เจาะแผนรับผู้ป่วย กทม. พลิกทางรอดวิกฤติ 'โควิด'

เจาะแผนรับผู้ป่วย กทม. พลิกทางรอดวิกฤติ 'โควิด'

เมื่อทุกตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ขณะนี้ อยู่บนเดิมพันทุกวินาทีจากหน่วยงานภาครัฐ

จากตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 ในกรุงเทพฯ สะสมมากที่สุดในประเทศ 169,989 ราย ตลอดการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ 1 เม..- 4 ..2564 กำลัง "ยกระดับ" สถานการณ์วิกฤตทุบสถิติยอดผู้ติดเชื้อสูงสุดของประเทศเพียงวันเดียวมากถึง 20,920 ราย

เมื่อกลไกที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) กำลังเร่งปรับ "ช่องทาง" นำเข้าระบบรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 นอกจากโรงพยาบาลหลักทั้ง 8 แห่ง โรงพยาบาลสนามและฮอสพิเทลรวมทั้งหมด 9 แห่ง รองรับผู้ติดเชื้อทั้งหมดได้ 2.7 พันเตียง

แต่จากยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ กทม.ได้ปรับแผนเพื่อนำผู้ป่วยโควิด-19 เข้าระบบรักษาใน 2 รูปแบบเพิ่มเติม สำหรับแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation : HI) และแยกกักในชุมชน (Community Isolation : CI) หรือ "ศูนย์พักคอย"

เริ่มที่ขั้นตอนก่อนเข้าสู่ระบบการรักษา "แยกกักตัวที่บ้าน" นั้น กทม.ได้เปิดช่องทางติดต่อไว้ 3 ส่วน 1.สายด่วน สปสช. 1330 ซึ่งเป็นหมายเลขกลาง 2.สายด่วนโควิด 50 เขต เขตละ 20 คู่สาย และ 3.ช่องทาง web application โดยการสแกนผ่าน QR code ซึ่งระบบจะลงบันทึกข้อมูลผ่าน web portal ของ "สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือ สปสช. ซึ่งข้อมูลวันที่ 5 ส.ค. ศบค.ระบุว่า มีผู้ป่วยในกรุงเทพฯ ที่เข้าสู่ระบบแยกกักตัวที่บ้านเกือบ 100,000 รายแล้ว

162814143284

โดยระบบจะ "จับคู่" หน่วยบริการอัตโนมัติ และส่งไปให้กับศูนย์บริการสาธารณสุข หรือคลินิกอบอุ่นที่อยู่ใกล้บ้านของผู้ป่วยรายนั้นอยู่ที่ 232 จุด โดยที่ศูนย์บริการสาธารณสุขจะตอบรับผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมประเมินว่าเป็นเป็นกลุ่มผู้ป่วย "เขียว-เหลือง-แดง"

หากเป็นกรณีที่เป็น "สีเขียว" กทม.จะนำเข้าระบบ "แยกกักตัวที่บ้าน" แต่หากที่บ้านไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้าน ได้จะส่งต่อไป "แยกกักในชุมชน" แต่หากประเมินแล้วเป็นกลุ่ม "สีเหลือง" หรือ "สีแดง" กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำระบบ "Bed Management Center" โดยทำการหา "เตียงที่ว่าง" เพื่อส่งต่อผู้ป่วยใน 2 กลุ่มนี้โดยเร็ว

ขณะที่การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 ศูนย์เอราวัณ 1669 จะทำหน้าที่ดูแลรถรับส่งผู้ป่วยในภาพรวม โดยมี "เซ็นเตอร์" ตั้งอยู่ที่อาคารธานีนพรัตน์ชั้น 27 ศาลาว่าการ กทม. 2 ดินแดง โดยทีมสำนักอนามัย สำนักการแพทย์ และกรมการแพทย์ ประสานงานร่วมกันทุกวัน

ไม่ใช่แค่นั้นแต่ "สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ" หรือ สวทช. และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ สพร.ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของระบบรัฐบาลดิจิทัล ได้พัฒนาโปรแกรม "BKK HI/CI care" ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อให้ทีมแพทย์ติดต่อคนไข้ผ่านทาง LINE OA เพื่อสอบถามอาการป่วยในแต่ละวัน

แต่ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่ได้ใช้สมาร์ทโฟน จะมีเอกสารคำแนะนำส่งถึงบ้าน อาทิ วิธีการวัดไข้ วัดออกซิเจน เอกสารเพื่อบันทึกอาการ โดยมีอาสาสมัครสาธารณสุข ตำรวจนครบาล จิตอาสาพระราชทาน ส่งยาให้ผู้ป่วย จากหน่วยบริการในกรุงเทพฯ ประมาณ 238 แห่ง รองรับผู้ป่วยประมาณ 8 หมื่นถึง 1 แสนคน 

ส่วนการจัดส่งอาหารให้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ "แยกกักตัวที่บ้าน-ชุมชน" ตั้งแต่วันที่ 29 ..2564 สมาคมภัตตาคารไทย และเดลิเวอร์รี่ Skootar ร่วมมือจัดส่งยา อุปกรณ์แรกรับ โดยเฉพาะการส่งอาหารแต่ละประเภท อาทิ อาหารฮาลาล สำหรับชาวมุสลิม อาหารมังสวิรัติอาหารสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งจะ "ปรับแผน" ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละรายครอบคลุมทั้ง 50 เขต

ขณะที่การดำเนินงาน "ศูนย์แยกกักในชุมชน" หรือ "ศูนย์พักคอย" ถูกกำหนดเป็นสถานที่แยกผู้ติดเชื้อโควิค-19 ที่มีอาการไม่มากหรือไม่แสดงอาการ แต่ประเมินแล้วว่าไม่สามารถกักตัวที่บ้านได้ให้มาพักในศูนย์พักคอย เพื่อรอการนำส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรง โดยแบ่งประเภทศูนย์พักคอย 85 แห่ง ดังนี้

1.ศูนย์พักคอย กทม.ร่วมกับหน่วยงานภาคี (Community Isolation : CI) 55 แห่ง

2.ศูนย์พักคอยกึ่งโรงพยาบาลสนาม (Community Isolation plus : CI plus) 7 แห่ง

3.ศูนย์พักคอยโดยภาคประชาชน (Semi Community Isolation) 19 แห่ง

4.ศูนย์พักคอยโดยหน่วยงานอื่น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคม 4 แห่ง

5.ศูนย์พักคอยในองค์กรเพื่อรองรับเฉพาะบุคคลในองค์กร (Organizational Isolation) 2 แห่ง

162814151657

ล่าสุด กทม.จัดตั้งศูนย์พักคอยฯทั้งหมด 62 แห่งทั้ง 50 เขตเปิดบริการแล้ว 47 แห่ง ครอบคลุม 6 โซนกรุงเทพฯ รองรับผู้ป่วย 9,038 เตียง ประกอบด้วย

1.กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ 11 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,855 เตียง

2.กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง 11 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,130 เตียง

3.กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ 11 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,411 เตียง

4.กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก 9 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,323 เตียง

5.กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ 9 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 836 เตียง

6.กลุ่มเขตกรุงธนใต้ 11 ศูนย์ รองรับผู้ป่วย 1,371 เตียง

ส่วนยอดตัวเลขรับวัคซีนโควิด-19 อัพเดต 5 ..2564 "กรุงเทพธุรกิจ" ตรวจสอบพบว่ามีผู้รับวัคซีน "เข็มแรก" อยู่ที่ 39,251 รายสะสมผู้ได้รับเข็มแรก 4,087,952 ราย และผู้รับวัคซีน "เข็มสอง" อยู่ที่ 10,235 ราย สะสมผู้ได้ครบสองเข็มอยู่ที่ 1,136,495 ราย

หากตรวจสอบจากยอดประชากรในกรุงเทพฯ ตามทะเบียนราษฎร์ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป อยู่ที่ 7,699,174 ราย ดังนั้นเป้าหมายสำคัญที่ กทม.ต้องการฉีดวัคซีนให้ได้ 70 % ของจำนวนประชากร เพื่อให้เกิด "ภูมิต้านทานหมู่" ต้องอยู่ที่ 5,389,422 ราย

เมื่อทุกตัวเลขผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ขณะนี้ อยู่บน "เดิมพัน" ทุกวินาทีจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อดึงกราฟผู้ติดเชื้อที่ไต่เพดานให้ต่ำลงมาโดยเร็วที่สุด.

162814162847