เช็ก ธกส 2565 ทำอะไรอยู่ กรณีเงินประกันรายได้ข้าว สินเชื่อ และบัตรคนจน

เช็ก ธกส 2565 ทำอะไรอยู่ กรณีเงินประกันรายได้ข้าว สินเชื่อ และบัตรคนจน

ตรวจสอบเช็ก ธกส 2565 ทำอะไรอยู่ มาตรการต่างๆ กรณีเงินประกันรายได้ข้าว สินเชื่อ และบัตรคนจน การช่วยเหลือเกษตรกร

มาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรนั้น รัฐบาลมักใช้กลไกของ ธกส หรือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น กรณีเงินประกันรายได้ข้าว ปล่อยสินเชื่อ และสมัครบัตรคนจน หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2565 และการช่วยเหลือเกษตรกรหลากหลายด้าน

ล่าสุด ธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ออกมาเปิดเผยผลการดำเนินงานครึ่งปีบัญชี 2565 ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนสินเชื่อเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคชนบทในช่วงดังกล่าวไปแล้ว จำนวน 368,745 ล้านบาท

  • ยอดสินเชื่อสะสมคงเหลือ จำนวน 1,601,350 ล้านบาท
  • เงินรับฝาก จำนวน 1,770,078 ล้านบาท
  • มีสินทรัพย์รวม จำนวน 2,121,282 ล้านบาท
  • หนี้สินรวม จำนวน 1,974,906 ล้านบาท 

 

ช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรและผู้ประกอบการทางการเกษตร จากภาระต้นทุนทางการผลิตที่เพิ่มสูง ทั้งค่าปุ๋ย พลังงาน แรงงาน และข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าเกษตร ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกร

 ธ.ก.ส. ได้จัดทำมาตรการในการเข้าไปดูแลแบบครบวงจร

  1. การตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในช่วงขาขึ้นออกไปให้นานที่สุด ทั้งอัตราดอกเบี้ยลูกค้าสถาบันชั้นดี (MLR) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MOR) และอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) เพื่อมิให้เป็นภาระต้นทุนกับลูกค้าในช่วงการฟื้นตัว
  2. การจูงใจให้ลูกค้าชำระหนี้ผ่านโครงการชำระดีมีคืน Plus วงเงิน 3,000 ล้านบาท ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2565
  3. การดูแลภาระหนี้สินเดิม เพื่อลดความกังวลใจในเรื่องหนี้ ผ่านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กำหนดชำระหนี้ใหม่ตามศักยภาพที่แท้จริง การไกล่เกลี่ยหนี้กรณีมีหนี้นอกระบบและมาตรการจ่ายดอกตัดต้น กรณีลูกค้าส่งชำระหนี้ ธนาคารจะแบ่งภาระการตัดชำระหนี้ตามสัดส่วนต้นเงินและดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่มีหนี้เป็นภาระหนัก ควบคู่การพัฒนาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ เช่น การให้ความรู้ด้าน Financial Literacy/Digital Literacy
  4. การร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐเอกชน สถาบันการศึกษา ในการศึกษาดูงาน การฝึกปฏิบัติเพิ่มทักษะ ทั้งอาชีพเดิม อาชีพเสริม อาชีพใหม่ การปรับเปลี่ยนการผลิตไปปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง การลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต การยกระดับมาตรฐานสินค้า เป็นต้น โดยคาดว่าจะช่วยลดภาระหนี้ครัวเรือนให้เกษตรกรและ NPLs/Loan ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 7 ในช่วงสิ้นปีบัญชี  

 

โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐปี 2565
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร อำนวยความสะดวกในการเปิดจุดลงทะเบียน พื้นที่ ธ.ก.ส. สาขาทั่วประเทศ รวมถึงการแนะนำการลงทะเบียนทางออนไลน์ กรณีผู้ลงทะเบียนไม่มีครอบครัว ซึ่งระยะเวลาการลงทะเบียน ตั้งแต่ 5 กันยายน - 31 ตุลาคม 2565 มีประชาชนร่วมลงทะเบียนผ่าน ธ.ก.ส. ทั้งสิ้นประมาณ 4.6 ล้านราย จากผู้ลงทะเบียนทั้งหมดประมาณ 22 ล้านราย


ช่วยหนี้สินครัวเรือน
ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการลดภาระและแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและ Covid-19 พร้อมกระตุ้นการรับรู้ผ่านการจัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน” ซึ่งจะจัดไปยังจังหวัดต่าง ๆ 5 ครั้ง ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร วันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2565 ขอนแก่น วันที่ 18 - 20 พฤศจิกายน 2565 เชียงใหม่ 16 - 18 ธันวาคม 2565 ชลบุรี วันที่ 20 - 22 มกราคม 2566 และหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วันที่ 27 - 29 มกราคม 2566 ซึ่งในงานดังกล่าว ธ.ก.ส. พร้อมการเติมสินเชื่อที่สอดคล้องกับความต้องการในอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขที่ผ่อนปรน

เงินประกันรายได้ข้าว
การจ่ายเงินตามโครงการประกันรายได้ในพืชเศรษฐกิจหลัก 5 ชนิด คือข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพาราและปาล์มน้ำมัน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 รวมจำนวนเงิน 142,667 ล้านบาท และมีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 4.68 ล้านราย

สินเชื่อ
มาตรการดูแลภาระหนี้สินต่างๆเข้าไปดูแล ควบคู่ไปกับมาตรการเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูลูกค้าผ่าน โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉิน เช่น ค่าอุปโภคและบริโภคที่จำเป็น อัตราดอกเบี้ย 0% 6 เดือนแรก เดือนที่ 7 คิดอัตราดอกเบี้ย MRR วงเงินรายละไม่เกิน 50,000 บาท โครงการสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อนำไปใช้สร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรรอบใหม่ รวมถึงการฟื้นฟูการผลิตที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติ เพื่อลดปัญหาการก่อหนี้นอกระบบ รายละไม่เกิน 500,000 บาท อัตราดอกเบี้ย MRR-2 วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท

...

อ้างอิง - กระทรวงการคลัง และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส)