‘มนต์รักหนองผักกะแยง’ ละครชวนทบทวน ‘คุณค่า’ และ ‘ความสุข’ ที่ซุกซ่อนอยู่ในวิถีบ้านเฮา

‘มนต์รักหนองผักกะแยง’ ละครชวนทบทวน ‘คุณค่า’ และ ‘ความสุข’ ที่ซุกซ่อนอยู่ในวิถีบ้านเฮา

“มนต์รักหนองผักกะแยง” ละครฟีลกู๊ด โรแมนติก คอมเมดี้ ผสมผสานกลิ่นอายถิ่นอีสานแนวใหม่ กลายเป็นละครที่เป็นม้ามืดสวนกระแสละครไทยที่มักวนเวียนอยู่ในวังวนน้ำเน่า การข่มขืน นอกใจ ยัดเยียดค่านิยมชู้สาวให้กับสังคมไทย

มนต์รักหนองผักกะแยงละครฟีลกู๊ด ผสมผสานกลิ่นอายถิ่นอีสานแนวใหม่นี้ บทประพันธ์ได้สะท้อนความสวยงามของวิถีชีวิตชนบทไทยแท้จริง ทำให้มนต์รักหนองผักกะแยงสามารถยึนหยัดได้อย่างสง่างามด้วยเรตติ้งสู้ซีรี่ส์ต่างแดนที่กำลังบุกพื้นที่สื่อบันเทิงในสังคมไทยทุกวันนี้

ละครสร้างจากบทประพันธ์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดของกระทรวงวัฒนธรรมเรื่องนี้  แม้จะลาจอไปแล้ว แต่ดูเหมือนเรื่องราวที่เกิดขึ้นในมนต์รักหนองผักกะแยงยังคงตราตรึงอยู่ในใจคนดู

โดยเฉพาะแวดวงภาคีนักพัฒนาชุมชนคนทำงานสร้างสุขภาวะเองก็เป็นที่ฮือฮาไม่น้อย ถึงกับต้องหยิบยกแง่มุมละครน้ำดีเรื่องนี้มาเอื้อนเอ่ยวิเคราะห์ถึง ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ เครือข่ายงดเหล้า ได้จัดเสวนาออนไลน์เฉพาะกิจ ชวนขบคิด พร้อมมองวิถีวัฒนธรรม คุณค่าและความเชื่อผ่านบทละคร "มนต์รักหนองผักกะแยง"

162425158549

เรื่องราวในละครเริ่มขึ้นจากตัวละครหลักธรากรหรือเขียวซึ่งรับบทโดยพระเอกลูกอีสานแท้อย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ ชายหนุ่มที่รังเกียจเดียดฉันท์รากเหง้าความเป็นอีสานของตนเอง แต่เมื่อต้องอกหักผิดหวังจากชีวิตในเมืองกรุง ทำให้เขาจำต้องกลับบ้านเกิดที่บ้านหนองผักกะแยง หมู่บ้านเล็กๆ ในภาคอีสาน แล้วมาพบชมพู่” (โบว์ เมลดา) คู่ปรับเก่า สาวเจ้าของไร่แบ่งฝันปันรักที่ช่วยเหลือชาวบ้านหนองผักกะแยงให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

การดำเนินเรื่องของมนต์รักหนองผักกะแยง อาจเหมือนบทละครเรียบง่ายไม่หวือหวา แต่กลับมีเสน่ห์ท่วมท้นดึงดูดใจคนดู ด้วยรายละเอียดและการถ่ายทอดความงดงามของวิถีชีวิตแบบชนบทไทย พร้อมคุณค่าจากการสอดแทรกแง่มุมให้คนดูกระตุกต่อมคิดตลอดเรื่อง

วิษณุ ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนนโยบายสาธารณะ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.เอ่ยถึงเหตุผลการนำละครเรื่องนี้มาพูดถึงว่าเป็นละครที่สอดแทรกสารและสาระ โดยนำมาย่อให้น่าสนใจและคนดูประทับใจ เพลิดเพลินสนุกสนาน ทั้งยังช่วยสร้างความฝันและจินตนาการใหม่ๆ จุดประกายให้คนรุ่นใหม่ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าไม่ใช่การมโน แต่เป็นเรื่องจริงที่มีอยู่แต่จับต้องได้

162425166076

ถ้าดูเรื่องราวในละคร จะเห็นว่างานที่พวกเขาทำตรงกับงานส่วนหนึ่งที่พวกเรา ชาวภาคีเครือข่ายนักพัฒนา และสสส. ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศทำอยู่ และพยายามสื่อสารให้กับสังคม ไม่ว่าจะเป็น การทำเกษตรอินทรีย์ การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม การส่งเสริมวิถีวัฒนธรรท้องถิ่นอันดีงาม การพูดถึงผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ไม่ว่าจะเป็น แอลกอฮอล์ การพนัน สิ่งเหล่านี้พิสูจน์ว่าถ้าเราลุกขึ้นมาทำ มันเป็นไปได้ ซึ่งที่ผ่านมาภาคีเครือข่ายและ สสส.อยากขยายให้สิ่งที่กำลังทำและสิ่งที่มีคุณค่าเหล่านี้ออกไปสู่สังคม แต่ยังไม่อาจเป็นที่รับรู้ในวงกว้างได้เท่า

ขณะที่เจ้าของบทประพันธ์ ปุ๊ ชุติมณฑ์ เจ้าของนามปากกา .เรเชล เล่าถึงแรงบันดาลใจการเขียนบทละครเรื่องนี้ว่าเกิดจากความทรงจำของการเป็นลูกอีสานของตนเอง การที่ได้ซึมซับวิถีวัฒนธรรมบ้านเกิดเป็นความสุขทำให้อยากถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวที่สะท้อนแง่มุมของสังคมอีสานในปัจจุบัน

ถามว่าทำไมต้องชื่อ หนองผักกะแยง เพราะผักกะแยงเป็นผักพื้นบ้าน มีกลิ่นรสชาติดเผ็ดฉุน ร้อนแรง จัดจ้าน แต่จริงๆ แล้วมีประโยชน์เยอะมาก เป็นการเปรียบเทียบว่า หากเรามองอะไรผิวเผิน ไม่สนใจ ไม่อยากลิ้มลอง สัมผัสอย่างลึกซึ้ง ก็จะไม่พบสิ่งดีๆ ที่ซ่อนอยู่

โดยเธอสร้างตัวละครเขียวเพื่อเป็นตัวแทนของมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งที่เราอาจมองหาได้ง่ายๆ รอบตัว เขียวเป็นคนที่มีทั้งขาวและดำ ที่มีรัก โลภ โกรธ หลง เคยโดนคนอื่นดูถูกและก็เคยดูถูกคนอื่น แต่การที่เขียวต้องกลับไปอยู่บ้านทำให้เกิดการเรียนรู้ การได้รู้จักเพื่อนใหม่ๆ หรือทัศนคติใหม่ๆ ที่เขาไม่เคยได้สัมผัสจากเพื่อนและคนที่บ้านหนองผักกะแยง ล้วนให้บทเรียนอะไรบางอย่างให้ทั้งเขียว และคนดู

เขียวเป็นตัวเดินเรื่อง ที่พาคนดูเข้ามาเรียนรู้ทำความเข้าใจคนในท้องถิ่น จนเขาเกิดความเจริญเติบโต แล้วเปลี่ยนความคิด ที่ทำให้เขาตัดสินใจเลือกทางเดินในอนาคตตนเอง ส่วนชมพู่เป็นเหมือนเกษตรกรในอุดมคติที่เราอยากเห็นในสังคมไทยเยอะๆ เราอยากให้คนดูเห็นว่าคนแบบนี้มีอยู่จริง

  162425213796

มานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และนักสื่อสารมวลชนอาวุโส เอ่ยว่า ละครเรื่องนี้สามารถถ่ายทอดวิถีชีวิตที่เป็นธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรมอันดีงามของอีสานได้อย่างแท้จริง ทั้งเชื่อมโยงวิถีการเกษตรอินทรีย์เป็นตัวอย่างให้ผู้ชมได้เห็นผ่านตัวละครในบ้านหนองผักกะแยง

ผมประทับใจในตัวละครชมพู่มาก ถ้าเป็นไปได้เครือข่ายงดเหล้าของเราอยากได้คนแบบชมพู่นี่แหละ มาทำงานในทุกจังหวัด อีกส่วนที่ชอบในละครเรื่องนี้คือการใช้กติกาสังคมมาใช้ของคนในชุมชน และการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อให้เด็กได้เติบโตท่ามกลางชุมชนที่อยู่กันด้วยความอบอุ่น เอื้ออาทรกันและกัน

ผมอยากฝากให้ภาคีเครือข่ายทุกคนดูชมพู่กับไร่ฝันปันรักเป็นโมเดล ว่าเราจะทำงานในลักษณะนี้ และเราจะต้องพยายามมสื่อสารการทำงานของเราให้เข้าถึงชุมชนและสังคมไทยได้เข้าใจ และอยากฝากให้ผู้ผลิตละครสอดแทรกเรื่องราวแบบนี้บ่อย โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ระบาดแบบนี้ ละครเรื่องนี้เหมาะสมมากที่จะเป็นแรงบันดาลใจอยากให้พี่น้องอีสานกลับบ้านเฮามาพัฒนาบ้านเกิด

ดร.นิรุจน์ อุทธา ผู้อำนวยการศูนย์แก้ไขปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภาคอีสานตอนบน ให้มุมมองว่า การได้ชมละครเรื่องนี้เป็นการเปลี่ยนค่านิยมการดูหนังของสังคมไทย เราจะเห็นวิถีชีวิตแบบเกษตรอินทรีย์ถ่องแท้ถึงราก และยังสะท้อนถึงรากเหง้าของวัฒนธรรมวิถีชีวิตชาวเกษตรของคนอีสานแท้จริง รวมถึงการผสมผสานแนวคิดของคนสองรุ่นนั่นคือคนรุ่นผู้ใหญ่ และคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถนำเทคโนโลยีมาต่อยอดได้ดี แต่ขาดรากพื้นฐานที่คนรุ่นผู้ใหญ่มี

การเกษตรคือชีวิตของคนอีสาน แต่การทำเกษตรต้องมีรากที่แข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน เหมือนกับคน วิถีเกษตรตอบโจทย์คนอีสาน มากว่าทำอะไรให้มีความรักผูกพันด้วยใจ ธรรมชาติสอนคน ซึ่งเราจะพบตัวละครอย่างเขียว ที่แสดงอาการกะเทินคือดูเหมือนตัวเองขยะแขยงรังเกียจ แต่ก็อยากลองอยากทำ ขณะที่ชมพู่เป็นคนรุ่นใหม่ที่คนอีสานต้องการมาก

ท้ายที่สุดแล้ว ละครเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าความสุขที่แท้จริงอยู่ที่บ้านเรา และไม่มีที่ไหนที่มีความสุขเท่าอีสานถิ่นฐานบ้านเรา

อีกหนึ่งคนดูที่ประทับใจละครเรื่องนี้ไม่น้อย อภิศา มะหะมาน หรือครูซะห์ จากโครงการโพธิสัตว์น้อย กล่าวชื่นชมว่าละครสามารถฉายทุกแง่มุมของสังคมไทยให้คนดูได้เห็น สะท้อนให้เห็นว่าเรามีความสุขได้ไม่ต้องใช้อบายมุขหรือสิ่งมึนเมา ไปจนถึงการเป็นชุมชนเล็ก ก็สามารถทำเป็นพื้นที่ให้มีความสุขได้

162425230852

ละครเรื่องนี้มาถูกเวลาในช่วงโควิด-19 เป็นการให้มุมมองใหม่สังคมในช่วงวิกฤต ให้เห็นว่าการกลับบ้านเกิดสามารถทำได้โดยไม่ต้องอาย หรือรู้สึกเป็นผู้พ่ายแพ้ โดยมีเขียวเป็นแบบอย่าง

โดยอีกประเด็นที่ครูซะห์ชื่นชอบคือละครยังนำเสนอปัญหาที่เกิดจากการติดการพนัน ติดเหล้า ซึ่งในฐานะที่ตนเองเป็นครูในโรงเรียน อาจมองเป็นเรื่องที่ชินชาไป รวมถึงเด็กๆ ก็ชินชากับพ่อแม่ติดเหล้าติดการพนัน แต่ละครเรื่องนี้ได้สะท้อนถึงปัญหาความทุกข์ในครอบครัวที่ต้องล่มสลายเพราะอบายมุข เหล้า และการมีชุมชนหรือเพื่อนที่เข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลได้

ด้านตัวแทนเยาวชนคนอีสานรุ่นใหม่มองละครเรื่องนี้อย่างไร พงศ์ภัค มงคลชัยพาณิชย์ สมาพันธ์เด็กและเยาวชน .ศรีสะเกษ ช่วยสรุปทิ้งท้ายว่า ละครถูกฉายให้เห็นหลายมิติ หลายมุมมองสังคม เช่นการถูกบุลลี่ เช่นจากการที่บักเขียวใช้ชีวิตในเมืองกรุงก็ถูกบุลลี่ และกลับมาก็มาบุลลี่คนอื่นแทน

ปัจจุบันเด็กเยาวชนปัจจุบันห่างจากละครเยอะ และช่องว่างที่คนรุ่นใหม่กับรุ่นเก่าต้องปรับตัวก็เยอะเช่นกัน ถ้าได้มาเรียนรู้ เห็นในมุมนี้จากละคร เรื่องนี้อาจเป็นแนวทางการเลี้ยงดูลูกวิถีชีวิตแบบไหน อย่างไร รวมถึงผู้ปกครอง อีกอย่างที่อยากฝากคนรุ่นใหม่คือว่าอาชีพเกษตรกรรม เดี๋ยวนี้มีคุณค่า บ้านเราเป็นแหล่งทุนมหาศาลไม่ได้สร้างแค่รายได้ ยังสร้างในส่วนสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยพงศ์ภัค กล่าว

162425241838

162425267574

162425269180

162425273838

162425278399