สร้างสุขภาคใต้ จับมือฝ่า ‘วิกฤติ’ ยุค New Normal

สร้างสุขภาคใต้ จับมือฝ่า ‘วิกฤติ’ ยุค New Normal

ในเวลานี้สถานการณ์การเกิดโรคไวรัสโคโรนา (Covid-19) อาจทำให้ความสุขแต่ละพื้นที่ลดน้อยถอยลงไป และทำให้ในบางพื้นที่อาจต้องเผชิญกับอุปสรรค ปัญหา ถึงขั้น “วิกฤติ”

ไม่เฉพาะเพียงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด 19” เท่านั้นที่ส่งผลกระทบต่อ วิกฤติ ทางสุขภาพ และการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ หากแต่ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่เป็นผลกระทบมาจากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี การก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล สังคมออนไลน์ ก็ได้ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนเช่นเดียวกัน

ซึ่งจากความเชื่อที่ว่า หนึ่งในแนวทางของการช่วยหาทางออกให้ประเทศไทยสามารถก้าวข้ามวิกฤตทางสุขภาพ และเดินหน้าสู่เป้าหมายใหม่ที่ท้าทายภายใต้สถานการณ์ชีวิตวิถีใหม่ (new normal) เพื่อเตรียมพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงมีทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์อยู่เสมอ ย่อมต้องมีพลังแห่งการเชื่อมโยงของภาคีเครือข่ายและการมีส่วนร่วมจะเป็นอีกหนึ่งพลังเสริมที่สำคัญในช่วงวิกฤติ ที่ช่วยให้ทุกคนก้าวข้ามทุกขีดจำกัด

ทำให้ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพพี่น้องชาวใต้ จึงมาร่วมกันวางทิศทางที่จะหนุนเสริมกระบวนการสานพลังของภาคีเครือข่ายสุขภาวะร่วมกัน ภายใต้กิจกรรมการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 กับหัวข้อสานงาน เสริมพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ภาคใต้แห่งความสุขในวิถี New Normalที่จัดขึ้นโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) และภาคีเครือข่าย ผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ โดยมีผู้ร่วมประชุมรวมกว่า 2,000 คน

162666811397

จากการจัดงานเวทีวิชาการครั้งนี้ มุ่งเน้นสนับสนุนการขับเคลื่อนงานของภาคีเครือข่ายสุขภาวะสร้างกระบวนการสานงาน เสริมพลังข้ามประเด็น ข้ามพื้นที่ ในประเด็นปัญหาสำคัญของพื้นที่ภาคใต้เป็นหลัก ซี่งในฐานะประธานในพิธีเปิด ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 กล่าวว่า ข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกิดขึ้นในเวทีนี้ จะเป็นแนวทางหนึ่งที่นำไปสู่เป้าหมายภาคใต้แห่งความสุข ใน 4 ประเด็นหลัก คือ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางมนุษย์ ซึ่งภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานจะต้องบูรณาการ เชื่อมร้อยกับทุกภาคส่วน ให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ปัญหาที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยใช้ทุนและกลไกที่มีในพื้นที่ เช่น กลไกกองทุนตำบล คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) กลไกสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด กลไกเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข กลไกเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) กลไกของคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ (อปสข.) และกลไกคณะทำงานพัฒนาองค์กรชุมชน หนุนเสริมและยกระดับการทำงานแบบข้ามเครือข่าย ข้ามพื้นที่ ข้ามประเด็น เพื่อพัฒนาภาคใต้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ความสุขของคนใต้อย่างยั่งยืน

เราต้องก้าวข้ามขีดจำกัดของปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ไม่เพียงเฉพาะสถานการณ์โควิด 19 แต่ยังรวมถึงสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ภัยพิบัติต่างๆ ทุกคนต้องใช้ความเข้มแข็งการรวมกันและความร่วมมือในชุมน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งเป็นจุดแข็งของท้องถิ่น การใช้กลไกผู้นำ และการจัดการข้อมูลเป็นกลไกสำคัญในการรับมือและจัดการขีดจำกัดเหล่านี้ ผ่านกลไกของรัฐ อาทิ พชอกขปเป็นต้น ซึ่งผมมั่นใจว่าถ้าเรารวมชุมชนได้ จะทำให้เราช่วยกันในการต่อสู้ หวังเป็นอย่างยิ่งคนใต้จะก้าวข้ามขีดจำกัด เสริมพลังในการจัดการเครือข่ายสุขภาพ

 

อีกหนึ่งหน่วยงานที่มียุทธศาสตร์เฉพาะเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพภาคีเครือข่ายต่อเนื่อง อย่าง สสส. ยอมรับว่าการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะของภาคใต้ทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การทำงานของ สสส. 10 ปี ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสสมีการจัดทำแผน 3 ปี ที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการดูแลกลุ่มพื้นที่เฉพาะอย่างเต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับการทำงานขยายโอกาสสร้างความยั่งยืน

โดย สสส.จะร่วมกับภาคีเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พร้อมแสวงหาการทำงานความร่วมมือ และผนึกกำลังแหล่งทุนในระดับพื้นที่ นำมาขยายโอกาสการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพให้เกิดการกระจายอย่างกว้างขวาง และครอบคลุมโจทย์ ปัญหาสุขภาวะของพื้นที่ โดยมีกลไกการสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพและการบริหารจัดการที่มุ่งผลลัพธ์

สสสพยายามผลักดัน สาน และเสริมงานที่ทุกภาคีให้เดินหน้าไปในทิศทางที่มีอยู่แล้วให้ไปถึงเป้าหมาย สิ่งหนึ่งที่เราใช้ไม่น้อยคือพลังสังคม ที่เกิดขึ้นผ่านเวทีเหล่านี้ ซึ่งเบื้องหลังยังมีงานวิชาการจำนวนมากมาหนุนเสริม เพื่อยกระดับเป็นกลไกหนึ่งของการทำงานสุขภาพ ที่กำลังขยับจากเรื่องสุขภาพไปสู่คุณภาพชีวิต และ Health System เพราะถ้าให้ สสสตั้งกลไกเองคงไม่มีความหมาย แต่เราเป็นพี่เลี้ยงกระตุ้นให้เกิดกลไกระดับพื้นที่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจไปสู่จังหวัดมากขึ้น

ซึ่งในงานด้านชุมชนจัดการตนเอง ผ่านชุมชนสุขภาวะ ปัจจุบัน สสสมีจำนวนที่เข้าร่วมเครือข่ายเกินกว่า 3,000 ตำบล ที่เป็นกลไกรับมือและเฝ้าระวังได้อย่างดีในช่วงวิกฤติ

นอกจากนี้ ปัจจุบัน สสส. มีกลไกสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบผ่านสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ” (ThaiHealth Academy) ที่ตั้งขึ้นตามระเบียบกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ .. 2563

เพื่อเป็นสถาบันพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาวะ ที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ มีภารกิจหลัก 3 ด้าน คือ

  1. งานพัฒนาหลักสูตร เช่น พัฒนาวิทยาการหลักสูตร กิจกรรมต่างๆ และพัฒนารูปแบบและช่องทางการเรียนรู้ เช่น อี-เลิร์นนิ่ง
  2. งานพัฒนาเครือข่ายและชุมชนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  3. งานจัดการความรู้และวิจัย เพื่อยกระดับมาตรฐานการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพผ่านการสำรวจ วิจัย หรือเทียบเคียง กับหน่วยงานหน่วยงานสร้างเสริมสุขภาวะในประเทศไทยและแนวทางปฏิบัติสากล

อีกหนึ่งมุมมองที่เชื่อว่าพลังแข็งแกร่งของภาคีสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง ปฏิภาณ จุมผา รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชนเอ่ยว่า การมีพื้นที่กลางเป็นกลไกการพัฒนาพลเมืองตื่นรู้ เพราะพลังแนวราบ พลังท้องถิ่น พลังภาคี พลังองค์กรชุมชน พลังเครือข่าย และองค์กรภาคีเป็นพลังสำคัญ ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการยกระดับพัฒนาไปสู่ในแนวดิ่ง

แนวคิด สสส. เป็นแนวคิดที่ดี ในการใช้ศักยภาพของพื้นที่ในการจัดการชุมชน เพราะการทำงานขับเคลื่อนพื้นที่ต้องอาศัยความร่วมมือหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ประชาสังคม มีความสำคัญทั้งสิ้น เห็นด้วยกับการใช้พื้นที่เป็นการจัดการชุมชนสุขภาวะ รวมถึงการจัดการความรู้ ทั้งในเรื่องที่เราทำและการจัดการเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงโลก มองว่าการใช้เวทีนี้จะเป็นปลั๊กอินในการ สิ่งต่างๆ เพื่อเข้าสู่ระดับนโยบายหรือโครงสร้างได้

 

สำหรับในการจัดงานครั้งนี้ ยังพบทั้งบทเรียนและข้อเสนอแนะจากการทำงานในพื้นที่และในกระบวนการนโยบายสาธารณะ นำไปสู่เกิดกระบวนการสร้างและขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายที่จะนำไปสู่ความมั่นคงทางสุขภาวะ 4 ด้าน คือ

  1. ความมั่นคงทางอาหาร
  2. ความมั่นคงทางสุขภาพ
  3. ความมั่นคงทางมนุษย์
  4. ความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งภาคีเครือข่ายได้นำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในหลายพื้นที่ของ 14 จังหวัดภาคใต้ สะท้อนถึงความคืบหน้าและ Road Map ของการขับเคลื่อนที่เกิดขึ้นจริง

เช่น กรณีประเด็นความมั่นคงทางอาหาร หนึ่งในบทเรียนสำคัญและน่าจับตามอง คือการเปลี่ยนสวนยางเชิงเดี่ยวให้เป็นการทำสวนยางเกษตรผสมผสาน โดยนำแนวทางการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะมีการปลูกพืชอื่น อาทิ ผลไม้ ผักปลอดภัย สลับกับการปลูกยางเพื่อลดต้นทุน ซึ่งประโยชน์ที่ได้ นอกเหนือจากการเพิ่มรายได้แล้ว ยังสามารถลดค่าใช้จ่าย ทั้งลดการพึ่งพารายได้จากสวนยางอย่างเดียว รวมถึงเป็นการส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่

โดยจากการที่ดำเนินการมาได้หนึ่งปี มีการเก็บข้อมูลเชิงลึกชาวสวนยางและข้อมูลแวดล้อม พบว่าเป็นการขับเคลื่อนที่จะตอบโจทย์มีการขับเคลื่อนในสี่มิติ คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

สวนยางยั่งยืน คือ การทำสวนยางแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นการนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้วใช้ให้คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว โดยสังคมและชุมชนต้องมีการช่วยเหลือร่วมมือกัน เพราะไม่สามารถที่จะเดินไปอย่างเดียวดาย ซึ่งเป้าหมายต่อไปคือ การร่วมกับสถาบันวิชาการหรือสถาบันวิจัยค้นคว้าพัฒนารูปแบบสวนยางผสมสาน ที่จะตอบสนองรูปเพื่อให้สวนยางยังยืนเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยและเป็นครัวของโลก ไปพร้อมกับการส่งเสริมให้ชุมชนหันมาสู่วิถีสวนยางยั่งยืนในแต่ละชุมชน

ขณะที่ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ จากการถอดบทเรียนพบว่า ปัจจัยที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องเกิดจากการบูรณาการ และความร่วมมือ การตั้งกติกาสังคม ที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้ แต่สิ่งสำคัญคือการต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม การลดภาวะต่างคนต่างทำคือ ศักยภาพที่ชุมชนมี และเป็นกลไกที่สร้างความเข้มแข็ง  

นอกจากนี้ หลายฝ่ายมองว่าการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตัวเองจะช่วยแก้ปัญหาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) โดยประชาชนต้องเป็นเจ้าภาพหลักของสุขภาพและเป็นเจ้าของสุขภาพของตัวเอง บทบาทของภาครัฐเอกชนและวิชาการแค่ไปหนุนเสริม แต่ประชาชนต้องดูแลครอบครัวครอบครัวชุมชนได้เอง

162666883292

รวมถึงอาจนำเอาหลักศาสนา ผู้นำศาสนามาเป็นเครื่องมือร่วมในการขับเคลื่อนและการสื่อสารการทำงานด้านสุขภาพในระดับพื้นที่ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพดีมาก โดยอีกบทเรียนหนึ่งที่เรียนรู้จากการดำเนินงานที่ผ่านมา คือความรู้ความเข้าใจของคนในสังคม เป็นปัจจัยที่ควรเพิ่มให้มากกว่านี้ เพราะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและถูกต้อง มีความสำคัญ อยากให้ส่งเสริมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ หรือ Health Literacy จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนางานด้านสุขภาพในพื้นที่

สำหรับข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับผู้บริหารองค์กร สสส. ในการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งนี้ เน้นสร้างรูปธรรมขับเคลื่อนข้อเสนอให้เกิดการนำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และใช้กลไกที่มีอยู่ในพื้นที่ให้เกิดการสานพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด ยกระดับสุขภาวะคนใต้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเสนอให้ สสส. มีบทบาทหนุนเสริมการทำงานของภาคีเครือข่าย อาทิ กระบวนการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น สนับสนุนกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพิ่มขีดความสามารถ นอกจากนี้ ควรเป็นกลไกกลางประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านสุขภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานด้านสุขภาพในระดับจังหวัด โดยจัดตั้งกองทุนเพื่อสร้างเสริมสุขภาพระดับจังหวัด ดำเนินการด้านการกระจายอำนาจด้านการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด เพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาและบริบทของพื้นที่

บทสรุปสุดท้ายจากเสียงส่วนใหญ่ของเหล่าภาคีในงานนี้ ยังสะท้อนถึงความต้องการการกระจายอำนาจสู่ระดับพื้นที่ และบทบาทที่ชัดเจนมากขึ้นของกลไกระดับชุมชน ด้วยวความเชื่อว่าชุมชนมีศักยภาพเพียงพอที่จะสร้างความแข็งแกร่งและจัดการตนเองได้ด้วยชุมชนเอง และจะเป็นอาวุธที่สำคัญให้ชุมชนสามารถต่อสู้ฝ่าฟันกับทุกวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่คนไทยทุกพื้นที่ยังคงต้องใช้ชีวิตไปกับการเฝ้าระวังโรค โควิด 19 โดยไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่

162666890010