เช็ค! 'ฝากเงิน' ที่ไหน 'คุ้มครองเงินฝาก' 1 ล้านบาทบ้าง ?

เช็ค! 'ฝากเงิน' ที่ไหน 'คุ้มครองเงินฝาก' 1 ล้านบาทบ้าง ?

รู้ก่อน "ฝากเงิน" แบงก์ไหน "คุ้มครองเงินฝาก" 1 ล้านบาทบ้าง ? หลัง "สถาบันคุ้มครองเงินฝาก" ปรับวงเงินคุ้มครองเงินฝากจาก 5 ล้านบาท เหลือ 1 ล้านบาท เริ่ม 11 ส.ค. นี้

"สถาบันคุ้มครองเงินฝาก" ลดวงเงิน "คุ้มครองเงินฝาก" ตามกฎหมายคุ้มครองเงินฝากวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อสถาบันการเงิน โดยลดลงจากเดิมคุ้มครองวงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท เริ่มมีผล 11 ส.ค.64 

การปรับเกณฑ์คุ้มครองเงินฝากทำให้ผู้ที่มีบัญชีเงินฝากอยู่กับสถาบันการเงินต่างๆ เกิดความกังวลว่าจะได้รับผลกระทบกับเงินที่ฝากอยู่หรือไม่ ?

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" สรุปให้เบื้องต้นว่าการลดคุ้มครองเงินฝากจะส่งผลกระทบเฉพาะบุคคลที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท/ราย/สถาบันการเงิน เช่น ในกรณีที่สถาบันการเงินที่ฝากเงินอยู่ปิดกิจการ ผู้ฝากที่มีเงินเกิน 1 ล้านบาทจะได้รับเงินฝากพร้อมดอกเบี้ยที่ควรได้รับคืนในวงเงิน 1 ล้านบาท 

ส่วนผู้ไม่ได้ฝากเงินเกิน 1 ล้านบาทในบัญชีธนาคารก็ไม่ต้องกังวลใจ ยังจะได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนเงินดังเดิม

แม้จะลดวงเงินฝากคุ้มครองมาที่ 1 ล้านบาท แต่ข้อมูลจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ระบุว่ายังความครอบคลุมจำนวนบัญชีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ถึง 98.0% ครอบคลุมผู้ฝากเงิน 82.1 ล้านราย สอดคล้องกับหลักการของการคุ้มครองเงินฝากที่ให้สวัสดิการดูแลพื้นฐานกับคนส่วนใหญ่ของประเทศดังเดิม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

 'ฝากเงิน' ที่ไหน 'คุ้มครองเงินฝาก' 1 ล้านบาทบ้าง ? 

อีกเรื่องที่คน "ฝากเงิน" ต้องรู้ คือสถาบันคุ้มครองเงินฝาก คุ้มครองเงินฝากครอบคลุม 35 สถาบันการเงินเท่านั้น ประกอบไปด้วยรายชื่อดังต่อไปนี้

  • ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (19 แห่ง)
  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  
  3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน
  4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  
  5. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)   
  6. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)  
  7. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  
  8. ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)  
  9. ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน
  10. ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)    
  11. ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน
  12. ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)  
  13. ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)  
  14. ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
  15. ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  
  16. ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
  17. ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน
  18. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)  
  19. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
  • สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
  1. ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส  
  2. ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด 
  3. ธนาคารซิตี้แบงก์ 
  4. ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด  
  5. ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
  6. ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
  7. ธนาคารดอยซ์แบงก์
  8. ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
  9. ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
  10. ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
  11. ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์
  • บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)
  1. บริษัทเงินทุน ศรีสวัสดิ์ จำกัด (มหาชน)
  2. บริษัทเงินทุน แอ็ดวานซ์ จำกัด (มหาชน
  • บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)
  1. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
  2. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
  3. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด  

นอกจากรายชื่อสถาบันการเงินแล้ว ลักษณะบัญชีเงินฝากยังจะต้องอยู่ใน 5 ประเภทที่กฎหมายกำหนด และเป็นเงินสกุลบาทเท่านั้น โดยบัญชีที่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก และไม่ได้รับการคุ้มครองเงินฝาก มีดังนี้ 

162845020882

เพราะฉะนั้น ก่อนที่ปรับแผนฝากเงินใหม่หลังจากที่มีการปรับเกณฑ์คุ้มครองเงินฝาก อย่าลืมตรวจสอบว่าบัญชีเงินฝากของเราอยู่ในประเภทที่กำหนดหรือไม่ 

ที่มา: สถาบันคุ้มครองเงินฝาก