นพ.สสจ.บึงกาฬ ชี้ แพทย์-พยาบาลขาดแคลน ประชากร 4.2 แสนคน แพทย์มีแค่ 73 คน

นพ.สสจ.บึงกาฬ ชี้ แพทย์-พยาบาลขาดแคลน ประชากร 4.2 แสนคน แพทย์มีแค่ 73 คน

นพ.สสจ.บึงกาฬ เผย แพทย์-พยาบาลขาดแคลน ประชากร 4.2 แสนคน แพทย์มีแค่ 73 คน เป็นปัญหานานกว่า 10 ปี

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2566 นายแพทย์ภมร ดรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาขาดแคลนแพทย์ในระบบสาธารณสุข ว่า สถานการณ์ของแพทย์ในจังหวัดบึงกาฬ มีอัตราส่วนแพทย์กับประชากรน้อยที่สุดในประเทศไทย คือ 1 ต่อ 6,000 ปัจจุบันมีแพทย์ทั้งจังหวัด 73 คน ประชากรมี 420,000 คน สถานการณ์การแพทย์ เป็นมาตั้งแต่ตั้งจังหวัดเมื่อก่อนยิ่งขาดกว่านี้ ปัจจุบันดีขึ้นแล้ว แต่ก็ยังขาดอยู่ เราติดอันดับ 1 มาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา อัตราการขาดแคลนของแพทย์

นพ.สสจ.บึงกาฬ ชี้ แพทย์-พยาบาลขาดแคลน ประชากร 4.2 แสนคน แพทย์มีแค่ 73 คน

แพทย์ที่มีอยู่ก็สู้เต็มที่เข้าใจในสถานการณ์ สาเหตุในแต่ละปีจะมีน้องหมอที่จับฉลากมาปฏิบัติงานที่บึงกาฬ แต่ละปีจะเข้ามา 10–16 คน ลาออกประมาณ 4–5 คน ทุกปี พอปีที่ 3 จะใช้ทุนครบพอดี 3 ปี จะมีสิทธิ์ลาไปศึกษาต่อเฉพาะทางไปเกือบหมด ถ้าครบ 3 ปี เพราะส่วนหนึ่งน้องแพทย์จะเป็นคนต่างจังหวัด คนกรุงเทพ ปริมณฑล คนในเมืองเจริญ อยากกลับไปเรียนต่อ อยากกลับไปอยู่ใกล้ๆ บ้าน ใกล้ครอบครัว พอครบ 3 ปี ก็อยากไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง จะทำให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น มีรายได้สูงขึ้น และไปทำงานในเมืองใหญ่ได้ ที่สำคัญบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่ตั้งใหม่แล้วก็ยังไม่เจริญ ไกลจากจังหวัดอื่น ไกลจากกรุงเทพ

เรื่องสำคัญคือขาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง ที่โรงพยาบาลบึงกาฬ ชุมชนก็ขาดถ้าคนไข้เยอะ หมอก็ต้องทำงานหนัก พอทำงานหนักก็เหนื่อย อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ลาออก การส่งต่อคนไข้เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ศักยภาพการดูแลไม่สามารถดูแลได้ทุกโรค อย่างเช่น โรคที่ต้องผ่าตัดสมอง บาดเจ็บศีรษะในสมอง เราก็ไม่มีหมอ การส่งต่อชุมชนต้องส่งต่อไปที่โรงพยาบาลที่ใหญ่กว่า เช่น โรงพยาบาลสกลนคร อุดรธานี ซึ่งมีปัญหาในการส่งต่อพอสมควร เพราะคนไข้จังหวัดนั้นๆ ก็เยอะอยู่แล้ว เราส่งไปอีกก็อาจจะทำให้การรีเฟอร์ค่อนข้างล่าช้า ของจังหวัดบึงกาฬก็เยอะการที่น้องแพทย์จะส่งต่อจะยากเช่นเดียวกัน เนื่องจากเตียงอาจะจะไม่พอ เด็กเล็กๆ ที่เกิดใหม่ถ้ามีปัญหาป่วย เด็กต้องนอนในตู้อบซึ่งมีจำกัด จะต้องส่งไปจังหวัดอื่น การรีเฟอร์ก็จะยาก ปัญหาเหล่านี้ก็เป็นปัญหา อีกส่วนหนึ่งที่ทำให้น้องแพทย์ได้ตัดสินใจลาออก หรือไปเรียนต่อเร็วขึ้น

ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็มีไม่มาก การเอาเปรียบกัน ทุกคนทั้งแพทย์พี่ แพทย์น้อง งานหนักเท่าเทียมกัน แพทย์เราน้อยทั้งโรงพยาบาลใหญ่ และเล็ก หนักเท่ากัน การจ่ายโอที การจ่ายค่าตอบแทนต่างๆ ที่นี่จ่ายได้เร็ว และตรงเวลาไม่ค้าง เพราะมีเงินบำรุง และเป็นนโยบายของจังหวัดจ่ายเงินเดือน จ่ายโอทีต่างๆ ให้ตรงเวลา มีบางส่วนเรื่องของบ้านพัก ตอนนี้มีการปรับปรุงบ้านพักของโรงพยาบาล โดยเฉพาะบ้านพักแพทย์ จะดูแลเป็นพิเศษ ส่วนใหญ่ จะเป็นปัญหาเรื่องของงานหนัก เพราะว่าหมอน้อย และเรื่องการระบบการส่งต่อที่ติดขัดส่งต่อยาก ในบางกรณี ที่อยากได้เพิ่มเราอยากให้การเข้าถึงทันตกรรมมากขึ้น เพื่อลดการรอคอย บางทีจะไปอุดฟันอาจจะรอหนึ่งสัปดาห์ ต้องลดการรอคอยลงเหลือ 1 – 2 วัน ให้มีทันตแพทย์เพิ่มขึ้น

ที่ขาดและอยากให้เพิ่มเติม วิชาชีพพยาบาล เพราะตัวเลขยังขาดอีกหลายๆ โรงพยาบาล ตอนนี้ผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้สูงอายุ สังคมผู้สูงวัย การมีโรคประจำตัว พยาบาลเราเองส่วนใหญ่อายุมากขึ้น อยู่เวรกลางคืนไม่ค่อยไหว ต้องการน้องพยาบาลรุ่นใหม่ๆ มาทดแทน รุ่นพี่ที่ใกล้เกษียณ ต่อไปโรงพยาบาลบึงกาฬ ก็จะเติบโตขึ้นเราต้องการพยาบาล แพทย์เฉพาะทางมากขึ้น พยาบาลต้องการไปดูแลผู้ป่วยเฉพาะทางมากขึ้น ซึ่งพยาบาลก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการ อุปกรณ์การแพทย์ก็มีตามศักยภาพของโรงพยาบาล โรงพยาบาลเราถือว่าครบ เราไม่มีแพทย์เฉพาะทางมากกว่า เช่น แพทย์ศัลยกรรมประสาท แพทย์อายุรกรรมโรคหัวใจ ทำให้ไปรักษาที่อื่น ถ้ามีแพทย์เฉพาะทางมา เราสามารถจัดหาอุปกรณ์มาได้

ปัญหาการส่งต่อคนไข้เนื่องจากเราต้องส่งต่อระยะไกล สกลนคร นครพนม ขอนแก่น สิ่งที่อยากจูงใจให้มีการเพิ่มศักยภาพของโรงพยาบาลบึงกาฬ จัดโรงพยาบาลบึงกาฬ ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เทงบประมาณมาให้มากขึ้น และกำหนดอัตราค่าตอบแทนสำหรับแพทย์เฉพาะทางที่มาอยู่ในโรงพยาบาล จัดแพทย์ลงมาบึงกาฬให้แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ ที่เขาเจริญแล้ว โรงพยาบาลที่ไกล และอยู่ห่างจากสนามบิน ควรจะมีอัตราค่าตอบแทนแพทย์เฉพาะทางให้มากพอ เพื่อจะเป็นแรงจูงใจ ให้แพทย์มาทำงานอยู่ในระบบได้ สิ่งสำคัญคือการส่งต่อผู้ป่วยให้ง่ายขึ้นกว่านี้