ปศุสัตว์ ชี้โควิดดันยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ครึ่งปีแรกพุ่ง11%แตะ9.5หมื่นล้านบาท

ปศุสัตว์ ชี้โควิดดันยอดส่งออกสินค้าปศุสัตว์ครึ่งปีแรกพุ่ง11%แตะ9.5หมื่นล้านบาท

กรมปศุสัตว์ เผยสินค้าปศุสัตว์ส่งออกครึ่งปีแรกยังคงพุ่งแรงกว่า 11% มูลค่ากว่า 95,000 ล้านบาท ชี้ผลจากเข้มตรวจสอบโควิด ทำคู่ค้ามั่นใจขณะ และหลายประเทศคู่แข่งประสบปัญหาแรงงานติดเชื้อ

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์โควิด19ยังระบาดอย่างต่อเนื่องแต่ช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2564  ไทยยังส่งออกสินค้าปศุสัตว์1.04ล้านตัน เพิ่มขึ้น11%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามูลค่า9.5หมื่นบ้านบาทแบ่งเป็นส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป 5.1แสนตันเพิ่มขึ้น 2.2% มูลค่า 56,494 ล้านบาท สินค้ากลุ่ม Non-frozen เช่น ไข่และผลิตภัณฑ์ นมและผลิตภัณฑ์ น้ำผึ้งและผลิตภัณฑ์ รังนก ซุปไก่ และอื่นๆ 2แสนตัน  เพิ่มขึ้น 9% คิดเป็นมูลค่า 11,584 ล้านบาท และอาหารสัตว์เลี้ยง Petfood 3.3แสนตันเพิ่มขึ้น 28.7% คิดเป็นมูลค่า 26,922 ล้านบาท

  162694709956

              “กรมปศุสัตว์มีหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ ซึ่งในสถานการณ์เชื้อโรคโควิดระบาด นี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบดูแลการผลิตสินค้าปศุสัตว์อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง ในการป้องกันโรคระบาดโควิดไม่ให้ปนเปื้อนกับสินค้า ส่งผลให้การส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งสร้างเชื่อมั่นให้คู่ค้า. ในขณะที่ประเทศผู้ผลิตอื่นยังมีปัญหาแรงงานติดโควิด ไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่”

โดยมีมาตรการกำกับตรวจสอบดูแลความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่อาหารสัตว์ ฟาร์มมาตรฐาน GAP โรงฆ่าสัตว์และโรงแปรรูปที่ถูกสุขอนามัย มีมาตรการป้องกันโรคโควิดในโรงงาน และตรวจสอบประสิทธิภาพในการควบคุมความปลอดภัยอาหารอย่างเข้มงวด โดยมุ่งเน้น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านพนักงาน หรือผู้ที่ต้องสัมผัสอาหาร จะมีการเฝ้าระวังสุขภาพของตนเองและต้องผ่านการตรวจโรคโควิด-19 ก่อนเข้าปฏิบัติงาน

 

162694718472

162694722531

ด้านสถานที่ผลิต ให้รักษาความสะอาดเรียบร้อยตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิต (GMP) โดยมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช่ในการผลิตด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อในไลน์การผลิต และด้านสินค้า มีการตรวจสอบประสิทธิภาพในการควบคุมความปลอดภัยอาหารอย่างเข้มงวด

 

มีการเก็บตัวอย่างตรวจการปนเปื้อนเชื้อไวรัสโควิด-19 ในสินค้า อุปกรณ์ สิ่งแวดล้อม จุดสัมผัสและจุดเสี่ยงในอาคารผลิต เพื่อประกันการปลอดเชื้อ จากการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าตรวจจำนวน 2,690 ตัวอย่าง ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบการปนเปื้อนของเชื้อไวรัส

นอกจากนี้ยังกำกับดูแลกระบวนการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง (Pet food) เพื่อการส่งออก โดยครอบคลุมการขึ้นทะเบียนรับรองโรงงานผลิตอาหารสัตว์เพื่อการส่งออก (VCN.) ควบคุมคุณภาพมาตรฐานโรงงานให้มีระบบรับรองการปฏิบัติทางการผลิตที่ดี (GMP) และมีระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (HACCP) การตรวจสอบกระบวนการผลิต และการออกหนังสือรับรองสุขอนามัยสำหรับอาหารสัตว์เลี้ยง  โดยสอดคล้องตามข้อกำหนดและระเบียบของประเทศคู่ค้าเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ประเทศคู่ค้า