เปิดชื่อ 41 'แคมป์ก่อสร้าง' ปม ‘โควิด’ ระบาดกทม.

เปิดชื่อ 41 'แคมป์ก่อสร้าง' ปม ‘โควิด’ ระบาดกทม.

ขณะนี้ กทม. มี 'แคมป์ก่อสร้าง' ที่พบการระบาดกว่า 41 แห่ง กระทั่งรัฐขอความร่วมมือเอกชน 'ปิดแคมป์ก่อสร้าง' สกัดโควิด คุมคนงานอยู่ในพื้นที่ พร้อมรับผิดชอบดูแลอาหาร -เยียวยาแรงงานจ่ายค่าจ้าง 50% ทุกๆ 5 วัน ตลอดช่วง 1 เดือน เพื่อควบคุมการระบาด

ในที่สุดรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็ได้ตัดสินใจที่จะไม่ ‘ล็อกดาวน์’ แต่เปลี่ยนเป็นการ ’ปิดเฉพาะจุด เช่น‘แคมป์คนงาน’เป็นเวลา 1 เดือน ทั้งในเขต กทม.-ปริมณฑล และ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสงขลา เ้พื่อสกัดการแพร่ระบาดโควิด-19 โดยให้‘โรงงาน’ประกอบกิจการได้ แต่ต้องมีมาตรการ Bubble & Seal และ ในบาง ‘โรงงาน’ ที่ควบคุมไม่ได้ก็ต้องปิด

ในช่วงที่ 'ปิดแคมป์ก่อสร้าง' รัฐบาลจะดูแลอาหาร และมีมาตรการเยียวยาให้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ซึ่งเป็นการชดเชยเยียวยากรณีว่างงาน เพราะเหตุสุดวิสัย เนื่องจากถูกปิดตามคำสั่ง ศบค. ซึ่งในเบื้องต้น กระทรวงแรงงานจะทำรายการจ่ายเงินสดให้คนงานที่แคมป์ทุกๆ 5 วัน ตลอดช่วง 1 เดือน ตามรายชื่อที่นายจ้างรับรองวันต่อวัน ตลอดระยะเวลาที่มีการปิดแคมป์จะมีระบบตรวจสอบว่าแรงงานที่จะได้รับการเยียวยานั้น จะต้องอยู่ในแคมป์จริงๆ

 

“คนงานจะต้องอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดไว้ เนื่องจากที่ผ่านมาแคมป์คนงานก่อสร้างเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อที่พิสูจน์ทราบได้ โดยกระทรวงแรงงานจะเข้าตรวจสอบเช็คชื่อคนงานทุกวันเพื่อทำบัญชีค่าจ้างร่วมกับตัวแทนนายจ้าง หากลูกจ้างคนใดไม่อยู่ในแคมป์ก็จะพิจารณาอีกทีเป็นรายๆ ไป เพราะการจ่ายค่าจ้างนั้นอยู่ที่นายจ้างต้องรับรองด้วย”

มาตรการ 'ปิดแคมป์ก่อสร้าง' จะดำเนิการได้ผลดีหรือไม่นั้น จึงขึ้นอยู่นายจ้างแคมป์นั้นๆด้วย

  • ข้อมูลฝ่ายประชาสัมพันธ์กรุงเทพมหานครเผยแพร่ว่าในพื้นที่กทม.50 เขตมีแคมป์คนงานจำนวน 447 แห่งเขต “บางรัก” มากที่สุด 28 จุดดังนี้

1.พระนคร 8 แห่ง

2.ดุสิต 1 แห่ง

3.ป้อมปราบฯ ไม่มี

4.สัมพันธวงศ์ 2 แห่ง

5.พญาไท 11 แห่ง

6.ห้วยขวาง 22 แห่ง

7.ดินแดง 3 แห่ง

8.ราชเทวี 12 แห่ง

9.วังทองหลาง 8 แห่ง

10.หนองจอก 17 แห่ง

11.บางกะปิ 18 แห่ง

12.มีนบุรี 4 แห่ง

13.ลาดกระบัง 10 แห่ง

14.บึงกุ่ม 9 แห่ง

15.ประเวศ 17 แห่ง

16.คันนายาว 6 แห่ง

17.สะพานสูง 12 แห่ง

18.คลองสามวา 7 แห่ง

19.บางรัก 28 แห่ง

20.ปทุมวัน 5 แห่ง

21.พระโขนง 4 แห่ง

22.ยานนาวา 12 แห่ง

23.สาทร 6 แห่ง

24.บางคอแหลม 6 แห่ง

25.คลองเตย 7 แห่ง

26.สวนหลวง 10 แห่ง

27.วัฒนา 15 แห่ง

28.บางนา 8 แห่ง

29.บางเขน 12 แห่ง

30.บางซื่อ 6 แห่ง

31.จตุจักร 10 แห่ง

32.ลาดพร้าว 22 แห่ง

33.ดอนเมือง 11 แห่ง

34.หลักสี่ 6 แห่ง

35.สายไหม 12 แห่ง

36.บางขุนเทียน 9 แห่ง

37.ภาษีเจริญ 6 แห่ง

38.หนองแขม 8 แห่ง

39.ราษฎร์บูรณะ 2 แห่ง

40.บางแค 5 แห่ง

41.ทุ่งครุ 15 แห่ง

42.บางบอน 4 แห่ง

43.ธนบุรี 6 แห่ง

44.บางกอกใหญ่ 3 แห่ง

45.คลองสาน 4 แห่ง

46.ตลิ่งชัน 9 แห่ง

47.บางกอกน้อย 6 แห่ง

48.บางพลัด 8 แห่ง

49.จอมทอง 7 แห่ง

50.ทวีวัฒนา 8 แห่ง

162471646720

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

  • ‘แคมป์คนงาน’ ระบาดหนัก

ทั้งนี้ เหตุผลที่ต้องเน้นย้ำในเรื่องของ ‘แคมป์คนงาน’ เนื่องจากปัจจุบัน กทม. ซึ่งมีคลัสเตอร์กระจายกว่า 107 แห่ง (ข้อมูล 26มิ.ย) ในจำนวนนี้มีกว่า 36 คลัสเตอร์ ที่เป็น‘แคมป์คนงาน’กระจายในหลายเขต อาทิ จตุจักร บางซื่อ หลักสี่ ดินแดง พญาไท ราชเทวี ห้วยขวาง บางกะปิ ลาดกระบัง คันนายาว คลองสามวา คลองเตย บางนา บางรัก ปทุมวัน ยานนาวา วัฒนา สวนหลวง บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ดอนเมือง ลาดพร้าว จตุจักร และบางคอแหลม โดยพบคลัสเตอร์ใหม่ได้แก่ แคมป์คนงาน ถนนพระยาสุเรนทร์ , แคมป์ก่อสร้าง ย่านคู้บอน , แคมป์ก่อสร้าง ย่านพัฒนาการ 32 เขตสวนหลวง

ที่ผ่านมา พบว่า ‘แคมป์คนงาน’ มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกรณี ‘แคมป์คนงาน’ หลักสี่ ที่พบการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) กระทั่งกลายเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายกังวลว่า สายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) จะกลืนสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) และครองเมืองไทยในอนาคตกทม. มีความพยามในการสั่งปิด พร้อมซีล‘แคมป์คนงาน’ก่อสร้าง อาทิ Seal แล้วปิด แคมป์ก่อสร้าง One 9 Five หลังพบผู้ป่วยกว่า พบผู้ติดเชื้อ 349 ราย โดยทำการแยกผู้ป่วยออก ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้ทำงานได้ หรือ ปิด‘แคมป์คนงาน’บริษัท ฤทธา หลังพบผู้ติดเชื้อ 36 ราย เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา

นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัญหาที่พบ คือ คนงาน ที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยงอย่าง กทม. และจังหวัดใกล้เคียงที่มีการระบาดคลัสเตอร์ 'แคมป์คนงาน' เดินทางกลับภูมิลำเนา นำมาซึ่งการกระจายเชื้อไปสู่ต่างจังหวัด เช่น จ.ชัยภูมิ ที่ตรวจพบติดโควิด-19 มากกว่า 20 ราย เมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา และกระจายอยู่ในหลายพื้นที่กว่า 6 อำเภอทั้งในเขต อ.เมืองชัยภูมิ , คอนสวรรค์ , แก้งคร้อ , เกษตรสมบูรณ์ , บ้านแท่น และ อ.ภูเขียว

162471646722

  • คลัสเตอร์ ‘โรงงาน’ 14 แห่งในกทม.

นอกจากนี้ จากรายงานของ ศบค. วันที่ 26มิ.ย. พบว่า ในพื้นที่กทม. ที่มีคลัสเตอร์กระจาย 107 แห่ง พบว่า มีคลัสเตอร์โรงงาน ราว 14 แห่ง ได้แก่ โรงงานทำลูกชิ้น ย่านวงเวียน 22 , โรงงานกรีนสวิลด์ , โรงงาน Honda , โรงงาน CPF โรงงาน นาโอะ โกลเบิล , โรงงานเย็บผ้า ซ.ประดู่ 1 , โรงงานทำจิวเวลรี่ คลองสาน , โรงงานเย็บผ้า ซ.เพชรเกษม 47/2 , โรงงานฮงเส็งการทอ , โรงงานเย็บผ้า CPG Garment , โรงงานเย็บผ้า ยานนาวา , โรงงานรับตัดเย็บผ้าไม่มีชื่อ กรุงธนใต้ , โรงงานเย็บผ้า ฟิวเตอร์การ์เม้น และ โรงงานผลิตรองเท้า เขตบางบอน

  • คลัสเตอร์เฝ้าระวัง 107 แห่ง ในกทม. (26 มิ.ย. 64)

กรุงเทพเหนือ

จตุจักร

1.แคมป์ที่พักคนงาน บ.ทีฆา (M)

2.แคมป์ที่พักคนงาน ซ.วิภาวดี 20 (S)

3.บริษัท เอเอจี อินเทลลิเจนท์ จ ากัด (S)

บางซื่อ

4.แคมป์ที่พักคนงาน JWS (S)

บางเขน

5.ตลาดยิ่งเจริญ (M)

6.สถานดูแลผู้สูงอายุ(S)

หลักสี่

7.แคมป์ก่อสร้างวรสิษฐ์ (S)

กรุงเทพกลาง

ดินแดง

8. ตลาดห้วยขวาง (M)

9.แฟลตดินแดง/ตลาดศรีวานิช (M)

10.แคมป์ก่อสร้างพรพระนคร (M)

11.บ.ประยุกต์สปอร์ต ซัพพลาย (S)

ดุสิต

12.สี่แยกมหานาค/สะพานขาว/ตลาดผลไม้ (L)

13.ตลาดเทวราช (เทเวศร์) (S)

ป้อมปราบฯ

14.ตลาดคลองถม/เสือป่า/วงเวียน 22/วรจักร/โบ้เบ้ (L)

15. โรงงานทำลูกชิ้น ย่านวงเวียน 22 (S)

พระนคร

16.ตลาดปากคลองตลาด (M)

พญาไท

17.แคมป์ก่อสร้าง ถ.อินทรามระ (S)

18.แคมป์วัดไผ่ตัน (M)

ราชเทวี

19.ชุมชนซอยเพชรบุรี 18 (M)

20.แคมป์เดอะ ยูนิคอร์น บ.ยูนิเทค คอนสตรัคชั่น (M)

21.ชุมชนเพชรบุรี ซอย10/ซอยหลังโรงเรียนกิ่งเพชร (M)

22.ย่านการค้าประตูน้ า (S)

23.ชุมชนริมคลองสามเสน/แฟลตรถไฟมักกะสัน (S)

24. ชุมชนบ้านครัวเหนือ (S)

สัมพันธวงศ์

25.ตลาดสำเพ็ง (M)

26. ตลาดเก่าเยาวราช/เยาวราช/และชุมชนใกล้เคียง (M)

ห้วยขวาง

27.แคมป์ก่อสร้าง One 9 Five (M)

28.แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย (S)

29.แคมป์ก่อสร้าง Syntec ถ.ก าแพงเพชร 7 (S)

30.แคมป์ที่พักคนงาน ถ.เพชรพระราม แยก 9 (M)

วังทองหลาง

31.ตลาดลาดพร้าว สะพานสอง (S)

กรุงเทพตะวันออก

บางกะปิ

32.ตลาดบางกะปิ/เดอะมอลล์บางกะปิ (L)

33.แม็คโครลาดพร้าว (S)

34.เคหะคลองจั่น (S)

35.แคมป์ก่อสร้างพรพระนคร รามคำแหง ซอย 7 (S)

36.แคมป์ก่อสร้าง ซ.รามคำแหง 7 (M)

ประเวศ

37.บ.มณีอุดมสุข (S)

38.ตลาดบุญเรือง (S)

ลาดกระบัง

39.โรงงานกรีนสวิลด์ (M)

40.โรงงาน HONDA (S)

41.แคมป์ที่พักคนงาน ซ.ร่มเกล้า 1 (S)

หนองจอก

42.โรงงาน CPF (S)

คันนายาว

43. แคมป์คนงาน บ.ชิโนทัย (S)

44. ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ถ.นิมิตใหม่ (S)

คลองสามวา

45. แคมป์คนงาน ถ.พระยาสุเรนทร์ (S)

46. แคมป์ก่อสร้าง ย่านคู้บอน (S)

กรุงเทพใต้

คลองเตย

47.ตลาดคลองเตย/ชุมชนแออัด (L)

48.แคมป์ที่พักคนงาน ซ.สุขุมวิท 24 (S)

49.แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย ซ.ไผ่สิงห์โต (L)

บางนา

50.โรงเรียนทหารแห่งหนึ่ง (M)

51.แคมป์ก่อสร้าง บ.ซิโน-ไทย (S)

52. แคมป์ก่อสร้าง บริษัทจอมธกล (S)

162471646688

 

บางรัก

53.แคมป์ก่อสร้างฤทธา (S)

54.ชุมชนบนถนนสีลม (M)

55.ตลาดซอยละลายทรัพย์ (S)

56.แคมป์ก่อสร้าง สีลม ซอย 9 (M)

ปทุมวัน

57.แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลี่ยนไทย (M)

58.แคมป์โปโล (M)

59.กลุ่มห้างวันสยาม (M)

60.ชุมชนวัดบรมนิวาส (M)

61.ไซต์งานก่อสร้าง ย่านสยามสแควร์

พระโขนง

62.โรงงานนาโอะ โกลเบิล (S)

ยานนาวา

63.อาคารส านักงานให้เช่าไม่มีชื่อ (S)

64.แคมป์ที่พักคนงาน บ.ฤทธา (S)

65.แคมป์ที่พักคนงาน พรีบิวด์(S)

วัฒนา

66.แคมป์ก่อสร้างพรพระนคร (S)

67.ชุมชนมาชิม (S)

68.ชุมชนเฉลิมอนุสรณ์ (S)

69.แคมป์ที่พักคนงาน JWS (J155และJ181) (M)

สวนหลวง

70.แคมป์ก่อสร้าง บ.ซิโน-ไทย หัวหมาก (M)

71.ชุมชนหัวป่า (S)

72. แคมป์ก่อสร้าง ย่านพัฒนาการ 38 (M)

73. แคมป์ที่พักคนงาน ซ.อ่อนนุช 17 แยก 6 (M)

บางคอแหลม

74. โรงงานเย็บผ้า ซ.ประดู่ 1 (S)

กรุงธนเหนือ

คลองสาน

75.ตลาดเงินวิจิตร (S)

76.โรงงานทำจิวเวลรี่ (S)

ธนบุรี

77.ร้านผลิตและขายส่งขนมกุยช่าย ซ.เทิดไท 21 (S)

บางกอกน้อย

78.ตลาดศาลาน้ำร้อน (M)

79.แคมป์ก่อสร้าง ซ.จรัญสนิทวงศ์28/2 (M)

บางกอกใหญ่

80.แคมป์ที่พักคนงาน ถ.เพชรเกษมสายเก่า (S)

กรุงธนใต้

บางแค

81.บ.คาสเชอร์ฟีค (M)

82.สมอทองการ์เมนท์(S)

83. โรงงานเย็บผ้า ซ.เพชรเกษม 47/2 (S)

84. บ.จำหน่ายพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ภาชนะ (S)

ราษฎร์บูรณะ

85.โรงงานฮงเส็งการทอ (M)

ภาษีเจริญ

86.โรงงานเย็บผ้า CPG Garment (S)

บางขุนเทียน

87. บริษัทผลิตหมวกกันน็อค (M)

88. บ.ผลิตถังแก๊สปิโตรเลียม (S)

89. บ.ขนมขบเคี้ยว (S)

90.บ.ผลิตและจำหน่ายเครื่องส าอาง (S)

บางบอน

91. บ.ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป (S)

92. โรงงานผลิตรองเท้า (M)

กลุ่มเฝ้าระวัง (Cluster ที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ใน 14 วัน)

กรุงเทพเหนือ

ดอนเมือง

93.แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย (S)

ลาดพร้าว

94.อพาร์ทเม้นท์ทิวสน (S)

95.โฮมโปร เอกมัย-รามอินทรา (S)

96.แคมป์ก่อสร้าง บ.ชิโน-ไทย (S)

บางซื่อ

97.โกดังสินค้าให้เช่าไม่มีชื่อ (S)

จตุจักร

98. แคมป์ที่พักคนงาน ในกองบัญชาการศึกษา สตช. (S)

กรุงเทพกลาง

ดุสิต

99.ไซต์ก่อสร้างอาคารรัฐสภา บ.ซิโน-ไทย (L)

ห้วยขวาง

100.ชุมชนโรงปูน (S)

กรุงเทพตะวันออก

คลองสามวา

101.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ (S)

หนองจอก

102.ตลาดหนองจอก (S)

มีนบุรี

103.ตลาดมีนบุรี (S)

กรุงเทพใต้

บางคอแหลม

104.แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย (S)

ยานนาวา

105.โรงงานเย็บผ้า (M)

วัฒนา

106.สถานทูต (S)

สาทร

107.ชุมชนหน้าสมาคมธรรมศาสตร์ (S)

162471646657

  • แคมป์คนงาน 575 แห่ง กทม. พบ 41 คลัสเตอร์ 

ทั้งนี้ รายงานข้อมูลจำนวนแคมป์คนงานเบื้องต้น จากกระทรวงแรงงาน พบว่า ปัจจุบันใน กรุงเทพมหานคร 575 แห่ง ลูกจ้าง 83,375 คน จังหวัดนนทบุรี 140 แห่ง ปทุมธานี 149 แห่ง และสมุทรปราการ 32 แห่ง

ขณะที่ข้อมูล ศบค. วันที่ 27 มิ.ย.64 ระบุว่า เฉพาะใน กทม. ซึ่งเป็นพื้นที่การระบาดและมีคลัสเตอร์มากถึง 111 แห่ง พบว่า มีการระบาดในแคมป์คนงาน ถึง 41 แห่ง โดยพบมากในเขตห้วยขวาง และ สวนหลวง มีการแบ่งระดับตามจำนวนผู้ติดเชื้อ S M L คือ กลุ่ม S ผู้ป่วยน้อยกว่า 100 ราย , กลุ่ม M ผู้ป่วยมากกว่า 100-499 ราย และ กลุ่ม L ผู้ป่วยมากกว่า 500 ราย ดังนี้

กลุ่มเฝ้าระวังที่พบผู้ป่วยรายใหม่ใน 14 วัน

จตุจักร

1. แคมป์ที่พักคนงาน บ.ทีฆา (M)

2.แคมป์ที่พักคนงาน ซ.วิภาวดี 20 (S)

บางซื่อ

3.แคมป์ที่พักคนงาน JWS (S)

หลักสี่

4. แคมป์ก่อสร้างวรสิษฐ์ (S)

ดินแดง

5. แคมป์ก่อสร้างพรพระนคร (M)

พญาไท

6. แคมป์ก่อสร้าง ถ.อินทรามระ (S)

ราชเทวี

7. แคมป์เดอะ ยูนิคอร์น บ.ยูนิเทค คอนสตรัคชั่น (M)

ห้วยขวาง

8. แคมป์ก่อสร้าง One 9 Five (M)

9. แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย (S)

10. แคมป์ก่อสร้าง Syntec ถ.กำแพงเพชร 7 (S)

11. แคมป์ที่พักคนงาน ถ.เพชรพระราม แยก 9 (M)

**12.แคมป์ที่พักคนงานย่านเทียมร่วมมิตร(s)

บางกะปิ

13. แคมป์ก่อสร้างพรพระนคร รามคำแหง ซอย 7 (S)

14. แคมป์ก่อสร้าง ซ.รามคำแหง 7 (M)

ลาดกระบัง

15. แคมป์ที่พักคนงาน ซ.ร่มเกล้า 1 (S)

คันนายาว

16. แคมป์คนงาน บ.ชิโนทัย (S)

คลองสามวา

17. แคมป์คนงาน ถ.พระยาสุเรนทร์ (S)

18. แคมป์ก่อสร้าง ย่านคู้บอน (S)

คลองเตย

19. แคมป์ที่พักคนงาน ซ.สุขุมวิท 24 (S)

20 แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย ซ.ไผ่สิงห์โต (L)

บางนา

21. แคมป์ก่อสร้าง บ.ซิโน-ไทย (S)

22. แคมป์ก่อสร้าง บริษัทจอมธกล (S)

บางรัก

23. แคมป์ก่อสร้างฤทธา (S)

24. แคมป์ก่อสร้าง สีลม ซอย 9 (M)

ปทุมวัน

25. แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลี่ยนไทย (M)

26. แคมป์โปโล (M)

27,ไซต์งานก่อสร้างย่านสยามสแควร์

ยานนาวา

28. แคมป์ที่พักคนงาน บ.ฤทธา (S)

29. แคมป์ที่พักคนงาน พรีบิวด์ (S)

วัฒนา

30. แคมป์ก่อสร้างพรพระนคร (S)

31. แคมป์ที่พักคนงาน JWS (J155 และ J181) (M)

สวนหลวง

32. แคมป์ก่อสร้าง บ.ซิโน-ไทย หัวหมาก (M)

33. แคมป์ก่อสร้าง ย่านพัฒนาการ 38 (M)

34. แคมป์ที่พักคนงาน ซ.อ่อนนุช 17 แยก 6 (M)

บางกอกน้อย

35. แคมป์ก่อสร้าง ซ.จรัญสนิทวงศ์28/2 (M)

บางกอกใหญ่

36. แคมป์ที่พักคนงาน ถ.เพชรเกษมสายเก่า (S)

**37.แคมป์ที่พักคนงานซอยรุ่งประชา (s)

กลุ่มเฝ้าระวังที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ใน 14 วัน

ดอนเมือง

38. แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย (S)

ลาดพร้าว

39. แคมป์ก่อสร้าง บ.ชิโน-ไทย (S)

จตุจักร

40. แคมป์ที่พักคนงาน ในกองบัญชาการศึกษา สตช. (S)

บางคอแหลม

41. แคมป์ก่อสร้าง บ.อิตาเลียนไทย (S)

162471646786

  • ทหาร-ตำรวจ คุมเข้มแรงงานเคลื่อนย้าย

การที่กทม.ไม่สามารถจบคลัสเตอร์ได้ภายใน 28 วันหลังจากบับเบิ้ลแอนด์ซีลบางจุด แตกต่างจากกรณี จ.สมุทรสาคร ที่สามารถยุติได้ภายใน 28 วัน ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องความร่วมมือ ที่ยังมีการเล็ดรอดจากแคมป์คนงานไปในตลาด ชุมชน หรือพอปิดแคมป์หนึ่งก็มีการเคลื่อนย้ายไปอีกแคมป์หนึ่ง

นอกจากนี้ การลงพื้นที่ตรวจสอบแคมป์คนงานทั่วกทม. โดยในส่วนการประเมินผู้ประกอบการหรือนายจ้าง ยังต้องเพิ่มเติมเรื่อง ที่นั่งรับประทานอาหารในแคมป์ ทำให้คนงานต้องนั่งจับกลุ่มกัน สื่อความรู้และข้อมูลข่าวสาร และการวางแผนเตรียมความพร้อมเมื่อพบผู้ป่วย ขณะที่คนงาน ยังมีที่อาบน้ำรวม กิจกรรมสังสรรค์ การทำอาหาร และความสะอาดของห้องส้วมที่ไม่เหมาะสม

พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวยืนยันว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ทยอยจัดกำลังเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการปิดแคมป์คนงานโดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ (26มิ.ย.) เป็นต้นไป เนื่องจากห่วงว่าหากไม่เร่งดำเนินการ แรงงานจะออกจากพื้นที่ไปปัญหาก็จะตามมาว่าเราควบคุมกันไม่ได้จึงจำเป็นต้องตัดกำลังเข้าไปควบคุมก่อนและปล่อยให้เขาอยู่ในพื้นที่นั้นและปิดการเคลื่อนย้ายในส่วนของรัฐบาลก็จะเยียวยา

“หากเราไม่หยุดเขาก่อนและเขาออกนอกพื้นที่ไปก็จะเกิดความยุ่งยากถ้าเราประกาศออกไปว่าจะปิดแคมป์คนงานทั้งหมดก็จะมีปัญหาหากเขาออกไปก่อนก่อนที่เราจะปิดซึ่งจะต้องไปติดตามตัวในพื้นที่อื่นอีก จึงได้มีการเริ่มจัดกำลังเข้าไปดูแลตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”

ทว่าครั้งนี้ต้องดูว่าจะสามารถแก้ปัญหาการแพร่ระบาดได้หรือไม่ เพราะรัฐบาลดูแลเรื่องอาหาร การกิน และการเยียวยาจะจ่ายเงินสดให้คนงานที่แคมป์ทุกๆ 5 วันตามรายชื่อที่นายจ้างรับรองวันต่อวัน จากระบบตรวจสอบว่าแรงงานที่จะได้รับการเยียวยานั้น จะต้องอยู่ในแคมป์จริงๆและหากแคมป์ใดถือว่าปลอดภัยแล้วจะดำเนินการปลดล็อคให้แคมป์นั้นกลับมาเปิดได้โดยเร็วที่สุด และอาจไม่ต้องรอให้ครบ 1 เดือน ขณะที่โครงการใดที่มีสัญญากับรัฐหรือเอกชน จะมีการขยายระยะเวลาสัญญาให้ในช่วงที่แรงงานต้องหยุดการทำงานทั้งหมดด้วย