เห็นชอบ 'เปิดประเทศอย่างปลอดภัย' ย้ำแผน 120 วัน นายกฯ ยังไม่พับ

เห็นชอบ 'เปิดประเทศอย่างปลอดภัย' ย้ำแผน 120 วัน นายกฯ ยังไม่พับ

คาดโควิด19รอบนี้ถึงจุดสูงสุดแล้ว คกก.โรคติดต่อแห่งชาติ มีมติ “เปิดประเทศอย่างปลอดภัย” เปลี่ยนผ่านระยะวิกฤติสู่โรคประจำถิ่น เน้นควบคุมโรคแนวใหม่ มุ่ง 3 กลยุทธ์เข้ม ฉีดวัคซีนครอบคลุม-ป้องกันโรคทุกกรณีทุกโอกาส-จัดทีมCCRTตรวจเชิงรุก

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่  23 ส.ค. 2564  ในการแถลงข่าวผ่านระบบออนไลน์ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ  กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติที่มีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุขเป็นประธานว่า คณะกรรมการฯรับทราบสถานการณ์โรคโควิด 19 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มขณะนี้ยังมีผู้ป่วยสูงแต่แนวโน้มผู้ป่วยเริ่มลดลงต่ำกว่า ที่เคยถึงจุดสูงสุด 23,000 ราย  ขณะนี้เหลืออ17,000 รายและรักษาหายมากกว่า 22,000 ราย

เนื่องจากมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาล สธ.ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานต่างๆทั้งการควบคุมพื้นที่หรือล็อกดาวน์ในพื้นที่สีแดงเข้ม รวมถึงการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกด้วยชุดตรวจเอทีเค และนำเข้าสู่ระบบกากรักษาที่บ้าน หรือในชุมชน และการเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยหนักให้ครอบคลุม โดยขณะนี้ฉีดวัคซีนได้โดยเฉลี่ยวันละ 5-6 แสนโดส มีการฉัดวัคซีนแล้วราว 27 ล้านโดส ครอบคลุมอย่างน้อย 1 เข็มคิดเป็น 28 %

สิ่งที่คณะกรรมการฯมีมติ จะมีการนำเสนอต่อศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโรคโควิด19(ศปก,สธ.)และมติใดที่มีความสำคัญเชิงนโยบายก็จะเสนอศบค.สั่งการดำเนินการต่อไป 

เรื่องที่ 1. การเปิดประเทศอย่างปลอดภัยภายใต้มาตรการ ควบคุมโรคแนวใหม่ (Smart control and living with COVID 19) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ  โดยเป็นการเตรียมการเข้าสู่ระยะเปลี่ยนผ่านจากภาวะวิกฤติ ที่มีผุ้ป่วยติดเชื้อจำนวนมากมีเป้าหมายเพื่อควบคุมการระบาดของโรค ให้มีผู้ป่วยไม่เกินศักยภาพระบบสาธารณสุขรองรับ

โดยมีกลยุทธ์ที่สำคัญ จะต้องเรียนรู้ที่จะต้องใช้ชีวิตกับเชื้อนี้ต่อไป จากเดิมที่มีการระบาดทั่วโลก ต่อไปใช้เชื้อนี้เป็นที่เข้าใจทั่วโลกต่อไปโรคนี้จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เพราะฉะนั้นในหลายประเทศจึงมีมาตรการต่างๆรองรับการใช้ชีวิตของประชาชน ให้ได้เป็นอย่างปกติที่สุด ให้กระทบการดำเนินชีวิตน้อยที่สุด ซึ่งกลยุทธ์ที่สำคัญ คือ 

1. การฉัดวัคซีนให้ครอบคลุมโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรัง รวมถึง พัฒนาการหาวัคซีนใหม่อย่างครบวงจรในประเทศไทย

2. การป้องกันโรคในทุกกรณีทุกโอกาส โดยมีแนวคิดว่าทุกคนมีโอกาสเป็นผู้ติดและแพร่เขื้อได้ เพราฉะนั้นต้องระมัดระวังตนเองทั้งการรับเชื้อและแพร่เชื้อต่อตอลดเวลา เพิ่มเติมจากมาตรการเดิม ที่มีคือการเว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ใส่หน้ากาก การใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆอย่างต่อเนื่อง

3. การทำงานเชิงรุกด้วยหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการเยี่ยมบ้าน ด้วยทีม CCRT ที่เป็นการบูรณาการระหว่างสธ. หน่วยงานในพื้นที่ หน่วยงานในท้องถิ่น ลงไปในพื้นที่กทม. ปริมณฑล และพื้นที่ระบาดอื่นๆ เพื่อที่จะเข้าไปตรวจคัดกรองเชิกรุกด้วยเอทีเค และฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงต่างๆ โดยที่ประชุมเห็นชอบและให้จัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงนำเสนอศปก.สธ.ต่อไป  ก่อนเสนอศบค.ต่อไป

เรื่องที่ 2. เห็นชอบหลักการป้องกัน ควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ หรือบับเบิ้ลแอนด์ซีล สำหรับสถานประกอบการในพื้นที่ที่ระบาดกลุ่มก้อนและพื้นที่ทั่วๆไป เพราะการเปิดประเทศอย่างปลอดภัย นอกจาก ฉีดวัคซีนครอบคลุม และประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน แล้วและมาตรการองกรค์ต่างๆก็สำคัญ เนื่องจากการแพร่ระบาดที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มเร็วและเป็นกลุ่มก้อนเกิดในสถานที่ทำคนรวมตัว เช่น โรงงาน สถานประกอบการอื่นๆ จึงต้องมีมาตรการเข้มงวด ไม่ให้เกิดระบาดของโรคกว้างขวางร่วมกับมาตรการอื่นๆ ซึ่งมีการดำเนินการในหลายพื้นที่ หลายส่วน ต้นแบบเช่น จ.สมุทรสาคร และมีโรงงาน นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งได้เริ่ทดำเนินการและพบว่าเป็นมาตรการที่ควบคุมโรคได้และไม่ต้องปิดโรงงาน สามารถทำงานต่อไปได้  มีความปลอดภัย ไม่เกิดป่วยรุนแรงจนเสียชีวิต  ซึ่งศบค.ได้เห็นชอบไปแล้ว 

เรื่องที่ 3. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงแจ้ง วัน เวลา สถานที่ ที่พาหานะจะเข้ามาถึงด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และการยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติสำหรับพาหนะที่จะเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งด่านบก น้ำ และอากาศ เป็นไปตามพรบ.โรคติดต่อพ.ศ. 2558 ที่กำหนดให้ออกกฎกระทรวงเพื่อจะได้เป็นเอกสารต่างๆสำหรับผุ้ที่เอาพาหนะเข้าสู่ประเทศไทย เพราะการมีโรคในต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยก็จะมากับพาหนะที่เดินทางจากต่างประเทศ    

เรื่องที่ 4. มติให้สนับสนุนให้มีผู้แทนสมัชชาสุขภาพจังหวัด ร่วมในคณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัด เพราะช่วงที่โรคโควิดระบาด สิ่งสำคัญที่จะทำให้ควบคุมสถานการณ์ได้ดี คือ การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เพราะฉะนั้น ตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่จะได้ร่วมรับรู้กำหนดมาตรการในการควบคุมโรค โดยมีการนำร้องในหลายจังหวัด เช่น นครปฐม ซึ่งได้ผลดี 

และเรื่องอื่นๆ  คือ รับทราบมติคณะกรรมการด้านวิชาการตามพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ที่เห็นชอบให้ผู้เดินทางที่จะเข้าภูเก็ตแซนด์บอกซ์ที่ได้รับวัคซีนแล้วตามที่องค์การอนามัยโลกหรือ WHOกำหนด รวมถึง เห็นชอบเพิ่มเติม ให้ผู้ที่รับวัคซีนสปุตนิก ไฟว้ เข้าร่วมโครงการภูเก็ตแซนด์บอกซ์ได้ และให้ติดตมมมาตรการภูเก็ตแซนด์บอกซ์เพื่อนำเสนอรับทราบเป็นระยะ

162970093947

ผู้สื่อข่าวถามว่าแสดงว่าสถานการณ์โควิด19ขณะนี้พร้อมเปิดประเทศแล้ว หรือมีปัจจัยใดที่จะเป็นตัวกำหนดการเปิดประเทศ  นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค  กล่าวว่า การเปิดประเทศและการควบคุมโรคต้องอิงสถานการณ์ ซึ่งในวันนี้จะมีมาตรการควบคุม เพื่อนำไปสู่การเปิดประเทศอย่างปลอดภัยและสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้  ซึ่งสถานการณ์ตอนนี้เราได้เตรียมการและได้วางแผน โดยทั้งหมดต้องดำเนินการภายใต้การควบคุมโรคที่เสนออย่างต่อเนื่อง จึงจะสามารถเปิดประเทศได้ตามแผนกำหนด ซึ่งหากสามารถทำได้ตามมาตรการควบคุมโรคก็จะสามารถผ่อนคลายและฟื้นฟูประเทศได้

นพ.โอภาส  กล่าวว่า  ล็อกดาวน์จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ส.ค. 2564  แล้วหลังล็อกดาวน์จะเป็นอย่างไร ซึ่งนพ.ทวีทรัพย์ ได้รายงานที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ หลังจากนี้ ตั้งแต่ ก.ย. จนถึงปลายปี และปีหน้า หากจะเปิดให้ประชาชนคลายล็อกกิจกรรมต่างๆ ต้องมีปัจจัยอะไรซึ่งหลักๆ คือ  1. ฉีดวัคซีนให้ครบถ้วนตามแผน 2. ตรวจคัดกรองตามจุดเสี่ยงต่างๆอย่างเข้มงวด และใช้ชุดตรวจโควิดอย่างง่าย  ATK  3. ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการทำมาตรการป้องกันและควบคุมโรคทุกที่ทุกโอกาส  และ4.มาตรการบับเบิลแอนด์ซีล รวมทั้งการประเมินมาตรการสาธารณสุขในการดูแลรักษาผู้ป่วยว่า  ต้องมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ระบบสาธารณสุขจะรองรับได้ จะต้องเป็นอย่างไร  เป็นต้น  ซึ่งต้องใช้กลยุทธ์และมาตรการหลายส่วนประกอบกัน 

ผู้สื่อข่าวถามว่าจะต้องฉีดวัคซีนครอบคลุมในอัตราเท่าไหร่จะจึงสามารถเปิดประเทศได้ตามที่กำหนด นพ.โอภาส กล่าวว่า  สำหรับรายละเอียดมาตรการข้อกำหนดต่างๆ เป็นอย่างไรขอให้นำเข้าศปก.ศบค.ให้ทราบก่อน แต่จะมีแนวกำหนดไว้ ทั้งการฉีดวัคซีนปริมาณเท่าไหร่ ซึ่งก็คงจะเป็นตามเป้าหมายที่สธ.กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม ขอนำเสนอศปก.ศบค.ก่อนแจ้งรายละเอียด

ถามต่อว่า สถานการณ์โควิด19ในประเทศไทยที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่แนวโน้มลดลง  อยู่ในช่วงขาลงแล้วหรือไม่ และนโยบายเปิดประเทศใน 120 ยังสามารถเป็นตามแผนหรือไม่  นพ. โอกาส กล่าวว่า  การประเมินสถานการณ์นั้น ใช้ตัวเลขหลายตัว ไม่เฉพาะจำนวนผู้ติดเชื้อ รวมถึง แนวโนมการตรวจ ผู้ที่มีอาการหนัก ผู้เสียชีวิต อัตราการตรวจในแต่ละพื้นที่และการกระจายของโรคควบคู่กัน ซึ่งการดูข้อมูลหลายตัวเลขสอดคล้องกันว่าน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้วและมีแนวโน้มจะลดลง แต่อย่างไรก็ตามต้องติดตามอีก 3-4 วันเพื่อให้แน่นอนใจ แต่แนวโน้มเป็นสิ่งทีดี ทั้งนี้ ประเมินว่าเกิดจากมาตรการที่มีการล็อกดาวน์ ประชาชนให้ความร่วมมือในการป้องกันดี การฉีดวัคซีนโดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง สีแดงเข้มเป็นตามแผน รวมถึง มาตรการเชิงรุกใช้เอทีเคตรวจเบื้องต้น และบับเบิลแอนด์ซีลหลายโรงงานร่วมมือดี สถานการณ์ต่างๆดูมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังเป็นจุดเปราะบงที่จะต้องระมัดระวังและเข้มงวดก่อนที่จ่ะอนคลาย มาตรการต่างๆ 

“กรณีการเปิดประเทศเป็นไปตามนโยบายเปิดประเทศ 120 วัน ซึ่งไม่ได้หมายถึงการเปิดทั้งประเทศ แต่จะเป็นพื้นที่ ยกตัวอย่าง ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์  ดังนั้น เป้าหมาย 120 วันทางกระทรวงสาธารณสุขยังรับนโยบายท่านนายกฯมาดำเนินการ แต่ก็ต้องพิจารณา เพราะยังมีตัวแปรที่ต้องพิจารณาอีกเยอะ เช่น ช่วงประกาศนโยบายเปิดประเทศ 120 วันยังไม่มีเดลตาระบาด ซึ่งหลายประเทศเมื่อเจอสายพันธุ์นี้ก็มีการติดเชื้อใหม่ อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างยังต้องอยู่ในการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกอย่างยังเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้”นพ.โอภาสกล่าว