การเปลี่ยนแปลงทางการตลาด      ปิโตรเคมีสู่เทคโนโลยีดิจิทัล

ปิโตรเคมีมีบทบาทในการทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนายารักษาโรคและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่ทำมาจากพลาสติก รวมทั้งภาคการผลิต ภาคการเกษตร อุตสาหกกรรมปิโตรเคมีเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี)

ปิโตรเคมีมีบทบาทในการทดแทนวัสดุจากธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนายารักษาโรคและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่ทำมาจากพลาสติก รวมทั้งภาคการผลิต ภาคการเกษตร อุตสาหกกรรมปิโตรเคมีเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ที่มีแผนพัฒนาสู่การเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชั้นนำด้วยกำลังการผลิตอันดับหนึ่งในห้าของทวีปเอเซีย มูลค่าการลงทุนกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นฐานการผลิตพลาสติก ยางและโพลิเมอร์สำหรับอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า 

อย่างไรก็ตาม ในหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจปิโตรเคมีอย่างมาก ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างเป็นแบบครบวงจรมากขึ้น  2. การเปลี่ยนแปลงในเชิงธุรกิจ การควบรวมกิจการ  3. การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์ ตลาดและประชากร 4. การเปลี่ยนแหล่งวัตถุดิบหลัก

 คำถามคือจากปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลง ความท้าทายและความเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น ผู้ผลิตปิโตรเคมีของไทยจำเป็นจะต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อความอยู่รอดและรักษาตำแหน่งทางการตลาดตลอดจนรักษาสถานะทางการแข่งขันไว้ให้ได้ โดยจะเห็นได้ว่าผู้ผลิตส่วนใหญ่ในไทยได้มีการปรับตัวไปแล้วระดับหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการนำระบบการปฏิบัติการที่เป็นเลิศมาใช้ในฝ่ายการผลิตสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ระดับหนึ่ง หากแต่การตลาดยังต้องการการปรับตัวอีกพอสมควรเพื่อเข้าสู่ยุคการตลาด 4.0

จากการศึกษาของบริษัท ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ พบว่าบริษัทในธุรกิจปิโตรเคมีทั่วโลกได้ลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลด้วยเม็ดเงิน5 % ของรายได้ในระยะ 5 ปีข้างหน้าและหนึ่งในสามของบริษัททั่วโลกได้เข้าถึงและใช้งานของเทคโนโลยีดิจิทัลในมิติของการผลิตการตลาดและการจัดการองค์กร โดยการเติบโตของบริษัทในธุรกิจปิโตรเคมีนั้นจะไม่ขึ้นกับปริมาณอีกต่อไป 

จากของความอ่อนแอของตลาด การนำผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่จึงส่งผลต่อการขายสินค้าใหม่ ทำให้ความต้องการลดลงเป็นลำดับ แนวโน้มการเติบโตด้วยวัสดุใหม่ ๆ เช่น ไบโอโพลิเมอร์ หรือ โพลิเมอร์ชีวภาพ ผลที่ตามมาทำให้บริษัทในธุรกิจปิโตรเคมีต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การขาย เช่น การนำเสนอลูกค้า การกำหนดราคา ซึ่งหากนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการวิเคราะห์ เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าและบริการ รวมทั้งการออกแบบ การแก้ปัญหาเชิงรุกให้กับลูกค้าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มกำไรได้5% ของรายได้

นอกจากนี้การตลาดและการขายด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในสหรัฐและยุโรป พบว่าเทคโนโลยีดิจิทัลสามารถทำให้บริษัทผู้ผลิตเคมีภัณฑ์สามารถสร้างมูลค่าใหม่ได้มากกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์ โดยการลดค่าใช้จ่ายในการให้บริการ ปรับปรุงเรื่องราคาและการตอบสนองต่อลูกค้าที่รวดเร็วและการเติบโตแซงหน้าคู่แข่ง อันเนื่องมาจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง โดยพบว่า บริษัทเคมีภัณฑ์ในปัจจุบันไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าตลาดด้วยวิธีแบบเดิมได้อีกต่อไป เนื่องจากถูกครอบงำตลาดด้วยผู้ประกอบการรายใหญ่ที่มีกำลังการผลิตมากกว่า จึงมีความได้เปรียบจากขนาดกำลังการผลิต ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลจะสามารถสร้างมูลค่าใหม่และมองเห็นโอกาสเติบโตเหนือคู่แข่งเหล่านั้นได้ การใช้แนวทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการทำการตลาดและการขายเพื่อลดต้นทุนให้บริการและปรับปรุงการกำหนดราคานั้นคุ้มค่า สามารถสร้างรายได้ใหม่ ลูกค้าใหม่ ตลาดใหม่ ซึ่งอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์นั้น ยากที่บุคคลทั่วไปหรือผู้เล่นจากธุรกิจดิจิทัลจะเข้ามาในธุรกิจได้เนื่องจากลงทุนสูงและมีกฎระเบียบภาครัฐมากมายกำกับอยู่ จึงเป็นโอกาสของผู้เล่นเดิม โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในเรื่อง ช่องทางการขาย การจัดทำแพลตฟอร์มคลังสินค้าออนไลน์สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และใช้การวิเคราะห์ขั้นสูง รวมถึงการใช้เครื่องจักรที่เรียนรู้ได้ เพิ่มระบบอัตโนมัติและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกระบวนการที่เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เพื่อเพิ่มการเติบโตและการทำกำไร