เช็คด่วน! กลุ่มพิเศษใน 13 จังหวัด ฉีด 'วัคซีนไฟเซอร์' เริ่ม 9 ส.ค.

เช็คด่วน! กลุ่มพิเศษใน 13 จังหวัด ฉีด 'วัคซีนไฟเซอร์' เริ่ม 9 ส.ค.

สธ.เผยกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดสล็อตบริจาค เพิ่มเด็กอายุ 12 ปีใน 13 จังหวัดฉีดวัคซีนด้วย เริ่ม 9 ส.ค.นี้

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 30 ก.ค. 2564 ในการแถลงสถานการณ์โควิด 19 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรหวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ประเทศไทยมีการฉีดวัคซีนโควิด19 แล้ว 17,011,477 โดส เป็นเข็มที่ 1 จำนวน 13,225,233 ราย และครบ 2 เข็ม 3,786,244 ราย   ส่วนความครอบคลุม พื้นที่กทม,และปริมณฑล 44.20 % เฉพาะกทม. 61.67 % ส่วนของผู้สูงอายุได้รับวัคซีนแล้วประมาณ 70 %  แต่ในภูมิภาคฉีดได้เพียง 12 % เพราะวัคซีนมีจำนวนจำกัด ที่ผ่านมาจึงเกลี่ยมาให้หพื้นที่ระบาดอย่างกรุงเทพฯและปริมณฑลก่อน  แต่จากนี้ต่างจังหวัดจะได้รับวัคซีนมากขึ้น โดยในเดือนส.ค.ที่จะมีวัคซีน 10 ล้านโดสก็จะกระจายไปฉีดในต่างจังหวัดมากขึ้น เน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป  ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค และหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ขึ้นไป จะได้วัคซีนก่อน จากนั้นเป็นอสม. และบุคลากรอื่นๆต่อไป 

      นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า  การฉีดวัคซีนในสูตรใหม่ คือ ซิโนแวคเข็มที่ 1 และ แอสตร้าเซนเนก้าเข็มที่ 2 โดยห่างกัน 3 สัปดาห์  ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพใกล้เคียงกับสูตรเดิมแต่ฉีดครบ 2 เข้มเร็วขึ้นจาก 12 สัปดาห์เหลือเพียง 3 สัปดาห์ ซึ่งจากที่มีการดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้วนั้น ในแง่ความปลอดภัยและอาการไม่พึงประสงค์หลังการรับวัคซีนไม่ได้แตกต่างจากการฉีดแบบสูตรเดิม จึงมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ

      “ส่วนการกระจายวัคซีนเดือนส.ค. ช่สงกระจาจวัครซีนเดือนส.ค.จะกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น หลังจากที่เดือนมิ.ย.- ก.ค.กระจายในกทม.ปริมณฑลค่อนข้างมากเพื่อควบคุมการระบาดของโรค โดยมีเป้าหมายฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง รวมถึง อสม.เป็นหลัก จากนั้นส่วนหนึ่งจะใช้ควบคุมการระบาดในพื้นที่ระบาดเป็นจุดๆไป และฉีดในกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น พื้นที่ท่องเที่ยง อาทิ พังงา กระบี่ เป็นต้น”นพ.โอภาสกล่าว  

    

      

 

  นพ.โอภาส  กล่าวอีกว่า สำหรับวัคซีนไฟเซอร์ซึ่งได้รับบริจาคจากประเทศสหรัฐอเมริกาจำนวน 1.5 ล้านโดสและส่งมาถึงประเทศไทยแล้วนั้น  จะฉีดใช้ให้ 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 

     กลุ่มที่ 1  บุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข ที่ดูแลผู้ป่วยโควิด19ทั่วประเทศ เป็นเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นภูมิค้มกัน จำนวน 7 แสนโดส   ซึ่งได้มีการสำรวจรายชื่อจากรพ.ต่างๆส่งมา จากนั้นสธ.จะกระจายวัคซีนไปรพ.เป้าหมายต่างๆ เพื่อฉีดให้บุคลากรสาธารณสุขมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น

กลุ่มที่ 2 ฉีดในผู้สูงอายุ  ผู้ที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง  หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่เนื่องจากวัคซีนไฟเซอร์สามารถรฉีดในเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปได้ด้วย เพราะฉะนั้นจะมีการฉีดให้กลับเด็กที่มีอายุ 12 ขึ้นไปและป่วยใน 7 กลุ่มโรคเรื้อรังจะได้รับวัคซีนนี้ด้วย ซึ่งจะมีการกระจายไปใน 13 จังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา สงขลา ปัตตานี ยะลาและนราธิวาส จำนวน 645,000 โดส

กลุ่มที่ 3 ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย โดยเป็น ผู้ที่มี 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง  หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ และคนไทยผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศที่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนไฟเซอร์ เช่น นักเรียน  นักศึกษา เป็นต้น จำนวน 150,000 โดส

และกลุ่มที่ 4  ทำการศึกษาวิจัย โดยการอนุมัติของคณะกรรมการวิจัยจริยธรรม เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ในการกำหนดนโยบายต่อไป จำนวน 5,000 โดส   

 

  “วัคซีนไฟเซอร์ที่ส่งมาเป็นวัคซีนเข้มข้น ต้องมีการผสมด้วยน้ำเกลือก่อนนำไปฉีด เป็นวัคซีนที่ใน 1 ขวดผสมแล้วฉีดได้ 6 โดส  โดยวัคซีนไฟเซอร์กำหนดให้ฉีดโดสละ 0.3 มิลลิลิตรเข้าชั้นกล้ามเนื้อ โดยฉีดห่างกัน 3 สัปดาห์ สามารถเก็บในอุณหภูมิ -90 ถึง -70 องศาเซลเซียสได้นาน 6 เดือน และเก็บในอุณหภูมิตู้เย็น 2-8 องศาเซลเซียสได้ 1 เดือน เพราะฉะนั้นต้องวางแผนอย่างดีในการบริหารจัดการการกระจายและการฉีดวัคซีน ทั้งการนัดหมายวันเวลาที่จะมาฉีด เนื่องจากเก็บรักษาในตู้เย็นธรรมดาได้แค่ 1 เดือน”นพ.โอภาสกล่าว   

       นพ.โอภาส กล่าวด้วยว่า ไทม์ไลน์วัคซีนไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส  คือ 30 ก.ค. 2564 วัคซีนล้อตบริจาคถึงประเทศไทย จัดเก็บที่คลังวัคซีนที่ -70 องศาเซลเซียส ของบริษัทซิลลิค ฟาร์มา(ประเทศไทย) จำกัด และส่งตัวอย่างตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 ส.ค.คาดว่าจะได้รับผลตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัย วันที่ 3-4 ส.ค. บริษัทจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับ แพ็ควัคซีนเพื่อจัดส่ง 5-6 ส.ค.จัดส่งวัคซีนล็อตแรกเข็มกระตุ้นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และเข็ม 1 สำหรับกลุ่มเสี่ยงเป้าหมายถึงหน่วยบริการ วันที่ 7-8 ส.ค. รพ.เตรียมความพร้อมการฉีดวัคซีน โดยรพ.ต้องนัดหมายคนมาฉีด ควบคุมเวลาอย่างดี เพราะเอาออกจากตู้เย็นแล้วจะอยู่ได้ไม่นาน เพราะฉะนั้นความแม่นยำในการนัดหมายต้องเป็นอย่างดี ไม่เช่นนั้นวัคซีนจะเสียหาย  วันที่ 9 ส.ค. หน่วยบริการเริ่มฉีดวัคซีน และกลางเดือนส.ค.2564 จัดส่งวัคซีนเข็ม 2 สำหรับฉีดปลายเดือนส.ค.2564  คาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนส.ค. 2564