เตือน กทม.รับมือฝนหนัก 30 ส.ค.-5 ก.ย. ยก 7 แผนเผชิญเหตุเร่งระบายน้ำท่วม

เตือน กทม.รับมือฝนหนัก 30 ส.ค.-5 ก.ย. ยก 7 แผนเผชิญเหตุเร่งระบายน้ำท่วม

เช็ค 7 แผนเผชิญเหตุอุทกภัยฯ เร่งระบายน้ำท่วม "อัศวิน' เตือน กทม.รับมือฝนหนัก 30 ส.ค.-5 ก.ย.นี้

วันที่ 30 .. พล...อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยว่า เนื่องจากขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน โดยเมื่อวันที่ 26-29 .. กรุงเทพฯ มีฝนตกหนักมากกว่า 150 มิลลิเมตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพตะวันออก มีฝนตกหนักสูงสุดถึง 189 มิลลิเมตรในพื้นที่เขตหนองจอกและลาดกระบัง ซึ่งการแก้ไขปัญหาได้ทำการพร่องน้ำในคลอง เปิดประตูระบายน้ำ จัดเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมพร้อมเจ้าหน้าที่เร่งระบายน้ำในจุดที่มีน้ำท่วมขัง ทั้งนี้ จากสถิติฝนสะสมเฉพาะวันที่ 29 ..ของปี 2564 พบว่า มีฝนถึง 1,176 มิลลิเมตร ปริมาณสูงกว่าปี 2563 ที่มีฝน 950 มิลลิเมตร โดยเฉพาะสูงกว่าค่าเฉลี่ยสะสม 30 ปี ของวันที่ 29 ..ที่มีฝน 1,026.4 มิลลิเมตร

พล...อัศวิน กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามพื้นที่กรุงเทพฯ จะยังคงมีฝนตกต่อเนื่องโดยในช่วงวันที่ 30 ..-5 ..นี้ กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศว่าพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีฝนตกหนัก 60-70% ของพื้นที่ ซึ่ง กทม.ได้เตรียมความพร้อมรับมือและเฝ้าระวังน้ำท่วมในพื้นที่ โดยอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่เป็นหัวใจสำคัญของระบบระบายน้ำหลักในพื้นที่ ที่ผ่านมากทม.ได้ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ห่างไกลจากแม่น้ำเจ้าพระยา และเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ลงสู่ทะเลได้โดยเร็ว โดยปัจจุบัน กทม.มีอุโมงค์ระบายน้ำแล้ว 4 แห่ง ความยาวรวม 19.37 กิโลเมตร มีประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 195 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ครอบคลุมพื้นที่ 135.5 ตารางกิโลเมตร และอยู่ระหว่างก่อสร้าง 1 แห่ง

"หาก กทม.ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่อีก 4 แห่ง ครบตามแผนงานที่ดำเนินการ กทม.จะมีอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่ รวม 9 แห่ง มีประสิทธิภาพการระบายน้ำรวม 425 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ครอบคลุมพื้นที่รวม 478.5 ตารางกิโลเมตร จะช่วยบรรเทาและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง ทั้งจากน้ำฝนที่ตกในพื้นที่และน้ำหลากจากพื้นที่นอกคันป้องกันครอบคลุมพื้นที่สำคัญของกรุงเทพฯได้เกือบทั้งหมด"พล...อัศวิน ระบุ

163031996880

พล...อัศวิน กล่าวอีกว่า สำหรับการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่นั้น กทม.ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้เร่งดำเนินการอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งในปี 2564 จุดเสี่ยงน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ ที่อยู่ในความดูแลของสำนักการระบายน้ำ ลดลงจากปี 2563 โดยมีจุดเสี่ยงน้ำท่วม 12 จุด และจุดเฝ้าระวังน้ำท่วม 47 จุด แต่ได้กำชับให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมีการแจ้งเตือนประชาชนเป็นระยะตั้งแต่ก่อนฝนตก ระหว่างฝนตก และหลังฝนตก เพื่อให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมในการรับมือฝน โดยเฉพาะพื้นที่ที่ฝนตกหนักอาจจะต้องมีการเคลื่อนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงป้องกันสิ่งของได้รับความเสียหาย และได้กำชับให้เร่งระบายน้ำในจุดเสี่ยงน้ำท่วมให้ได้โดยเร็วที่สุด เพราะหากการระบายน้ำเข้าสู่ระบบระบายน้ำหลักไม่สามารถทำได้เต็มกำลัง ขอให้เร่งระบายน้ำ เข้าระบบระบายน้ำรองหรือจุดย่อยแทน เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้เร็วขึ้น

163031998110

พล...อัศวิน กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สำนักการระบายน้ำ ได้จัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยจากอุทกภัย กทท.ประจำปี 2563 (ถือปฏิบัติปี 2564) ของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดทำตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ..2558 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร .. 2558 โดยแนวทางดำเนินการของแผนเผชิญเหตุอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ มีดังนี้

1.ประเมินความเสี่ยง จุดเสี่ยง และลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งจากน้ำหลากและฝนตกหนัก พร้อมแนวทางลดผลกระทบ

2.ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม และบัญชีศูนย์พักพิงชั่วคราวสำหรับการอพยพ

3.ข้อมูลเตรียมพร้อมของระบบป้องกันน้ำท่วม ระบบระบายน้ำ และศักยภาพในการแก้ไขสถานการณ์

4.ข้อมูลบุคลากรและอุปกรณ์ สนับสนุนการเผชิญเหตุอุทกภัย

5.ACTION PLAN สำหรับเหตุที่จะเกิดขึ้นในกรณีต่างๆ ตามระดับความรุนแรง

6.แผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เสี่ยงในถนนสายหลักและถนนสายรอง

7.การสื่อสาร แจ้งเตือน ประชาสัมพันธ์ และประสานงาน ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัย

"การดำเนินการตามแผนดังกล่าวจะมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมบูรณาการความร่วมมือเพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ ให้ไปอย่างมีประสิทธิภาพ"พล...อัศวิน กล่าว

163031999861