เช็กด่วน 4 ข้อแอบอ้าง หลอกกดลิงก์ดูดเงินจากบัญชี แนะ 3 ขั้นตอนป้องกัน

เช็กด่วน 4 ข้อแอบอ้าง หลอกกดลิงก์ดูดเงินจากบัญชี แนะ 3 ขั้นตอนป้องกัน

ตรวจสอบ เช็กด่วน 4 ข้อแอบอ้าง หลอกกดลิงก์ดูดเงินจากบัญชี แนะ 3 ขั้นตอนป้องกัน จะได้ไม่หลงกลตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

กรณี หลอกกดลิงก์ดูดเงินจากบัญชี แนะขั้นตอนป้องกันตกเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เตือนประชาชนระวังภัย 4 กลโกงโจรออนไลน์ พร้อมเปิดเผยแนวทางป้องกัน ยันหน่วยงานภาครัฐแจ้งทำธุรกรรมเป็นหนังสือกับหน่วยงานโดยตรง ไม่ให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์ อย่าหลงเชื่อหากมีลิงก์ส่งให้กดยืนยัน


ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.), พร้อมด้วยทีมงาน ศปอส.ตร.ได้เปิดเผยคดีที่น่าสนใจ เตือนประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อฉ้อโกง 4 คดี ดังนี้

ข้อแอบอ้างหลอกดูดเงินจากบัญชี

1. หลอกให้ลงทุนกับสถาบันติวสอบครูผู้ช่วย
2. ปลอมเพจโรงรับจำนำอีซี่มันนี่หลอกขายสินค้าหลุดจำนำ 
3. หลอกให้โอนเงินโดยอ้าง “โครงการประชารัฐ”
4. หลอกลงทุนอ้างบริษัทยักษ์ใหญ่ “CP ALL”

นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มโจรออนไลน์ยังแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร หลอกลวงประชาชน โดยหลอกให้ติดตั้งโปรแกรมควบคุมมือถือระยะไกล ลงในมือถือ หลอกว่าจะคืนภาษี ทวงภาษี หรือให้เราตรวจสอบการเสียภาษี โดยการตรวจสอบผ่านโปรแกรมที่ส่งเป็นลิ้งก์มาให้โหลด ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มิจฉาชีพสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกเราโดยตรง เมื่อมือถือถูกมิจฉาชีพเข้าควบคุม ซึ่งมีคนตกเป็นเหยื่อมาแล้วหลายราย

“เบื้องต้นให้ตั้งสติ แล้วรีบกดปุ่มปิดมือถือให้ไว เพื่อตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตในเครื่อง แล้วคนร้ายจะไม่สามารถใช้งานบนมือถือเราได้ แล้วรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้เคียงไว้เป็นหลักฐานเพื่ออายัดบัญชีของเราไว้ก่อน”

ทั้งนี้ ข้อสังเกตหากมีข้อความต่างๆ จากภาครัฐแจ้งมาทางมือถือ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลย ว่าเป็นมิจฉาชีพ เพราะหน่วยงานภาครัฐจะแจ้งเป็นหนังสือเพื่อให้มาทำธุรกรรมต่างๆที่สถานที่โดยตรง จะไม่ให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์ หากมีลิงค์ให้เรากดเข้าไป อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด 

แนวทางป้องกันดูดเงินจากบัญชี 
1. อย่าคลิกลิ้งก์ใดๆ จากคนไม่รู้จักและที่ดูดีมีประโยชน์เกินจริง 
2. อย่ายอมให้ใคร remote เข้าเครื่องได้ การ remote เจ้าของเครื่องต้อง accept เขาจึงจะเข้าได้ หากเราไม่ accept ผ่านหน้าจอเราเข้าก็เข้าไม่ได้ 
3. อย่าพิมพ์ PIN หรือรหัสผ่านอะไรไว้ตาม note หรืออะไรในมือถือ ถ้าจะพิมพ์ก็เอาที่ใกล้เคียง พอให้เราช่วยนึกออกก็พอ อย่าเขียนตรงๆ เพราะโจรจะเดายาก ถ้าเดาผิดหลายครั้ง ระบบก็จะ lock โจรก็ทำรายการไม่ได้ เราอาจจะลำบากไปปลดล็อกกับด้วยตัวเอง แต่ก็ปลอดภัยกว่าให้โจรเข้าระบบเราได้

 

แนะเข้า เพจ PCTPOLICE คลิก แล้วร่วมกันแจ้งเบาะแสในการแสดงความผิดเป็นกองกำลังป้องกันปราบปรามอาชญากรรม