อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

รายงาน อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จากจังหวัดต่างๆ ทั่วไทย ท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน

กรุงเทพธุรกิจ รวบรวมรายงาน อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย รวมข่าวจังหวัดต่างๆ ทั่วไทย ดังนี้

หน่วยกู้ภัยนำเรือลุยน้ำ รับผู้ป่วยประสบภัยน้ำท่วมส่ง รพ.

เมื่อเวลา 08.30น. วันที่ 29 ก.ย. 2565 หน่วยกุ้ภัยสว่างนครลำปาง นำเรือทัองแบนพร้อมเปลเดินทางเข้าไปรับผู้ป่วย ภายในซอยข้างสะพาน 200 ปี เขตเทศบาลนครลำปาง ฝั่งต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง หลังได้รับการประสานจากญาติผู้ป่วย ให้เจ้าหน้าที่มารับผู้ป่วยไปเติมเกร็ดเลือด ที่โรงพยาบาลลำปาง

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

เนื่องจากไม่สามารถออกจากบ้านได้สาเหตุมาจากน้ำท่วม เบื้องต้นเจ้าหน้าที่หน่วยกุ้ภัยสว่างนครลำปาง ได้นำเรือลุยน้ำเข้าไปในบ้านผู้ป่วยซึ่งอยู่ในซอยและอยู่ติดแม่น้ำวัง บ้านกำลังถูกน้ำท่วม เมื่อไปถึงได้นำผู้ป่วยชื่อนายบุญรัตน์ อายุ 68 ปี โดยให้ผู้ป่วยนอนบนเปลก่อนนำลงเรือออกมาจากบ้านพร้อมญาติก่อนจะเปลี่ยนถ่ายขึ้นรถพยาบาลของหน่วยกุ้ภัยสว่างนครลำปาง นำส่งโรงพยาบาลลำปาง อย่างไรก็ตามประชาชนในเขตเทศบาลนครลำปางหากต้องการความช่วยเหลือสามารถโทรแจ้ง 1669 ได้ตลอด24ชั่วโมง


นครนายกฝนตกนานหลายชั่วโมง ต้นไม้ใหญ่ล้มทับบ้าน-ศาลาวัดพัง

เมื่อเวลา 11.30 น. ของวันที่ 29 กันยายน 2565 ที่วัดเขาแดง ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้เกิดมีฝนตกหนักนานหลายชั่วโมง ก่อให้เกิดต้นโพธิ์ใหญ่และต้นมะขามล้มทับบ้านเรือนประชาชนและศาลาการเปริยญของวัดเสียหาย

ผู้สื่อข่าวจึงลงพื้นที่ไปตรวจสอบพบนายประนอม บุตรแสง ผุ้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ได้พาผู้สื่อข่าว ไปดูจุดที่ต้นไม้ล้มทับศาลาการเปริยญและทล้มทับบ้านเรือนประชาชน จนสายไฟฟ้าขาดลงสู่พื้นดิน โดยได้ประสานเจ้าหน้าที่ไฟฟ้า หน่วยงานราชการ และกู้ภัยฯได้นำเลือยยนต์มาช่วยตัดต้นไม้ออกส่วนค่าเสียหายยังประเมินไม่ได้

จากการบอกเล่าของนายประนอม บุตรแสง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 ได้เล่าว่าตนและทีมงานได้ออกสำรวจน้ำท่วมตามหมู่บ้านและได้เข้ามาพูดคุยกันที่วัดเขาแดงที่อยู่ใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่และต้นมะขามต่อมาก็ได้ยินเสียงพื้นดินเริ่มแตกดังมาจากต้นโพธิ์ใหญ่ก่อนพวกตนตกใจต่างก็พากันวิ่งหนีออกมาตรงจุดนั้นและต้ตโพธิ์ก้ล้มไปทับศาลาการเปริยญได้รับความเสียหายสักพักต้นมะขามที่อยู่ใกล้กับต้นโพธิ์ก็ล้มทับบ้านเรือนประชาชนอีก 1 หลัง  
 

สถานการณ์น้ำคลองรังสิต ปทุมธานี เสริมแท่งบริเออร์ทำแนวกั้นน้ำริมเขื่อนสะพานแดง

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 29 กันยายน 2565 สถานการณ์น้ำในพื้นที่เทศบาลนครรังสิต ต.ประชาธิปัตย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี หลังจากที่พายุโซนร้อนโนรู ขึ้นฝั่งเวียดนาม และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่น ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ทำให้น้ำในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเจ้าหน้าที่ชลประทานประตูระบายน้ำจุฬาลงกรณ์ ได้เร่งดำเนินการสูบน้ำออกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

ในส่วนของบริเวณริมเขื่อนสะพานแดง เจ้าหน้าที่เทศบาลนครรังสิตได้เสริมแนวคันกั้นน้ำด้วยแท่งแบริเออร์ทำแนวดินเพื่อป้องกันน้ำในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนในชุมชนโดยทางทางเจ้าหน้าที่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนคอยเฝ้าติดตามสถานการณ์ในอย่างใกล้ชิด โดยปักธงเหลืองแจ้งเตือนให้ประชาชนได้รับทราบ ขณะที่น้ำในซอยตามชุมชนต่างๆจากน้ำฝนที่ตกมาตลอดทั้งคืนสูงประมาณ 10-15 ซม. ซึ่งทางเทศบาลนครรังสิตได้เร่งสูบออกลงคลองรังสิตตลอด 24 ชั่วโมงเช่นกัน
 

โนรูแผลงฤทธิ์ ทำระดับน้ำเพิ่มท่วม บ้านชาวบ้านริมน้ำเร่งย้ายของหนี

พายุโนรู เริ่มสร้างผลกระทบให้กับชาวบ้าน ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เกิดฝนตกติดต่อกันตลอดทั้งคืน ทำให้ระดับน้ำสายหลักในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งแม่น้ำปิง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ชาวบ้านบางส่วนเริ่มได้รับผลกระทบจนต้องของของขึ้นที่สูงเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหาย จากการเปิดเผยของนายธนะสรรค์ ชาวบ้านหมู่ที่ 6 ชุมชนบางปรอง เขตเทศบาลนครนครสวรรค์ เปิดเผยว่า ฝนตกติดต่อกันตลอดทั้งคืนที่ผ่านมาส่งผลให้ระดับน้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ล่าสุดน้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมหมู่บ้านที่ตนเองอาศัยระดับน้ำสูงเกือบ 1 เมตรภายในคืนเดียว ทำให้ชาวบ้านต้องเร่งขนย้ายสิ่งของที่มีค่าออกจากพื้นที่อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันความเสียหาย ซึ่งคาดว่าระดับน้ำจะยังคงเพิ่มสูงขึ้นที่อย่างต่อเนื่อง เพราะตลอดทั้งวันที่ผ่านมาพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ใด้มีฝนตกตลอดทั้งวัน
 

ฝนถล่มยโสธร ต้นไม้ใหญ่ล้ม ทับตลาดสดพังเสียหาย

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

พายุโนรู เคลื่อนตัวผ่านจนทำให้มีฝนตกลงมาในพื้นที่จังหวัดยโสธร ตั้งแต่เมื่อวานนี้ (28 ก.ย. 2565) และได้ติดต่อกันตลอดทั้งวันจนกระทั่งเช้าวันนี้ (29 ก.ย.2565) ซึ่งจากฝนที่ตกลงมาต่อเนื่องตลอดทั้งวันและในช่วงค่ำวานนี้ส่งผลให้มีต้นกระบกขนาดใหญ่อายุกว่า 100 ปี โค่นล้มทับหลังคาตลาดสดบ้านสะเดา ตำบลตาดทอง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร จนได้รับความเสียหาย

แต่ยังโชคดีที่ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ เนื่องจากช่วงเกิดเหตุเป็นช่วงค่ำแม่ค้าได้กลับบ้านกันหมดแล้ว โดยในช่วงเช้าวันนี้ยังคงมีแม่ค้าพากันเข้าไปขายของภายในตลาดตามปกติท่ามกลางความหวาดเสียวที่หลังคาตลาดสดอาจจะถล่มลงมาได้ จึงฝากไปถึงผู้รับผิดชอบได้เร่งเข้าไปดำเนินการตดต้นไม้ที่ล้อมทับออกพร้อมกับได้เร่งซ่อมแซมโครงสร้างของอาคารตลาดสดแห่งนี้ให้มีความแข็งแรงและสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติโดยเร็ว
 

อิทธิพล พายุโนรู ส่งผลให้พืชผลการเกษตร เสียหายหนัก

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

อิทธิพลจากพายุโนรู ฝนตกหนักลมกรรโชกแรง ติดต่อกันมาตั้งแต่เช้าวันที่ 28 ก.ย. จนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ปภ.จังหวัดเตรียมพร้อมรับมือตลอด 24 ชม. จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีฝนตกติดต่อกันมานานนับสัปดาห์ ประกอบกับได้รับอิทธิพลจากพายุรูถล่มมาตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย. มีฝนตกหนักและลมกรรโชคแรงติดต่อกันจนถึงปัจจุบัน ได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของชาวบ้านโดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตร

มีนาข้าวที่กำลังจะตั้งท้อง บริเวณล่มน้ำลำเซบาย อ. เมืองอำนาจเจริญ อ. หัวตะพาน เอ๋อท่วมนาข้าวประมาณ 1,000 ไร่ นอกจากนั้นน้ำในลำเซบก ที่ไหลผ่าน อ. ลืออำนาจและอ. พนา น้ำเอ๋อท่วมนาข้าวเกษตรกรนับ 100 ไร่ นอกจากนั้นยังมีพืชผลทางการเกษตร ที่เป็นพืชอาหารหลักของชาวอีสานมี ต้นมะละกอ กล้วยน้ำหว้า ถูกน้ำท่วมขังดินหลวมและรับน้ำหนักผลไม่ไหวโค่นล้มเสียหายชาวบ้านต้องนำไม้มาค้ำยันตามมีตามเกิด

นายบวร วงษ์ชม หน. ฝ่ายป้องสำนักงานป้องกันภัยพลเรือน (ปภ) จังหวัดอำนาจเจริญ บอกว่าทางจังหวัดอำนาจเจริญได้เตรียมพร้อมรับมือกับพายุโนรู ที่จะพัดเข้า จ. อำนาจเจริญโดยตรง ได้เตรียมพร้อมรถสูบน้ำเคลื่อที่ไว้ 2 ลำ เครื่องสูบน้ำขนาด 8- 10 นิ้ง 4 เครื่อง เรือยาว 5 ลำและเรือท้องแบนพลาสติค 20 ลำ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ แต่ชณะนี้ยังไม่ได้รับรายงานจากทางอำเภอถึงความเสียหายใดๆ
 

ชาวบ้านริมแม่น้ำป่าสักผวา หวั่นน้ำมาดินถล่มบ้านทรุดพัง

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

วันที่ 29 ก.ย. 65 ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากนางกิ่งแก้ว อายุ 80 ปี ชาวบ้าน ม.4 ต.ท่าช้าง ว่าบ้านของตนเลขที่ 4/4 ม.4 ต.ท่าช้าง อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ว่าเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมาบ้านของตนได้ถูกน้ำท่วมแล้วเกิดดินสไลด์ ทำให้บ้านของ อยู่ในสภาพ ลอยอยู่กลางอากาศ ไม่มีเสาหรือพื้นดินที่จะรองรับพื้นบ้าน ส่งผลให้บ้านเกิดการแตกร้าวหลายแห่ง

จากนั้นได้เงินเยียวยาช่วยเหลือจากทางภาครัฐให้มา 49,000 บาท ซึ่งตนเองก็พอใจและเตรียมการที่จะซ่อมแซมบ้าน โดยการเทเสาปูน และพื้น โดยที่จะออกเงินส่วนตัวเพิ่มอีก แต่ทางผู้รับเหมาที่รับผิดชอบเรื่องทำ โครงการเขื่อนแนวกั้นน้ำริมตลิ่ง กลับไม่ให้ตนเองทำ โดยเขียนแบบให้ผู้รับเหมามาซ่อมแซมบ้านของตนเองโดยการใช้ไม้ยูคาลิปตัส มาเป็นเสาค้ำยันไว้ เนื่องจากทางโครงการเขื่อนแนวกั้นน้ำริมตลิ่ง ให้เหตุผลว่า เกรงว่าเวลาทางโครงการเข้ามาทำงานจะไม่สะดวก คือต้องใช้รถวิ่งยกเสาเข็ม หรือขนของในการก่อสร้าง ซึ่งตนเองดูแล้วเกรงว่าจะไม่ปลอดภัยหวั่นกลัวว่าบ้านจะทรุดตัวลง

เนื่องจากว่าช่วงนี้น้ำในแม่น้ำป่าสักอาจท่วมขึ้นมาอีก ดินพื้นบ้านจะสไลด์ อาจทำให้บ้านของตนเองพังลงได้ ประกอบกับตนเองเห็นว่าทางโครงการฯ ไม่เห็นมาทำอะไรกับแนวตลิ่งเลย เป็นเวลาหลายปีแล้ว มาทำทีก็วัน สองวันก็หายไป ร้องไปทีก็มาทำกันที แล้วก็หายไปอีก มาทำทีก็ 2-3 ชั่วโมงเอง

จึงอยากร้องสื่อว่าทางโครงการฯทำอย่างไร หรือจะให้ตนเองช่วยเหลือตนเองก็จะได้ให้ช่างเข้ามาซ่อมแซมบ้านของตน ว่าจะทำอย่างไรให้บ้านตนเองยังอยู่ เนื่องจากเกรงว่าบ้านของตนจะทรุดตัวพังลงไป จึงอยากวอนหน่วยงานเข้ามาเร่งดำเนินการ หรือมีหน่วยงานไดที่จะเข้ามาช่วยไม่ให้บ้านตนเองลงไปในน้ำได้

นายคำนาย อินตาราม ผญบ. ม.4 ต.ท่าช้าง เผยว่า ตนเองได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านที่แนวตลิ่งริมแม่น้ำป่าสัก ว่าได้รับผลกระทบที่เกิดจาก ผู้รับเหมาที่รับผิดชอบทำโครงการเขื่อน มาขุดทำทางเพื่อที่จะให้รถวิ่งได้ ประกอบกับว่าน้ำขึ้นจึงทำให้เกิดดินแนวริมตลิ่งทรุดตัว ส่งผลกระทบต่อแนวริมตลิ่งเป้นความยาวประมาณ 350-400 เมตร จึงอยากให้หน่วยงานที่รับผิดชอบของโครงการนี้ อยากให้เข้ามาเร่งดำเนินการ และช่วยเหลือชาวบ้านโดยด่วน เนื่องจากชาวบ้านอยู่ด้วยความหวาดผวา ซึ่งจากการสำรวจพบว่าบ้านที่ได้รับผลกระทบมีรอยร้าว รอยแตกแยก พื้นดินหาย อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อไปได้



พิมายอ่วม โนรูทำน้ำมูลเอ่อท่วมบ้านติดลำน้ำ อพยพหนีน้ำ

เมื่อเวลา 07.00 น. ที่ผ่านมา (29 กันยายน 2565) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้าน บ้านวังกุ่ม ม.14 ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ว่า มวลน้ำในลำน้ำมูลได้เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่ติดกับลำน้ำมูลอย่างรวดเร็ว เนื่องจากพายุโนรู ทำให้มีฝนตกเมื่อวานนี้ตลอดทั้งวัน และต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ ซึ่งตอนนี้ฝนตกหนักมากขึ้น และยังไม่มีท่าทีว่าจะหยุด ทำให้มีน้ำท่าและน้ำในลำน้ำมูลสะสมจนล้นตลิ่ง

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

โดยจุดลุ่มต่ำติดลำน้ำในบางจุด ระดับน้ำเอ่อท่วมสูงเกือบ 2 เมตร ส่วนบริเวณบ้านวังกุ่ม ม.14 น้ำเอ่อเข้าท่วมสูงกว่า 1 เมตร บ้านเรือนกว่า 20 หลัง ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก นายบรรจง อายุ 60 ปี ม.14 บ้านวังกุ่ม ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา หนึ่งในผู้ประสบภัย บอกว่า โชคดีที่บ้านของตนเป็นบ้าน 2 ชั้น จึงสามารถยกสิ่งของขึ้นหนีน้ำไปเก็บไว้ชั้น 2 ของบ้านได้ทัน ซึ่งชั้นล่างของตัวบ้าน

รวมถึงบริเวณโดยรอบถูกน้ำเอ่อท่วมจนหมด ข้าวของลอยไปกับน้ำหลายชิ้น ส่วนเป็ด-ไก่ที่เลี้ยงไว้ ต้องทำเล้าชั่วคราวใหม่ ให้สูงพ้นจากระดับน้ำ ซึ่งปีนี้ไม่คาดคิดว่ามวลน้ำจะมาเร็ว จนแทบตั้งตัวไม่ทัน ต้องคอยช่วยกันเฝ้าดูระดับน้ำทุกๆ ชั่วโมง

ด้านนางลำพวน อายุ 53 ปี  ม.14 บ้านวังกุ่ม ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา บอกว่า บ้านของตนเป็นบ้านชั้นเดียว น้ำเอ่อเข้าท่วมบ้านจนไม้สามารถอยู่อาศัยได้ ต้องขนสิ่งของที่จำเป็นขึ้นมาอยู่บนถนน แต่ก็มีสิ่งของหลายอย่าง อย่างเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เก็บไม่ทัน เพราะน้ำมาเร็วมาก ทำให้ได้รับความเสียหายหลายรายการ

ซึ่งนายบรรเจิด สอพิมาย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง อ.พิมาย ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ฯและ พนักงานให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยอย่างเต็มที่ พร้อมกับนำเต็นท์มาติดตั้งตามถนนเข้าหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านที่เดือดร้อนและอยู่ในจุดเสี่ยง ได้อพยพครอบครัวมาพักอาศัยชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งตอนนี้ มี 6 ครอบครัวที่อพยพหนีน้ำมาพักเต็นท์ชั่วคราวแล้ว
 

โผงเผงอ่วม น้ำทะลักท่วมสูงกว่าเมตรครึ่ง ชาวบ้านเร่งขนย้ายทรัพย์สินยึดถนนอาศัยหลับนอน

ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มการระบายน้ำต่อเนื่อง ล่าสุดทะลุ 2300 ลบ.เมตรแล้ว ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 5 ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ต้องลุยน้ำที่ท่วมสูงกว่า 1.5 เมตร ลงไปขนย้ายทรัพย์สินภายในบ้านขึ้นมาอยู่บนถนนสายโผงเผง-บางบาล หลังระดับน้ำที่สูงขึ้นล้นคันกั้นน้ำทะลักเข้าท่วมเมื่อวานที่ผ่านมา เพิ่มระดับสูงขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งคืนอย่างรวดเร็ว

จนทำให้บางบ้านไม่สามารย้ายสิ่งของได้ทัน ต้องปล่อยให้จมน้ำก่อนที่จะรวบรวมเพื่อนบ้านช่วยกันลุยน้ำเจ้าไปย้ายของที่ยังพอขนย้ายได้ขึ้นมาอยู่บนถนนเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยทางเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง นำเต้นท์มาตั้งให้เป็นที่เก็บสิ่งของและพักอาศัยชั่วคราวตลอดทั้งแนว และนำสัญญาณไปมาติดตั้งเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เนื่องจากถนนสายดังกล่างมีรถบรรทุกจำนวนมากสัญจรไปมา

ชาวบ้านหลายรายบอกว่าน้ำขึ้นเร็วมากเพียง 1-2 ชั่วโมงก็ท่วมจนมิดทำให้แม้จะเร่งขนย้ายสิ่งของก็ยังไม่ทัน ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มการระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อน เพื่อเตรียมรับน้ำเหนือที่จะได้รับอิทธิพลจากพายุโนรูซึ่งจะทำให้ฝนตกหนักในพื้นที่

ล่าสุดเขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทระบายน้ำอยู่ที่ 2300 ลบ.เมตร/วินาที น้ำเหนือเขื่อน 17.00 เมตร ท้ายเขื่อน 15.43 เมตรทำให้ระดับน้ำที่สถานีชลมาตร C7A หน้าศาลากลางจังหวัดอ่างทอง อยู่ที่ 8.50 เมตร/รทก.เพิ่มขึ้น 40 ซม.น้ำไหลผ่าน 2180 ลบ.เมตร/วินาที โดยมีรายงานแจ้งว่าน้ำส่งผลกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำ ในพื้นที่หมู่ที่ 1-7 ต.โผงเผง ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วมแล้ว 302 หลังคาเรือน

ต.บางจัก ต.สี่ร้อย อ.วิเศษชัยชาญ มีน้ำท่วมบ้านเรือราษฎร 469 หลังคาเรือน

ต.จำปาหล่อ ต.ตลาดกรวด อ.เมือง จ.อ่างทอง มีบ้านเรือนถูกน้ำท่วม 10 หลังคาเรือน

ต.ชัยฤทธิ์ ต.จรเข้ร้อง ต.หลักฟ้า ต.เทวราช ต.ราชสถิตย์และต.ไชโย อ.ไชโย มีน้ำท่วม 93 หลังคาเรือน

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

รวม 4 อำเภอ 11 ตำบล 874 หลังคาเรือนและยังคงเพิ่มต่อเนื่องโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ในตำบลโผงเผง อ.ป่าโมก และ ต.จรเข้ร้อง อ.ไชโย ซึ่งทางจังหวัดอ่างทองได้เตรียมความพร้อมในการรับมือและแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

 

 


พิษโนรู แม่น้ำโขง สถานการณ์น้ำขยับสูงเร็ว

วันที่ 29 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าว รายงานบรรยากาศ ควันหลงของพิษภัยจากพายุโนรู เข้าพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี ที่บริเวณหน้าจุดผ่านแดนถาวร บ้านปากแซง ตำบลพะลาน อำเภอนาตาล จ.อุบลราชธานี ในวันที่ 28 ถึงวันที่ 29 กันยายน โดยพื้นที่ของอำเภอนาตาลก็เป็นอีกอำเภอหนึ่งที่ติดอยู่กับชายแดนแม่น้ำโขง และยังเป็นอำเภอที่อยู่ตรงใจกลางของพายุอีกด้วย ความรุนแรงของพายุ ในคืนที่ผ่านมา ทำให้มีต้นไม้ใกล้บ้านได้หักโค่นลงทับหลังคาบ้านเรือนของราษฎร ทำให้ได้รับความเสียหาย จำนวนหลายครัวเรือน และหลายหมู่บ้าน

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

ทั้งนี้ นายอุบล พีระพรปัญญา นายอำเภอนาตาล กล่าวว่า ได้แจ้งและกำชับกับผู้นำหมู่บ้านทุกหมู่บ้านไปแล้วก่อนที่พายุจะเข้ามา เพื่อเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะระดับน้ำในแม่น้ำโขง ให้มีการรายงานให้อำเภอทราบทุกวันทุกเช้าของทุกวัน ส่วนในวันนี้ ทราบว่า ระดับน้ำโขงได้สูงเร็วมากกว่าทุกวันที่ผ่านมาคือคืนเดียวสูงเกือบ 2 เมตร ซึ่งก็นับว่าสูงเร็วมาก เชื่อว่าเมื่อพายุผ่านไปแล้ว ระดับของน้ำโขงคงจะไม่น่าเป็นห่วงมากนัก และในส่วนของบ้านเรือนราษฎรนั้น ก็ได้ให้ทาง อบต.ในพื้นที่เข้าตรวจสอบอย่างละเอียดกันแล้ว สรุป ช่วงนี้น้ำโขงยังไม่น่าเป็นห่วง ถ้าหาก สูงขึ้นมาอีกถึง 4 เมตร จึงจะเอ่อไหลเข้าสู่พื้นที่กินของเกษตรกร เชื่อว่าในปีนี้น่าจะไม่ถึงขนาดนั้น นายอำเภอนาตาล จ.อุบลราชธานี กล่าวในท้ายสุด


ทหารเร่งกั้นแม่น้ำชี ป้องกันหมู่บ้านน้ำท่วมที่ร้อยเอ็ด

ประกาศที่อุตุนิยมวิทยา เตือนเรื่องพายุโนรู เคลื่อนที่เข้าจังหวัดพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อคืนที่ผ่านมา ซึ่งแจ้งว่าผลที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงคือเขตพื้นที่ทางตอนเหนือ ที่อำเภอหนองพอกและอำเภอโพนทอง แต่จากการตรวจสอบ มีปริมาณฝนตกไม่มากและไม่มีพายุพัดแรง มีเพียงแต่การเกิดสภาพฟ้าครึ้มและฝนตกปรอยๆเต็มพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด และยังไม่มีการเกิดสภาวะลมพัดแรงในพื้นที่แต่อย่างใด แต่ทางจังหวัดก็ได้ออกหนังสือเตือนแจ้งไปยังทุกอำเภอทุกพื้นที่แกนนำชุมชนทุกหมู่บ้านให้มีการเตรียมรับมือและเฝ้าระวังสภาวะฝนตกหนักพายุลมแรงและน้ำท่วมขังในพื้นที่

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งเน้นหนักในพื้นที่เสี่ยงติดลุ่มน้ำ ทั้งลำน้ำชี ลำน้ำเสียว ลำน้ำยังและ ลำน้ำเตา ให้มีการ และพื้นที่เสี่ยงติดลำน้ำสาขา ในเขตพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ ที่อำเภอเกษตรวิสัยสุวรรณภูมิอำเภอโพนทราย ในเขตพื้นที่ลุ่มลำน้ำดัง อำเภอจังหาร อำเภอ เชียงขวัญ อำเภอทุ่งเขาหลวง และนอกจากนั้นในเขตพื้นที่ติดลุ่มลำน้ำยัง ในเขตอำเภอโพนทอง อำเภอหนองพอกและ อำเภอเสลภูมิ เกาะติดสถานการณ์พ่อระวังตลอด 24 ชั่วโมง

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

ในขณะที่ พื้นที่ด่านแรกที่รับผลกระทบ แรกเกิดน้ำท่วมขังขึ้นในเขตอำเภอจังหาร ที่บ้านหนองแคหมู่ที่ 9 ตำบลม่วงลาดอำเภอจังหารจังหวัดร้อยเอ็ด โดยน้ำได้ปิดล้อมหมู่บ้าน 33 หลังซึ่งมีผู้คนอยู่ ประมาณ 200 คนได้รับผลกระทบ เนื่องจากน้ำท่วมปิดทางเข้าออกหมู่บ้าน จนต้องนำสิ่งของออกมาไว้ บนที่สูง ห่างจากหมู่บ้าน ประมาณ 1 กิโลเมตรในขณะที่นาข้าว 800 ไร่โดนน้ำท่วมมิดจมน้ำ มีแนวโน้มว่าจะรับความเสียหายทั้งหมด ในขณะที่ในด้านการให้ความช่วยเหลือ ถ้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยทหารในพื้นที่ได้นำเรือท้องแบนเข้าไปให้ความช่วยเหลือในการสัญจรเข้าออกในสภาวะที่จำเป็น ณบริเวณที่ตั้งจุดเฝ้าระวัง อย่างใกล้ชิด

ส่วนสำหรับพื้นที่ที่บ้านดินดำ หมู่ที่ 9 ตำบลดินดำอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ระดับน้ำจากลำน้ำชีเริ่มล้นฝั่งเข้าท่วมหมู่บ้าน ในบางหลังและเริ่มท่วมถนน ที่ใช้สัญจรในหมู่บ้านทางการนำชุมชนได้ประสานหน่วยทหารจากมณฑลทหารบกที่ 27 เข้าไปประจำในพื้นที่พร้อมกับนำกระสอบทราย เข้ามากั้น แนวสุ่มเสี่ยงตลอดแนว ฟังชี ตลอดแนว รอบหมู่บ้าน 750 เมตรในบางจุดที่เป็นที่หลุมต่ำก่อนเป็นเบื้องต้นเพื่อกันน้ำเข้าท่วมหมู่บ้านในขณะที่ชาวบ้านและหน่วยทหารได้ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านขนของขึ้นบนที่สูงที่ปลอดภัยเพื่อเตรียมรับมือน้ำท่วม

ได้เป็นการเฝ้าระวังตามประกาศ ประกาศเขตพื้นที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) เพิ่มเติม และรายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ข้อมูล ณ 29 กันยายน 2565 ในขณะทั้งจังหวัดได้ ประกาศเป็นพื้นที่12 อำเภอ 82 ตำบล 644 หมู่บ้าน จังหาร ธวัชบุรี ทุ่มเขาหลวง เสลภูมิ เชียงขวัญ โพธิ์ชัย พนมไพร อาสามารถ เกษตรวิสัย โพนทราย ปทุมรัตต์ สุวรรณภูมิ โพนทอง
 


โคราชอ่วม ฤทธิ์พายุโนรู หลายพื้นที่ถูกน้ำท่วมหนัก

นครราชสีมา - วันนี้ (29 ก.ย.65) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากอิทธิพลของพายุโนรู ทำให้ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมามีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวานจนถึงเช้านี้ ส่งผลทำให้หลายพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมา เกิดน้ำท่วมฉับพลัน โดยที่ถนนมิตรภาพ ขาเข้า กทม. บริเวณทางคู่ขนานด้านหน้าเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมนวนคร นครราชสีมา ระยะทางกว่า 2 กม. ระดับน้ำสูงประมาณ 20-30 ซม. ขณะเดียวกันทางแขวงทางหลวงหมายเลข 2 ได้มีการรายงานสถานการณ์บนถนนว่า ถนนมิตรภาพตั้งแต่ ต.โคกกรวด อ.เมือง มีปริมาณน้ำท่วมขังบนถนนมิตรภาพหน้าตลาดเซฟวัน ,ตลาดเทิดไท ทำให้ในบริเวณดังกล่าวการจราจรเกิดการชะลอตัว

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในเขตพื้นที่อำเภอเมืองนครราชสีมา พบว่าจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องตลอดตั้งแต่เมื่อวานทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมที่บริเวณหมู่บ้านคุรุสภา ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา เนื่องจากหมู่บ้านคุรุเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำซึ่งทำให้เป็นพื้นที่รับน้ำจากหลายแห่ง ทำให้เช้านี้ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณน้ำเอ่อไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนกว่า 30 หลังคาเรือน ในจุดที่ตำสุดมีระดับน้ำสูงประมาณ 30-40 ซม.ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านต้องเดินเท้าออกมาทำงานอย่างลำบาก ซึ่งคาดว่าหากสถานกาณ์ฝนยังตกต่อเนื่องอยู่แบบนี้จะทำให้มีประชาชนในหมู่บ้านคุรุสภาได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นอีกกว่า 100 หลังคาเรือน
 

เตือนระดับน้ำลุ่มเจ้าพระยา ขณะพื้นที่เหนือเขื่อนได้รับผลกระทบ

วันนี้ 29 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศแจ้งเตือนเฝ้าระวังระดับน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 43/2565 ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์จะมีฝนตกหนัก เนื่องจากอิทธิพลของพายุ โนรู ในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2565 บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ส่งผลทำใหมีน้ำไหลหลากผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับเกิดฝนตกในลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำท่าจีน เกิดน้ำหลากไหลลงคลองชัยนาท-ป่าสัก และแม่น้ำท่าจีน 

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา คาดการณ์ว่าจะมีน้ำไหลผ่านบริเวณ ที่สถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ 2,500 -2,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยปริมาณน้ำจะไหลมารวมกับแม่น้ำสะแกรกรังและลำน้ำสาขาไหลเข้าเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้ปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในเกณฑ์ 2,300 – 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในช่วงของวันที่ 1-7 ตุลาคม 2565 โดยจะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 30-60 เซนติเมตร บริเวณชุมชนพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกันน้ำ อ.สรรพยา จ.ชัยนาท อ.อินทร์บุรี เมืองสิงห์บุรีและพรหมบุรี จ.สิงห์บุรี อ.ป่าโมงและอ.ไชโย จ.อ่างทอง คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา อ.เสนาและอ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ปทุมธานี จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร

สำหรับในปัจจุบัน สถานการณ์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำที่ไหลผ่านสถานีวัดน้ำ C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ อยู่ที่ 2,549 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท มีปริมาณน้ำทางด้านเหนือเขื่อนอยู่ที่ 17.00 เมตร/รทก. มีปริมาณน้ำทางด้านท้ายเขื่อนอยู่ที่ 15.53 เมตร/รทก. ซึ่งระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 0.81 เมตร และเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนอยู่ที่ 2,300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งส่งผลทำให้ที่สถานีวัดน้ำ C.3 บ้านบางพุดทรา อ.เมือง จ.สิงห์บุรี มีปริมาณน้ำไหลผ่านจุดวัดอยู่ที่ 2,259 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

จากปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลทำให้ในพื้นที่บริเวณหมู่ที่ 3-4 ต.ศิลาดาน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นพื้นที่ด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาได้ยกตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดวันกว่า 50 เซนติเมตร ส่งผลให้บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบแล้วกว่า 10 หลังคาเรือน ทางเทศบาลตำบลศิลาดาน ได้ทำการตั้งเต็นท์ที่พักชั่วคราวริมถนน และเตรียมเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ 2 เครื่อง รองรับสถานการณ์น้ำท่วมขังจากฝนตกหนักและน้ำผุดเข้าท่วมบ้านเรือนและสวนส้มโอขาวแตงกวาบริเวณพื้นที่ในคันกั้นน้ำ

นางสุวรรณี โตศิลา นายกเทศมนตรีตำบลศิลาดาน เปิดเผยว่า วันนี้ระดับน้ำขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องตลอดวันกว่า 50 เซนติเมตร เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนริมแม่น้ำเจ้าพระยานอกคันกั้นน้ำ ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 10 หลังคาเรือน บริเวณหมู่ที่ 3,4,6 มีพืชผักสวนครัวที่ชาวบ้านปลูกไว้ขายเสียหายเป็นจำนวนมาก ทั้งกล้วย ถั่วฝักยาว พริก ได้เตรียมตั้งเต็นท์ และกระสอบทรายเพื่อวางพื้นขอบถนนให้พักอาศัยได้อย่างสะดวก พร้อมขอความอนุเคราะห์เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่จากชลประทานไว้ 2 เครื่อง เพื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่ด้านในคันกั้นน้ำหากมีน้ำฝนท่วมขังและมีน้ำผุดลอดเข้าไปท่วมบ้านเรือนและสวนส้มโอขาวแตงกวาหลายสิบไร่

ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำและเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่นพื้นที่ริมแม่น้ำนอกคันกั้นน้ำให้เฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
 

พายุโนรูถล่มชัยภูมิ น้ำป่ามหาศาล ทะลักท่วมโซนเศรษฐกิจ

อัปเดต พายุโนรูเข้าไทย สถานการณ์น้ำท่วม อุทกภัย จังหวัดต่างๆ ทั่วไทย

เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.ชัยภูมิหน้าห่วงใกล้วิกฤติ เนื่องจากเกิดพายุโนรู มรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้พื้นที่ จ.ชัยภูมิ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องมาหลายวัน และโดยเฉพาะวันนี้ในพื้นที่ตัวเมืองชัยภูมิ หรือโซนเศรษฐกิจกลางใจเมืองชัยภูมิ ได้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน วัดปริมาณน้ำฝนได้ 53 มม. ที่ถือว่าหนักสุดเพียงช่วงมีฝนตกเพียงวันเดียวที่ผ่านมาทำให้มีมวลน้ำได้ผุดขึ้นมาตามท่อระบายน้ำ เข้าท่วมตามผิวจราจรตามถนนสายต่าง ๆ ในเมืองชัยภูมิ

ล่าสุด ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ชุมชนต่างๆ ทั่วเขตเทศบาลฯชุมชนต่างๆ และโซนเศรษฐกิจย่านกลางใจเมืองชัยภูมิ น้ำฝนที่รอการระบายได้ทะลักท่วมในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ถนนหลายเส้น ในตัวเมืองชัยภูมิจมอยู่ใต้น้ำ ตามเส้นทางหลักที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น ร้านค้า ย่าน 4 แยกโรงเลื่อยเก่า ถนนชัยประสิทธิ์ มีระดับน้ำท่วมผิวถนนสูง ทางจังหวัดได้เร่งแจ้งเตือนประชาชนในทุกพื้นที่และทางเทศบาลฯยังได้เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่ม เพื่อให้การสูบน้ำออกจากตัวเมืองชัยภูมิได้เร็วยิ่งขึ้นแล้ว โดยเฉพาะชาวบ้านในเมืองชัยภูมิ ต่างวาดผวาหวั่นว่า ในตัวเมืองจะเกิดน้ำท่วมได้อีกซ้ำเสียหายย่อยยับเหมือนปีที่ผ่านมาและยังคงเฝ้าระวังป้องกันน้ำไหลเข้าบ้านกันเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง

ซึ่งวันนี้ ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัด จะได้เรียกประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมเพื่อเตรียมการรับมือพายุโนรู ที่กำลังพัดถล่มในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จนสร้างความเสียหายใหักับประชาชนใน อำเภอกันทั่วหน้า ประกอบด้วย อ.จัตุรัส อ.หนองบัวระเหว อ.หนองบัวแดง อ.เทพสถิต อ.บ้านเขว้า อ.เกษตรสมบูรณ์ และอ.เมืองชัยภูมิอยู่ในขณะนี้

โดยได้ตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขึ้นที่บริเวณศาลากลางจังหวัดชัยภูมิ นอกนั้นยังได้ระดมกำลังจิตอาสาเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร (อส.)จำนวน1กองร้อย ได้นำทรายเร่งบรรจุกระสอบทรายเอาตั้งเป็นแนวกันน้ำทะลักท่วมศาลากลางจังหวัด ทั่วทั้ง 5 ประตูเพื่อป้องกันน้ำป่าทะลักเข้าท่วมตึกอาคารศาลากลางและภายในบริเวณศาลากลางจังหวัด ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานส่วนราชกการต่างๆที่อยู่บนศาลากลางจนได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเหมือนปี2564ที่ผ่าน

นาย ไกสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ยอมรับว่า พายุโนรู ถือเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายกังวลเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจังหวัดจะดำเนินการ เตรียมการป้องกันมานานกว่า3เดือนแล้วก็ตาม แต่เรื่องของธรรมชาติ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข เฉพาะหน้า อย่างไรก็ตามในวันนี้ได้ยกระดับการป้องกันแก้ปัญหาด้วยการ สั่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเข้ามาอีกจำนวน10เครื่อง เพื่อเตรียมสูบน้ำออกจากเขตเทศบาล หากเกิดน้ำท่วมฉับพลัน พร้อมสั่งการให้ทุกหน่วยงาน โฟกัสเรื่องน้ำเป็นเรื่องแรก สิ่งที่กังวลใจที่สุดในเวลานี้คือ ปริมาณน้ำที่อิ่มตัวทุกจังหวัด

โดยเฉพาะจังหวัดใกล้เคียงกับชัยภูมิ คือจังหวัดขอนแก่น ที่กำลังได้รับผลกระทบอยู่ และขอนแก่นขณะนี้จะเป็นพื้นที่รับน้ำต่อจากชัยภูมิ ซึ่งขณะนี้ขอนแก่นไม่สามารถรับน้ำ จากพื้นที่อื่นได้รวมทั้งชัยภูมิ ก็จะเกิดภาวะน้ำหนุนและส่งผลให้ชัยภูมิเกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน อย่างแน่นอน นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำภาพรวมในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ณ ปัจจุบัน ได้มีการพร่องน้ำไปแล้วกว่า 574 ล้าน ลบ.ม. (ทยอยพร่องตั้งแต่ช่วงเดือน พ.ค.65) ทำให้ภาพรวมระดับน้ำในเขื่อนของพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 70 % แต่อย่างไรก็ดีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำบางแห่งยังคงมีระดับน้ำสูง โดยเฉพาะเขื่อนลำปะทาว เขื่อนห้วยกุ่ม และบึงละหาน ที่มีระดับน้ำเกินกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ (บึงละหานมีการทำแก้มลิงเพื่อชะลอน้ำ)

ทั้งนี้ ทางสถานีอุตุนิยมวิทยาชัยภูมิ ได้คาดการณ์ว่าในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 2 ต.ค. 65 พื้นที่จังหวัดชัยภูมิต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่จากอิทธิพลของพายุ “โนรู” ซึ่งจะมาในรูปแบบของพายุซุปเปอร์ใต้ฝุ่น (หนักกว่าพายุเตี้ยนหมู่และโพดุล ในปี 64) จึงได้ให้ทางชลประทานทำหนังสือแจ้งไปยังอ่างเก็บน้ำต่างๆ รวมถึงชาวบ้านริมน้ำและในพื้นที่เสี่ยงภัยเร่งอพยพและขนของขึ้นที่สูงโดยเร็ว นอกจากนี้ยังกำชับให้อ่างเก็บน้ำห้วยยางบ่า จำเป็นต้องเร่งพร่องน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันมวลน้ำทะลักเข้าสู่ตัวเมือง 

 

17 จังหวัด ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) และภาคกลาง เฝ้าระวังอิทธิพลจากพายุโนรู อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ช่วง 29 ก.ย. - 4 ต.ค.65

(29 ก.ย.65 เวลา 11.50 น.) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำท่าและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ประกอบกับกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้มีประกาศฉบับที่ 44/2565 ลงวันที่ 28 กันยายน 2565 แจ้งว่า จากการประเมินฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่าอิทธิพลของพายุโนรูจะส่งผลให้มีปริมาณฝนตกต่อเนื่องสะสม 150 - 250 มิลลิเมตร ซึ่งปัจจุบันในลำน้ำและแหล่งน้ำมีปริมาณน้ำมากอาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากน้ำท่วมฉับพลัน โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 29 กันยายน – 4 ตุลาคม 2565 ดังนี้

- ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง (อำเภอเมืองฯ ห้างฉัตร เกาะคา) ตาก (อำเภออุ้มผาง ท่าสองยาง แม่ระมาด) เพชรบูรณ์ (อำเภอวิเชียรบุรี ศรีเทพ บึงสามพัน หนองไผ่) และกำแพงเพชร (อำเภอปางศิลาทอง คลองลาน)

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี (อำเภอบ้านผือ) ชัยภูมิ (อำเภอภักดีชุมพล หนองบัวระเหว หนองบัวแดง) ขอนแก่น (อำเภอเมืองฯ) ยโสธร (อำเภอเมืองฯ เลิงนกทา ทรายมูล) นครราชสีมา (อำเภอแก้งสนามนาง ด่านขุนทด) บุรีรัมย์ (อำเภอกระสัง) ศรีสะเกษ (อำเภอไพรบึง กันทรารมย์ กันทรลักษ์) อุบลราชธานี (อำเภอเมืองฯ เขื่องใน ดอนมดแดง ศรีเมืองใหม่ นาตาล โขงเจียม เดชอุดม ตระการพืชผล พิบูลมังสาหาร สว่างวีระวงศ์ โพธิ์ไทร ม่วงสามสิบ ตาลสุม เขมราฐ) อำนาจเจริญ (อำเภอเมืองฯ เสนางคนิคม พนา ชานุมาน) และมุกดาหาร (อำเภอดอนตาล)

- ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี (อำเภอลำสนธิ ท่าหลวง ชัยบาดาล สระโบสถ์ พัฒนานิคม) สระบุรี (อำเภอมวกเหล็ก วังม่วง แก่งคอย) และปราจีนบุรี (อำเภอเมืองฯ ประจันตคาม กบินทร์บุรี นาดี ศรีมหาโพธิ)

กอปภ.ก. จึงได้เน้นย้ำไปยัง 17 จังหวัดเสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง เตรียมพร้อมรับมือปริมาณฝนตกสะสมที่อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอยู่เดิม จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังเป็นประจำ และพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร โดยจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง พร้อมประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงนำเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเข้าประจำจุดเสี่ยงอันตรายและพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้พร้อมเผชิญเหตุ และช่วยเหลือประชาชนทันที ทั้งนี้ ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด

สำหรับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศและข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยขอให้เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้นและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด โดยประชาชนสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT” และหากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM รวมถึงสายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป