ประกาศ ฉบับที่ 9 "พายุเซินกา" อ่อนกำลังแล้ว กรมอุตุฯเตือนฉบับสุดท้าย!

ประกาศ ฉบับที่ 9 "พายุเซินกา" อ่อนกำลังแล้ว กรมอุตุฯเตือนฉบับสุดท้าย!

ประกาศ ฉบับที่ 9 "พายุเซินกา" อ่อนกำลังแล้ว กรมอุตุฯเตือนฉบับสุดท้าย แต่ยังส่งผลต่อภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมกทม.และปริมณฑล มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง

วันที่ 15 ตุลาคม 2565 กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศ "พายุเซินกา" ฉบับที่ 9 อ่อนกำลังลงแล้ว แต่ยังส่งผลทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมกทม.และปริมณฑล และภาคตะวันออก มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง

 

 

กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า เมื่อเวลา 13.00 น.ของวันนี้ (15 ตุลาคม 2565) พายุดีเปรสชัน "เซินกา" ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณแขวงเซกอง ประเทศลาวแล้ว แต่ยังคงส่งผลทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก มีฝนเล็กน้อยถึงปานกลาง กับมีลมแรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

 

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจาก กรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

 

กรมอุตุนิยมวิทยา จะออกประกาศฉบับนี้เป็นฉบับสุดท้ายของเหตุการณ์นี้

 

ประกาศ ฉบับที่ 9 "พายุเซินกา" อ่อนกำลังแล้ว กรมอุตุฯเตือนฉบับสุดท้าย!

 

 

สำหรับ "พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า" ระหว่างวันที่ 15 - 21 ตุลาคม 2565 "กรมอุตุนิยมวิทยา" เผยว่า ในช่วงวันที่ 16 - 21 ตุลาคม 2565 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุณหภูมิลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออกอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส

 

ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตลอดช่วง

 

ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน และประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย และขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณฝนฟ้าคะนอง

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 15 - 21 ตุลาคม 2565 ดังนี้

 

ภาคเหนือ

 

ในช่วงวันที่ 16 - 21 ตุลาคม 2565 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ในช่วงวันที่ 15 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 21 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 15-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-32 องศาเซลเซียส

 

ภาคกลาง

 

ในช่วงวันที่ 15 - 16 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 17 - 21 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

 

ภาคตะวันออก

 

ในช่วงวันที่ 15 - 16 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่กับมีลมแรง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 17 - 21 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส

 

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก

 

ในช่วงวันที่ 15 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ในช่วงวันที่ 16 - 21 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

 

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก

 

ในช่วงวันที่ 15 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

ในช่วงวันที่ 16 - 21 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

 

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

 

โดยในช่วงวันที่ 15 - 16 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และในช่วงวันที่ 17 - 21 ตุลาคม 2565 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่กับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

 

ออกประกาศ 15 ตุลาคม 2565