กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (28 มิ.ย.64)

กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (28 มิ.ย.64)

28 มิ.ย. – 2 ก.ค. สลับไปพักที่หุ้นขนาดกลางและเล็กก่อน

ตลาดหุ้นไทยยังมีโอกาสลดลงต่อ และ underperform ตลาดหุ้นโลก

ในสัปดาห์ที่แล้ว (21-25 มิถุนายน) ดัชนี SET เกิด correction อย่างชัดเจน และปรับลดลงไปมากกว่าที่เราคาดเอาไว้ เนื่องจากมีปัจจัยลบที่อยู่เหนือความคาดหมายทั้งภายนอกและภายใน โดยในการประชุมวันที่ 16 มิถุนายน Fed ได้ปรับประมาณการ GDP และเงินเฟ้อใหม่ พร้อมทั้งส่งสัญญาณว่าอาจจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดเอาไว้ก่อนหน้านี้ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ฯ พุ่งขึ้นในระยะสั้น และเกิดกระแสrisk aversion รอบใหม่ขึ้นมา ปัจจัยนี้สร้างแรงกดดันด้านลบให้ตลาดไปสองสามวันก่อนที่ตลาดจะเริ่มกลับสู่เสถียรภาพอีกครั้ง นอกจากนี้ สถานการณ์ COVID-19 ใยประเทศไทยก็รุนแรงมากขึ้นอีก และกดดันธีมการท่องเที่ยว และการเปิดประเทศ โดยยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ใหม่รายวันพุ่งขึ้นไปเกิน 4,000 ราย และยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ทำให้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในกรุงเทพอาจะประสบปัญหาเตียงผู้ป่วยไม่พอรองรับ ทั้งนี้ การที่กนง. ปรับลดประมาณการ GDP ปี 2564 ลงจากเดิม 3.0% เหลือ 1.8% ยังเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะตลาดอีกทางหนึ่งด้วย

สำหรับแนวโน้มในสัปดาห์นี้ ความไม่แน่นอนของแนวโนมนโยบายของ Fed และที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศที่รุนแรงมากขึ้นน่าจะยังเป็นปัจจัยที่กดดัชนี SET ต่อไปในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า เราคาดว่าดัชนี SET น่าจะพักฐาน หรือปรับลดลงอีกเล็กน้อย แต่มองว่า downside น่าจะจำกัด เพราะการออกเกณฑ์คุมเข้มรอบล่าสุดยังไม่ถือเป็นการ lockdown เต็มรูปแบบ ซึ่งในช่วงระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 15 พฤษภาคม ซึ่ง ศบค. ใช้มาตรการคล้าย ๆ กันนี้ ดัชนี SET ปรับลดลงไปเพียง 2% เท่านั้น ในขณะเดียวกัน ตั้งแต่หน้า 2 ของบทวิเคราะห์ฉบับนี้ เราจะฉายให้เห็นการวิเคราะห์ผลกระทบของหุ้นแต่ละกลุ่มจากเกณฑ์คุมเข้มใหม่นี้ สำหรับทางด้านของสหรัฐ ตัวเลขเงินเฟ้อดูเหมือนจะถึงระดับสูงสุดแล้ว และมีแนวโน้มลดลงในระยะต่อไป ซึ่งจะช่วยคลายความกังวลของตลาดเกี่ยวกับจังหวะเวลาที่ Fed จะลดขนาด QE และขึ้นดอกเบี้ย ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีการประกาศอัตราเงินเฟ้อ core PCE เดือนพฤษภาคมของสหรัฐที่ 3.4% YoY ซึ่งเป็นไปตาม consensus

ติดตามสถานการณ์ COVID-19 ในไทย, การตัดสินใจของ OPEC และตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคสหรัฐ

(0) สถานการณ์ COVID-19 และโมเมนตั้มการกระจายวัคซีนในประเทศไทย ในช่วงหลายวันที่ผ่านมายอดผู้รับวัคซีนรายวันลดลงเหลือประมาณ 200,000 ราย จาก 350,000 รายในสัปดาห์แรกที่เริ่มแคมเปญกระจายวัคซีน ซึ่งหากใช้สมมติฐานว่าวัคซีน AstraZeneca ที่ผลิตภายในประเทศสามารถส่งมอบได้ตามกำหนดในเดือนกรกฎาคม เราเชื่ว่าโมเมนตั้มการกระจายวัคซีนน่าจะดีขึ้นจากในปัจจุบัน

(0) การประชุม JMMC ของกลุ่ม OPEC ในวันที่ 1 กรกฎาคม ผลการประชุม JMMC ของกลุ่ม OPEC จะส่งผลต่อตลาดน้ำมันโลก เพราะ OPEC อาจจะเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบ หรือส่งสัญญาณการปรับผลผลิตน้ำมันดิบในอนาคตใหม่หลังจากเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของอุปสงค์ในช่วงที่ผ่านมา

(0) ตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคสหรัฐที่สำคัญในเดือนมิถุนายน ในสัปดาห์นี้ สหรัฐจะรายงานตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคที่สำคัญหลายตัวออกมา อย่างเช่น ดัชนีการผลิต ISM เดือนมิถุนายน และรายงานการจ้างงานรายเดือน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะเป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐใน 2Q64 และอาจจะเป็นสิ่งที่แสดงสัญญาณแนวโน้มการปรับนโยบายในระยะต่อไป

การซื้อขายในสัปดาห์นี้: เน้นหุ้นส่งออก, โรงพยาบาล และบรรจุภัณฑ์

เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคของทั้งโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่ ในขณะที่การเก็งกำไรจากธีม reopening ของไทยก็เผชิญความท้าทายจากสถานการณ์ COVID-19 ในกรุงเทพที่ยังรุนแรงอยู่ เราจึงมองว่าเหลือหุ้นให้เลือกลงทุนได้เพียงไม่กี่กลุ่ม สำหรับในระยะสั้น เรามองว่าหุ้นส่งออก และหุ้นที่จะได้อานิสงส์จากสถานการณ์ COVID-19 ดูน่าสนใจ โดยในส่วนของหุ้นส่งออกนั้น เงินบาทที่อ่อนค่าลง และการส่งออกที่เร่งตัวขึ้นในช่วงนี้จะช่วยหนุนสภาวะการซื้อขายหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์และอาหารแปรรูปบางตัว อย่างเช่น HANA*, KCE*, SAT และ TU ในขณะเดียวกัน เรามองว่าหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลยังดูน่าสนใจ โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดกลาง และโรงพยาบาลระดับกลาง ซึ่งจะได้อานิสงส์จากการตรวจ COVID และการนำเข้าวัคซีนทางเลือก ซึ่งกลุ่มนี้เราชอบ BCH* และ CHG*  สำหรับกลุ่มบรรจุภัณฑ์ เราชอบ SCGP* และ EPG* ซึ่งน่าจะได้แรงหนุนจากการประกาศคุมเข้มรอบล่าสุดซึ่งจะทำให้อุปสงค์ของบริการจัดส่งสินค้า delivery เพิ่มขึ้น