กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (27 ก.ค.64)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (27 ก.ค.64)

27-30 กรกฎาคม: แนวโน้มพักสร้างฐานต่อ

แรงกดดันจาก COVID-19 ยังสูงอยู่ แต่ downside ของตลาดน่าจะจำกัด

ในสัปดาห์ที่แล้ว (19-23 กรกฎาคม) ตลาดหุ้นไทยอยู่ในช่วงพักฐาน ซึ่งแม้ว่าสถานการณ์ COVID-19 จะยังคงรุนแรงมากขึ้น ทำให้มีการ lockdown กรุงเทพอย่างเต็มที่มากขึ้นตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม แต่ตลาดหุ้นยังยืนได้ค่อนข้างดี เพราะราคาหุ้นค่อนข้างถูกแล้วเมื่อพิจารณาในแง่ของ earnings yield gap (EYG) ในขณะที่ได้อานิสงส์จากการที่ตลาดหุ้นโลกฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง และราคาน้ำมันดิบดีดตัวขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ ผลประกอบการ 2Q64 ของธนาคารไทยส่วนใหญ่ออกมาดีเกินคาด แม้ว่าจะยังมีความท้าทายรออยู่ข้างหน้าใน 2H64 จากสถานการณ์โรคระบาดและ downside ของภาวะเศรษฐกิจ

สำหรับในสัปดาห์นี้ (27-30 กรกฎาคม) เราคาดว่าดัชนี SET จะยังคงแกว่งตัวอยู่ในช่วงแคบ ๆ

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศทำให้ประมาณการ GDP และกำไรของบริษัทจดทะเบียนมี downside ทั้งนี้ ตามที่เราได้ highlight เอาไว้ในบทวิเคราะห์กลยุทธ์ที่เผยแพร่ในวันนี้ ว่าเราได้ปรับลดเป้าดัชนี SET สิ้นปีนี้ลงเหลือ 1,650 จากเดิมที่ 1,750 เนื่องจากมองว่ากิจกรรมทางธุรกิจที่ชะลอตัว
ลงจะส่งผลกระทบกับ EPS แม้ว่าจะไม่ได้มีนัยสำคัญมากนัก ในขณะเดียวกัน การวิเคราะห์ EYG ทำให้เราพบว่า downside ของ SET อยู่ที่ 1,500 ซึ่งต่ำกว่าระดับปัจจุบันเพียง 3% เท่านั้น ดังนั้น ผู้เล่นในตลาดจึงอาจจะรอติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ อย่างเช่น การจัดสินใจของ Fed ในการ
ประชุมวันที่ 28 และตัวเลขเงินเฟ้อ PCE ในวันที่ 30 กรกฎาคม ทั้งนี้ ในสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยจะเปิดทำการซื้อขายเพียงสามวันเท่านั้น คือวันที่ 27, 29 และ 30

ปัจจัยสำคัญคือ สถานการณ์ COVID, การตัดสินใจของ FOMC และดัชนีเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐ

(-) ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 และ มาตรการ lockdown ยังคงเป็นปัจจัยหลักในตลาด เรามองว่ายอดผู้ติดเชื้อยังมีแววจะเร่งตัวขึ้นอีกในช่วงต้นเดือนสิงหาคม ถึงแม้ว่าโมเมนตั้มของการกระจายวัคซีนจะดูดีขึ้นเล็กน้อยในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของสายพันธุ์ delta และ ความสามารถในการรองรับผู้ป่ วยที่จำกัดอาจจะทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเร่งตัวสูงขึ้นอีก

(0/+) มีข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐ และเหตุการณ์สำคัญที่ต้องจับตาในสัปดาห์นี้ i) การตัดสินใจของ FOMC ในการประชุมวันพุธนี้ ซึ่งเราคาดว่า Fed จะยังคงมีท่าที dovish ต่อไป หลังจากที่เริ่มเห็นสัญญาณบางอย่างว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะแผ่วลงใน 2H64 ในขณะที่ราคาน้ำมันเริ่มปรับลดลงมาเล็กน้อย ii) การประกาศตัวเลขเงินเฟ้อ core PCE เดือนมิถุนายนของสหรัฐในวันศุกร์นี้ซึ่งเรามองว่า core PCE จะขยับขึ้นต่อ และเป็นระดับสูงสุดของวัฏจักรเงินเฟ้อรอบนี้เช่นเดียวกับ CPI เดือนมิถุนายนที่ประกาศออกมาก่อนหน้านี้

(0/-) นักลงทุนน่าจะติดตามความคืบหน้าในการพิจารณางบประมาณ และการจัดหาแหล่งเงินทุน สำหรับกฎหมายโครงการโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า 5.79 แสนล้านดอลลาร์ฯ โดยสภา congress ของสหรัฐ เมื่อไม่นานมานี้ พรรค Republican ยังคงปฏิเสธที่จะให้การสนับสนุนแผนการขึ้นภาษีนิติบุคคล ซึ่งทำให้สถานการณ์มีความยุ่งยากมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ทางด้านของพรรค Democrats ยังพยายามที่จะพ่วงแพ็คเกจเพิ่มเข้าไปในกฎหมายโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าจะผ่านความเห็นชอบของทั้งสองสภาได้ง่ายนัก

เรายังคงใช้กลยุทธ์เดียวกับสัปดาห์ก่อน คือยังแนะนำให้เน้นหุ้น alpha ต่อไป

เนื่องจากเรามองว่าสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศ และความเสี่ยงด้าน downside ของเศรษฐกิจจะทำให้ตลาดหุ้นไทย underperform ตลาดอื่น ๆ ต่อไปอีก เราจึงเชื่อว่าหุ้น big caps ทั่วไปจะยังปรับตัวได้ไม่ดีนักในระยะสั้น ดังนั้น เราจึงยังคงเน้นหุ้นกลุ่มที่เราแนะนำเอาไว้ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านๆ มา
อย่างเช่น i) หุ้นส่งออกหลักในกลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ และอาหาร (KCE*, HANA*, TU*, GFPT) ii) หุ้นกลุ่มโรงพยาบาลซึ่งผลประกอบการมีแนวโน้มจะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งใน 3Q64 (BCH*, BDMS*) iii) ธุรกิจที่จะได้อานิสงส์จากสถานการณ์โรคระบาด อย่างเช่น บริษัทที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์
(EPG*, SCGP*) และ iv) หุ้นรายตัวที่ผลประกอบการมีแนวโน้มแข็งแกร่งใน 2Q64 และ 2H64 อย่างเช่น BEC*