รฟฟท. เปิดตัว 'บัตรเหมาจ่าย' นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง - รถเมล์ 2,000 บาท จริงหรือ?

รฟฟท. เปิดตัว 'บัตรเหมาจ่าย' นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง - รถเมล์ 2,000 บาท จริงหรือ?

รฟฟท. เปิดตัว 'บัตรเหมาจ่าย' นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง - รถเมล์ ขสมก. 2,000 บาทต่อเดือน จริงหรือ? ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย ชี้แจงแล้ว

ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวสารเรื่อง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด หรือ 'รฟฟท.' เปิดตัว 'บัตรเหมาจ่าย' 2,000 บาท นั่งรถไฟสายสีแดง - รถเมล์ ซึ่งจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม พบว่าประเด็นดังกล่าว 'เป็นข้อมูลจริง'

 

 

 

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ ธนาคารกรุงไทย ร่วมผลักดัน 'บัตรเหมาจ่าย' เพื่อชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถโดยสารขสมก. ด้วยบัตรเดียว ราคาเดียว 2,000 บาทต่อเดือน ยกระดับคุณภาพบริการ ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

 

สำหรับการพัฒนาระบบชำระค่าโดยสารแบบบัตรเหมาจ่ายนั้น เป็นการเริ่มและทดลองใช้บริการผ่านระบบ EMV Contactless ซึ่งผู้โดยสารสามารถเดินทางโดยใช้บัตรเหมาจ่ายในการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถเมล์ขสมก. ได้อย่างไม่มีขอบเขต

 

โดย 'รถไฟฟ้าสายสีแดง' สามารถนั่งได้ถึง 50 เที่ยว หรือ 30 วันต่อเดือน เช่นเดียวกัน 'รถเมล์ ขสมก.' ก็สามารถนั่งได้แบบไม่จำกัดตลอด 30 วัน โดยบัตรใบนี้มีมูลค่าต่อเดือนจำนวน 2,000 บาท ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันรถไฟฟ้าสายสีแดงมีผู้โดยสารกว่า 20,000 คนต่อวัน และรถเมล์ขสมก. มีผู้โดยสารกว่า 7 แสนคนต่อวัน

 

 

สำหรับการพัฒนาระบบชำระค่าโดยสารแบบบัตรเหมาจ่ายนั้น ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ในการริเริ่มและทดลองใช้บริการผ่านระบบ EMV Contactless ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้บัตรเหมาจ่ายชำระค่าโดยสารในการเดินทางระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถโดยสารของขสมก. ได้อย่างไร้รอยต่อ

 

โดยรถไฟฟ้าสายสีแดงสามารถใช้บริการได้ 50 เที่ยว และรถโดยสารขสมก.ใช้บริการได้ทุกเส้นทาง ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว ภายในระยะเวลา 30 วัน ซึ่งบัตรโดยสารดังกล่าวจำหน่ายในราคา 2,000 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียมออกบัตร)

 

ทั้งนี้สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 1690 (ตลอด 24 ชั่วโมง) หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือสามารถจองตั๋วออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ www.thairailwayticket.com

 

รฟฟท. เปิดตัว \'บัตรเหมาจ่าย\' นั่งรถไฟฟ้าสายสีแดง - รถเมล์ 2,000 บาท จริงหรือ?