารให้เหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น (Affordable and Equitable)

5. เพื่อความสอดคล้องและเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น (Intermodal) 

กรมขนส่งทางราง เร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดร.พิเชฐ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาโครงการได้มีการจัด Focus Group รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดปริมณฑล ประกอบไปด้วย จังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม ซึ่ง ขร. ความคิดเห็นที่ได้มาถือเป็นประโยชน์อย่างมาก ทำให้รับทราบข้อมูลการดำเนินโครงการต่างๆ ภายในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ โดยจะมีการนำข้อมูลเหล่านี้ ไปดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมร่วมกับแผน M-MAP 2 Blueprint ที่ทาง JICA เคยศึกษาไว้เพื่อตอบโจทย์นโยบายการพัฒนาให้ได้แนวเส้นทางระบบรางที่เป็นไปได้ทั้งหมด (Project Long List) และนำมาดำเนินการคัดกรอง ทั้งด้านกายภาพและจำนวนผู้โดยสาร เพื่อให้ได้แนวเส้นทางระบบรางที่เลือก (Project Short List) แล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญ และดำเนินการศึกษา ในด้านวิศวกรรม การลงทุน และสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นต่อไป

กรมขนส่งทางราง เร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ดร.พิเชฐ กล่าวทิ้งท้ายว่า ตลอดทั้ง 3 วันจะมีการเปิดเวทีให้ผู้ร่วมสัมมนาได้สอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งกรมการขนส่งทางรางเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบ รถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน และแก้ปัญหาจราจร ได้อย่างยั่งยืน

กรมขนส่งทางราง เร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด กรมขนส่งทางราง เร่งพัฒนาแผนแม่บทรถไฟฟ้าฉบับใหม่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด