'โควิด' ดันยอดเล่นเน็ตพุ่ง 'วันละ 10 ชั่วโมง' - เวิร์คฟรอมโฮมกว่า 75%

'โควิด' ดันยอดเล่นเน็ตพุ่ง 'วันละ 10 ชั่วโมง' - เวิร์คฟรอมโฮมกว่า 75%

สดช.เผยตัวเลขจากทำรายงานภาพรวมดิจิทัลในประเทศ พบจากพิษโควิดหนุนประชาชน-ภาคธุรกิจอยู่บนออนไลน์มากขึ้น ยอดเล่นเน็ตสูงสุด 10 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้เวิร์ค ฟอรม โฮม กว่า 75%

ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปใช้ในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านดิจิทัลของประเทศ ใน 8 มิติหลัก ได้แก่

1.การเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล

2.การใช้งาน

3.นวัตกรรม

4.อาชีพและแรงงานดิจิทัล

5.ความเชื่อมั่นและความปลอดภัยดิจิทัล

6.การค้าและอุตสาหกรรมดิจิทัล

7.ผลจากดิจิทัลด้านสังคม 

8.การเติบโตและคุณภาพชีวิตและนำไปสร้างตัวชี้วัดในการพัฒนาดิจิทัลของประเทศไทย

เธอ กล่าวว่า สำหรับผลสำรวจที่สำคัญในครั้งนี้พบว่า ประชาชนยอมรับและเชื่อถือการใช้อีคอมเมิร์ซมากขึ้น ประชาชนที่มีการซื้อ สินค้าบริการออนไลน์สูงขึ้นทําให้เติบโตเร็วจาก 37.7% เป็น 76.6% ในปีที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการเอกชนมีการใช้งานเทคโนโลยียุคใหม่ ทั้ง คลาวด์ และ ดาต้า อนาไลติกส์ ในสัดส่วนที่สูงขึ้น แบ่งเป็นคลาวด์ 70.3% ดาต้า อนาไลติกส์ 61.5% และ เอไอ 41% 

“แต่ยังมีประเด็นที่สําคัญที่พบคือ ประเทศไทยยังต้องเร่งการพัฒนาและสร้างทักษะ แรงงานด้านดิจิทัล ซึ่งมีปริมาณไม่พอกับความ ต้องการด้านดิจิทัลที่ขยายตัวเร็ว รวมทั้งการเปิดตลาดอีคอมเมิร์ซไปสู่ต่างประเทศ เพราะตอนนี้ ส่วนใหญ่ซื้อ-ขายเพียงในประเทศเท่านั้น”

นางวรรณพร ระบุอีกว่า จากผลสํารวจพบว่า ประชากรทั้งประเทศ มีพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตเฉลี่ยจํานวน  6-10 ชั่วโมงต่อวันและในสถานการณ์โควิดมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แบ่งเป็น

-ใช้ประชุมออนไลน์ หรือ ทำงานจากที่บ้าน คิดเป็นสัดส่วน 75.2%

-ใช้สําหรับเรียนออนไลน์คิดเป็นสัดส่วน 71.1% 

-ซื้อสินค้าออนไลน์คิดเป็นสัดส่วน 67.4% 

-เพื่อการติดต่อเล่นโซเชียล 65.1%

-ทําธุรกรรมการเงิน 54.7%

อีกทั้ง จากการสํารวจยังพบว่าธุรกิจที่มีการใช้ช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น ประกอบด้วย ธุรกิจการเกษตรเพิ่มขึ้น 54.6% อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 27.4% ขนส่งและโลจสิติกส์เพิ่มขึ้น 27.9% ธุรกิจที่มีการใช้ช่องทางออนไลน์ลดลงในช่วงโควิด คือ การท่องเที่ยวและสันทนาการลดลง 76.4% แฟชั่นลดลง 44.8% วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร 36.8%

นอกจากนี้ ในวันที่ 20 ก.ย.นี้ จะจัดให้มีการลงนามเอ็มโอยูเรื่อง “การบูรณาการด้านการแลกเปลี่ยน และ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการศึกษา Thailand Digital Outlook ของประเทศไทย” เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวที่ได้ไปบริหารจัดการและ การบูรณาการข้อมูลภาครัฐที่มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงเพื่อนำชุดข้อมูลในการศึกษานี้ ไปใช้ในการวางยุทธศาสตร์ องค์กรของแต่ละหน่วยงานด้วยต่อไป