บพท.ร่วมจัดแสดงทุนวัฒนธรรมผ่านงานวิจัย ‘ฟื้นใจเมือง’โชว์นวัตกรรมฟื้นศก.

บพท.ร่วมจัดแสดงทุนวัฒนธรรมผ่านงานวิจัย ‘ฟื้นใจเมือง’โชว์นวัตกรรมฟื้นศก.

บพท.ลงพื้นที่เชียงราย รุกใช้ทุนวัฒนธรรมสร้างนวัตกรรม ยอดงานวิจัย สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ จับมือม.แม่ฟ้าหลวง ร่วมจัดแสดงทุนวัฒนธรรมผ่านงานวิจัย"ฟื้นใจเมือง" “เอนก” ชี้ต้องเร่งพัฒนาสินค้าคุณภาพรับท่องเที่ยว พร้อมสนับสนุนโครงการวิจัยและนวัตกรรมเต็มที่

เมื่อวันที่25 ก.พ.66 ที่อาคารพลเอกสำเภา ชูศรี มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) จ.เชียงราย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.กระทรวงอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานมหกรรมทุนทางวัฒนธรรมฟื้นใจเมือง จากงานวิจัยสู่การพัฒนาพื้นที่ (ภาคเหนือ) โดยมีดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ศาตราจารย์พิเศษ ดร.วันชัย ศิริชนะ นายกสภา มฟล.รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดี มฟล. พร้อมด้วยฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยกิจกรรมมีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ในภาคเหนือ ณ ลานมหกรรมฟื้นใจเมือง

บพท.ร่วมจัดแสดงทุนวัฒนธรรมผ่านงานวิจัย ‘ฟื้นใจเมือง’โชว์นวัตกรรมฟื้นศก.

ภายในมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เกิดจากภูมิปัญญาพื้นบ้านซึ่งได้รับการวิจัยและพัฒนาตามหลักวิชาการ จนมีคุณภาพมาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ข้าว ผ้าทอ เสื้อผ้า สมุนไพร ฯลฯ  ระหว่างวันที่ 24-26 ก.พ.นี้ 

 ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท.กล่าวว่าเนื่องจากประเทศไทยมีความร่ำรวยด้วยฐานทุนวัฒนธรรมมากมาย บพท.จึงได้ร่วมกับเครือข่ายศิลปิน ท้องถิ่น มหาวิทยาลัย ฯลฯ  ตลอดจนภาคีที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุม 60 จังหวัด จำนวนกว่า 6,000 ราย ในการต่อยอดขยายผลทุนทางวัฒนธรรม ทั้งในมิติการเรียนรู้ อนุรักษ์ และการนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

บพท.ร่วมจัดแสดงทุนวัฒนธรรมผ่านงานวิจัย ‘ฟื้นใจเมือง’โชว์นวัตกรรมฟื้นศก.

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก กล่าวว่าปัจจุบันการท่องเที่ยวของไทยฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและคนทั่วโลกต้องการเดินทางไปเยือนประเทศไทย เช่น คนจีนรุ่นใหม่ที่เดินทางมาเองโดยไม่มากับทัวร์ท่องเที่ยวแล้วเข้าไปท่องเที่ยวตามหมู่บ้านและชุมชนต่างๆ  จึงจำเป็นที่แต่ละพื้นที่จะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานโดยอาศัยการวิจัยดังกล่าวรวมทั้งพยายามให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานถึงตั้งแต่ 6 เดือนถึง 1 ปีต่อไป 

ศาสตร์จารย์พิเศษ ดร.เอนก กล่าวอีกว่าตนมีตัวอย่างกรณีประเทศอิสราเอลซึ่งมีพื้นที่เป็นทะเลทรายกว่า 60% แต่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และชาวอิสราเอลนิยมเดินทางมาประเทศไทยเพราะค่าครองชีพต่ำ ดังนั้นตนจึงได้ชักชวนให้เข้ามาร่วมกันทำการวิจัยในประเทศไทยซึ่งมีความพร้อมโดยเฉพาะภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ทุนทางวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ที่มีคุณค่าคาดว่าในอนาคตก็คงจะมีความคืบหน้าต่อไปอีก


รศ.ดร.วันชัย กล่าวว่านับเป็นมิติใหม่ที่มีการส่งเสริมทุนทางด้านวัฒนธรรมเพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศไทย ซึ่งเคยมีอยู่อย่างหลากหลายแต่ที่ผ่านมาบางอย่างถูกละทิ้งและบางอย่างได้สูญหายไป ดังนั้นการกระตุ้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ในยุคปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก โดยทาง มฟล.รับเป็นเจ้าภาพโดยร่วมกับมหาวิทยาลัยพะเยาในการจัดงานครั้งนี้และน่ายินดีที่ทางกระทรวง อว.ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

รศ.ดร.ชยาพร กล่าวว่าที่ผ่านมา มฟล.ได้ขับเคลื่อนทำงานวิจัยจากทุนทางวัฒนธรรมมาโดยตลอด 10 ปีมานี้ ทั้งที่ไม่ได้รับทุนการวิจัยและได้รับทุนการวิจัย กระทั่งปัจจุบันสามารถจดทรัพย์สินทางปัญญาด้านวัฒนธรรมได้ถึง 82 รายการ ทำให้กลายเป็นห้องทดลองเรียนรู้โดยมีวัตถุประสงค์คือให้ทุนทางวัฒนธรรมนั้นๆ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริง