ทำไม 'การเว้นระยะห่างทางสังคม' Social Distancing ถึงทำร้ายสมอง?

ทำไม 'การเว้นระยะห่างทางสังคม' Social Distancing ถึงทำร้ายสมอง?

การเว้นระยะห่างทางสังคม ถ้าต้องอยู่ในสภาพนี้นานเกินควร ทำไมถึงสามารถคุกคามการพัฒนาสมองของมนุษย์ได้?

“การเว้นระยะห่างทางสังคม” คือการที่ต้องใช้เวลาอยู่คนเดียว ล่าสุดมีงานวิจัยทางด้านประสาทวิทยาศาสตร์ออกมาชี้ว่า ถ้าต้องทำสิ่งนี้นานเกินไป อาจไม่ใช่เรื่องที่ดี ต่อสมองของมนุษย์ทุกคน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนดู “การเว้นระยะห่างทางสังคมอาจเป็นภัยคุกคามการพัฒนาของมนุษย์ได้อย่างไร?”

มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นปัญหาของการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งอาจทำให้มนุษย์มีความกระตือรือร้นทางสังคมน้อยลง รวมถึงมีสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ด้วย จึงได้ทำการวิจัย-สำรวจถึงประเด็นปัญหานี้ขึ้น

โดยจากการสำรวจพบว่า ชาวอเมริกัน ผู้ใหญ่กว่า 36% และวัยรุ่นกว่า 61% รู้สึกเหงา โดดเดี่ยว และมีความต้องการที่จะเข้าสังคมอย่างมาก และในขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่ลงความเห็นไปในทางเดียวกันว่า “รู้สึกคับข้องใจที่จะกลับไปมีปฏิสัมพันธ์กันต่อหน้าต่อตา เช่นกัน ซึ่งปัญหาที่ตามมาภายหลังนี้เป็นปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นในความคิดเกือบทุกคน

162704074791

Credit: Unsplash

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยาได้อธิบายปัญหาการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เป็นปรากฎการณ์ไว้ ดังนี้ 

ปัญหาการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำไมถึงส่งผลกับสมอง?

1.มนุษย์มีความจำเป็นในการเข้าสังคม (ให้มีสมดุล)

คนเราทุกคนมีความต้องการเข้าสังคม สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ ก็เช่นกัน เพราะเมื่อได้ร่วมมือกันทำอะไรสักอย่าง หรือได้รับการคุ้มครองจากใครก็ตามที่มีอำนาจ ซึ่งการกระทำเหล่านี้เป็น “การรักษาเครือข่าย” หรือถ้าให้เรียกเข้าใจโดยง่าย สิ่งนี้คือ “การมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม” สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีชีวิตอยู่รอดในสังคมได้

นอกจากนี้ “การเข้าสังคมอย่างมีสมดุล ยังให้ประโยชน์ที่ดีด้วย หากน้อยเกินไปก็ไม่เป็นประโยชน์ และเข้าสังคมมากเกินไปก็เป็นโทษเช่นกัน ดังนั้นการมีสมดุลจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

ในขณะเดียวกัน สิ่งที่กำลังพูดถึงคือ “การเว้นระยะห่างทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนต้องเว้นระยะห่างกันเป็นเวลานานเกินไป ทำให้คนเกิดอาการขั้น “โหยหา” ในการเข้าสังคมอย่างมาก เพราะสิ่งที่กำลังเผชิญทุกวันนี้เป็น  หลักปฏิบัติปกติวิถีใหม่” ที่ผิดแปลกไปจากเดิมที่มีมาอย่างยาวนาน

2.สมอง “ไม่ควรเว้นระยะห่างทางสังคมนานเกินควร”

นักวิจัยได้ทำการหาสัตว์ทดลองที่มีวงจรสมองคล้ายคลึงกับมนุษย์มาเพื่อทดลองให้อยู่แบบ “เว้นระยะห่างทางสังคม” แบบมนุษย์ดู ผลปรากฎว่า “มีความวิตกกังวลและมีความเครียดมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในสัตว์ทดลองยังมี ฮอร์ดมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็น “ฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น” ด้วย

ผลกระทบเหล่านี้ได้คุกคามชีวิต ทำให้ “เกิดความสูญเสียการปกป้องตนเอง ซึ่งเป็นผลเสียที่มากกว่าการโดนปฏิเสธหรือการโดนกีดกันในสังคมอีก เพราะอย่างน้อยสองสิ่งที่กล่าวก็ยังเป็นการมีปฏิกิริยาจากการได้เข้าสังคม 

นอกจากนี้ “การเว้นระยะห่างทางสังคมที่นานเกินควร” ยังทำให้ความจำในการเข้าสังคมเสื่อมลงด้วย เช่น การจดจำใบหน้าที่คุ้นเคย บกพร่องการจดจำข้อมูลงาน การจำรายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ในกิจวัตรประจำวันข้างนอกบ้าน ความรู้-ความเข้าใจสิ่งต่างๆ ถดถอยลง เป็นต้น

3.สมอง สามารถกลับมาเชื่อมต่อสิ่งต่างๆ ได้เหมือนเดิม หากกลับมาเข้าสังคมอีกครั้ง

การกลับมาเข้าสังคมใหม่ในบางประเทศหรือบางพื้นที่ที่มีการคลายมาตรการล็อกดาวน์ลง ทำให้ผู้คนได้กลับมามีชีวิตในสังคมแบบแต่ก่อน สิ่งนี้ทำให้ความวิตกกังวล-ความเครียด ทุเลาลงได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการตื่นตัวทางสังคมมากกว่าเดิมด้วย เพราะไม่ได้เข้าสังคมมาเป็นเวลานาน 

ในพื้นที่ที่มีการคลี่คลายสถานการณ์โควิดให้ผู้คนกลับมาเข้าสังคมได้อีกครั้ง พบว่าส่วนมากผู้คนกลับมามีชีวิตชีวา สดใสเหมือนเดิม มากกว่าการแยกกักตัวในบ้านแต่ละบุคคล เพราะการคุยกันผ่านทางวีดิโอไม่สามารถทดแทนความรู้สึกเหมือนกับตอนที่คนได้เจอหน้าและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันจริงๆ

หมายเหตุ: งานวิจัยเรื่องนี้ทำการสำรวจออนไลน์กลุ่มคนชาวอเมริกัน จำนวน 950 คน ในช่วงเดือนตุลาคม 2563

อ้างอิง: FAST COMPANY, THE CONVERSATION, HARVARD.EDU

162704070292

Credit: Unsplash