ผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษาต้องทำอย่างไร ?

ผู้ติดเชื้อ 'โควิด-19' ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษาต้องทำอย่างไร ?

สปสช. ย้ำ 4 ช่องทาง ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่ได้เข้าสู่ระบบการรักษา ทั้งลงทะเบียนกักตัวที่บ้าน หรือ ลงทะเบียนแล้วยังไม่ได้รับการติดต่อกลับภายใน 48 ชม. รวมถึงผู้ที่ต้องการกลับ 'รักษาที่ภูมิลำเนา' และติดตามสถานการณ์ดูแลผู้ป่วยรักษาตัวที่บ้าน

หลังจากที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีแนวทางในการให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รักษาตัวที่บ้านหรือที่ชุมชน (Home-Community isolation) โดยในช่วงแรกมีหน่วยบริการเข้าร่วมโครงการ 104 แห่ง จากทั้งหมดกว่า 200 แห่ง และจากข้อมูลเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2564 พบว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่หน่วยบริการตอบรับและนำเข้ารักษาด้วยระบบ การดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชนแล้วจำนวน 39,500 ราย

ขณะเดียวกัน กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายให้ สปสช. และ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) วางระบบการนำส่งผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลับไป 'รักษาที่ภูมิลำเนา' เพื่อให้การขนส่งผู้ป่วยเป็นไปตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรค ลดการแพร่กระจายเชื้อระหว่างทาง โดยยังได้ประสานกับกระทรวงกลาโหม กรมการขนส่งทหารบก กระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อร่วมวางแผนการเดินทางและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน

ผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล ที่มีความประสงค์ต้องการเดินทางกลับไปรักษาตามภูมิลำเนา สามารถแจ้งความจำนงโดยลงทะเบียนได้ทางเว็บไซต์ https://crmdci.nhso.go.th/ เพื่อแก้ปัญหาปริมาณสายด่วน 1330 มีการใช้งานจำนวนมาก ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องรอนาน จึงได้เปิดช่องทางลงทะเบียนทางเว็บไซต์เพื่อให้แจ้งความจำนงแทน

162762882884

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ขณะเดียวกัน มีการนำร่องใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ในการตรวจเชิงรุก ซึ่งพบว่าผลค่อนข้างดี โอกาสที่จะเกิดผลบวกปลอมมีต่ำกว่า 3% จึงให้ความมั่นใจได้ว่าชุดตรวจนี้มีความถูกต้อง และในขณะนี้จะใช้ชุดตรวจดังกล่าวเป็นมาตรฐานเบื้องต้นตามมติคณะกรรมการควบคุมโรค

กระทรวงสาธารณสุข และผู้ติดเชื้อสามารถเข้าระบบ Home isolation ได้โดยไม่จำเป็นต้องถามหาผลตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยัน ส่วนผู้ป่วยต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลผู้รับจะใช้วิจารณญาณในการจะตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องตรวจด้วยวิธี RT-PCR ก่อนถึงจะได้รับบริการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

อย่างไรก็ตาม ชุดตรวจ ATK ที่จะแจกจ่ายให้กับประชาชนใน 2 เดือนนี้ มีทั้งสิ้น 8.5 ล้านชุด แต่สำหรับหน่วยบริการไม่ได้มีการจำกัดจำนวนชุดในการใช้ ขณะเดียวกันในสัปดาห์หน้า นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะมีการทำแผนตรวจคัดกรองให้ได้วันละ 1 แสนราย คาดว่าใช้เวลาทั้งหมด 10 วัน จะอยู่ที่ 10 ล้านชุด ตรงนี้จะแยกกันกับในส่วนที่จะแจกให้ประชาชน

อนึ่ง ในกรณีที่ตรวจด้วย ชุดตรวจ ATK แล้วพบว่าผลเป็นบวก สามารถติดต่อหน่วยบริการใกล้บ้านที่เคยไปรับบริการได้ หรือสายด่วน 1330 กด 14 อย่างไรก็ดีในขณะนี้เบอร์สายด่วนข้างหนาแน่น ฉะนั้น สปสช. ได้เพิ่มช่องทางการลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่การดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชน (Home-Community Isolation)

162762884259

 

  • ผู้ป่วยติดโควิด 'ไม่ได้เข้าระบบการรักษา' ทำอย่างไร

ขณะเดียวกัน สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยัง ไมไ่ด้เข้าระบบการรักษา 

1.ลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่การดูแลที่บ้าน (Home Isolation) https://crmhi.nhso.go.th/

2.กรณีลงทะเบียนแล้วแต่ยังไม่ได้รับการติดต่อกลับเกิน 48 ชั่วโมง https://crmsup.nhso.go.th/

3.กรณีผู้ติดเชื้อในพื้นที่ กทม.และปริมณฑลต้องการกลับไป รักษาที่ภูมิลำเนา ลงทะเบียนที่ https://crmdci.nhso.go.th/

4.ติดตามสถานการณ์ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระบบการดูแลที่บ้าน (Home Isolation) ที่ Line @nhso เลือกเมนูบริการเกี่ยวกับโควิด-19

หมายเหตุ ทั้ง 4 บริการ สามารถดูได้ที่ Line Official Account หรือไลน์ OA ของ สปสช. โดยเพิ่มเพื่อนผ่านไลน์ @nhso เลือกบริการเกี่ยวกับโควิด-19 เพื่อกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบได้เช่นกัน Line สปสช. คลิก