ขุมทรัพย์ ‘แอ๊ปเปิ้ล สโตร์’ ‘แหล่งทำเงิน’นักพัฒนาแอพทั่วโลก

ขุมทรัพย์ ‘แอ๊ปเปิ้ล สโตร์’ ‘แหล่งทำเงิน’นักพัฒนาแอพทั่วโลก

ท่ามกลางความท้าทายของสถานการณ์โรคระบาด นักพัฒนาแอ๊ปเปิ้ล สามารถดันยอดขายและการเรียกเก็บเงินในระบบนิเวศแอพ สโตร์ ให้เติบโตขึ้นถึง 24% เปอร์เซ็นต์ ด้วยมูลค่า 64,300 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2563 

กรณีศึกษา "แอพ" ทำเงิน

ยกตัวอย่างแอพเด่น ที่ทำเงินบน แอพสโตร์ อย่าง KidloLand แอพ ที่ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องสนุกสนานสำหรับเด็กเล็กๆ เปิดตัวเมื่อปี 2555 โดยคู่พี่น้อง Aditya และ Nishant Mohatta จากประเทศอินเดีย และนับตั้งแต่นั้นมา ก็มีผู้ดาวน์โหลดแอพมากกว่า 6 ล้านครั้ง และเติบโตมาเป็นทีมงานที่มีคนมากกว่า 40 คน

สำหรับนักพัฒนากลุ่มย่อยบนแอพ สโตร์ การควบรวมกิจการและการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน เป็นประตูแห่งโอกาสที่ทำให้พวกเขาสามารถต่อยอดให้ธุรกิจเติบโตไปได้มากยิ่งขึ้น 

สำหรับการประมาณการระดับต่ำสำหรับยุโรปและสหรัฐฯ การศึกษาพบว่า บริษัทที่ทำธุรกิจแอพเป็นหลักกว่า 75 บริษัท ซึ่งมีแอพ ไอโอเอส เป็นแกนกลางของธุรกิจ ได้เข้าสู่ตลาดหุ้นหรือถูกควบรวมกิจการ โดยมีมูลค่าทั้งหมดมากกว่า 51,000 ล้านดอลลาร์ในเวลาที่มีการเสนอขายหุ้นหรือขายกิจการ

หรืออย่าง แอพ Bumble เปิดตัวในปี 2557 ด้วยทีมงานที่มีไม่ถึง 20 คน ในเวลาที่ผ่านไปอย่างรวดเร็วเพียง 7 ปี Bumble Inc. กลายมาเป็นบริษัทแม่ของทั้ง Bumble แอพออกเดตแอปแรกสำหรับผู้หญิงในชื่อเดียวกันกับบริษัท และแอพ Badoo ซึ่งตอนนี้มีผู้ที่ใช้งานประจำในแต่ละเดือนรวมกันทั้งหมดทั่วโลก 42 ล้านคน หุ้นไอพีโอของ Bumble Inc. ซึ่งเปิดขายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ระดมทุนได้ถึง 2.2 พันล้านดอลลาร์

WWDC ปลุกฝันนักพัฒนาแอพ

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวอย่างไม่หยุดนิ่งของแอพสโตร์  มีรากเหง้ามาจากชุมชนของนักพัฒนาใหม่ๆ ที่เพิ่งเกิดขึ้นซึ่งยิ่งใหญ่และเติบโตอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่สำเร็จการศึกษามากกว่า 10,000 คนจาก Apple Developer Academy ซึ่งมีชั้นเรียนสำหรับนักพัฒนาหน้าใหม่ผู้มีความทะเยอทะยานที่มองหาวิธีการฝึกปรือทักษะของตัวเองให้เฉียบคม ก็ได้เปิดตัวแอพไปแล้วมากกว่า 1,500 แอพ

ทุกปี นักเรียนที่เป็นนักพัฒนาหลายร้อยคน จะถูกเลือกเป็นผู้ชนะรับทุนการศึกษาในงาน Worldwide Developer Conference (WWDC) ของแอ๊ปเปิ้ล งาน WWDC ในปีนี้ นับเป็นอีกปีที่น่าจับตามองเช่นเดียวกัน