ย้อนบทเรียนดราม่า 'ศบค.' หัก 'กทม.'

ย้อนบทเรียนดราม่า 'ศบค.' หัก 'กทม.'

เป็นอีกครั้งที่ประชาชน "สับสน" การทำงานบูรณาการระหว่างหน่วยงานรัฐ ซึ่งถูกตั้งคำถามถึงความเป็นเอกภาพในการสื่อสารระหว่างกัน

หากนับเวลาจากช่วง 12.30 .ของวันที่ 31 .. จนถึงเวลา 19.30 . เป็นเวลาประมาณ 7 ชั่วโมงครึ่งที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) โดนคำสั่งจากศูนย์บริหารสถานการณ์โค วิด-19 (ศบค.) แตะเบรกเปลี่ยนแปลงมติคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.ให้ผ่อนปรนเปิดสถานประกอบการ 5 ประเภท

เหตุผลที่คณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.อธิบายถึงการผ่อนคลายเปิดสถานประกอบการ 5 ประเภท มาจากสถานการณ์โควิดส่วนใหญ่จะพบในชุมชน ตลาด แคมป์คนงาน ซึ่งอยู่ระหว่างการเข้าควบคุมโรค และสถานการณ์ระบาดยังทรงตัวอยู่ใน "คลัสเตอร์เฉพาะกลุ่ม" แต่ในส่วนของ "สถานประกอบการ" บางประเภทไม่พบคลัสเตอร์การระบาด

เป็นที่มาของมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนของภาคธุรกิจ และให้ประชาชนสามารถประกอบอาชีพได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้มาตรการของรัฐที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยไฟเขียว 5 สถานประกอบการกลับมาเปิดบริการได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ..นี้

แต่กลับเป็นคำสั่งใหญ่ที่ส่งตรงมาจาก "ศบค." ให้ กทม.ยึดคำสั่งตามประกาศฉบับที่ 29 เรื่อง "สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว" ให้ขยายระยะเวลาการปิดกิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงทั้งหมดออกไปอีก 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.. สิ้นสุด 14 มิ..2564

162251564268

เป็นอีกครั้งที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาจากผู้ประกอบการที่เตรียมความพร้อมเปิดกิจการ จากกลุ่มกิจการสถานที่สักหรือเจาะผิวหนัง ร้านทำเล็บ สถานเสริมความงาม คลินิกเวชกรรมเสริมความงาม ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ นวดแผนไทย ซึ่งเตรียมเปิดร้านในวันที่ 1 มิ..

โดยเฉพาะเสียงสะท้อนจากคนในสังคมออนไลน์ต่อการ "สื่อสาร" ภายในระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่ออกมาครั้งนี้ ซึ่งมาจากช่องคอมเมนต์ในเฟซบุ๊ค "กรุงเทพมหานคร โดยสำนักประชาสัมพันธ์" มีผู้เข้ามาแสดงความเห็นมากกว่า 1.4 พันครั้ง ซึ่งเกือบทั้งหมดได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างเข้มข้นว่า เหตุใดหน่วยงานรัฐจึงไม่สื่อสารกันก่อนกำหนดมาตรการออกมา จนทำให้ประชาชนเกิดความสับสนต่อนโยบายอีกครั้ง

เพราะหากยังจำกันได้ก่อนหน้านี้ ในช่วงการระบาดโควิดรอบแรกในต้นปี 2563 ขณะนั้นภาครัฐได้เร่งออกมาตรการยาแรง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด ซึ่งมีกรณีที่ "นฤมล ภิญโญสินวัฒน์" โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เคยออกมาเปิดเผยถึงกระแสข่าวที่ถูกแชร์เป็นจำนวนมากว่า กทม.จะปิดห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในวันที่ 22 มี..2563 ซึ่งการให้ข่าวของ "โฆษกรัฐบาล" ขณะนั้นเป็นวันเดียวที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม.กำลังประชุมเพื่อหา "ข้อสรุป" ในมาตรการนี้ว่าจะออกมาอย่างไร

ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดความสับสนอยู่ที่ "ห้วงเวลา" ของข่าวที่ออกมา เพราะก่อนที่คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม. จะมีมติเป็นทางการว่าจะมีการ "ปิดห้าง" หรือไม่ แต่เป็นช่วงเดียวกับที่โฆษกรัฐบาลออกมาให้สัมภาษณ์ประเด็นนี้ในเวลา 12.12 .ของวันที่21 มี..2563 ว่า อำนาจการสั่งปิดห้างอยู่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งกำลังมีการหารือมาตรการต่างๆ ดังนั้นขอให้ประชาชนรอแถลงอย่างเป็นทางการ และรอฟังประกาศหรือความคืบหน้าจากราชการ แต่ขอให้หยุดการแพร่ข่าวที่ไม่มีที่มาที่ไป

แต่แล้วมีการ "ตีความ" ข้อมูลที่ถูกส่งต่อในสังคมออนไลน์ ไปถึงประเด็นที่โฆษกรัฐบาลออกมาอธิบายในช่วงนั้นว่า กระแสการ "ปิดห้าง" ไม่ใช่ข่าวจริง จนกระทั่งผ่านมาเพียงไม่กี่นาทีที่ พล...อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม.ออกมาแถลงข่าวในเวลา 12.23 . ภายหลังเสร็จสิ้นประชุมคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อ กทม. โดย กทม.มีคำสั่งปิด 26 จุดเสี่ยงทั่วกรุง รวมถึงห้างสรรพสินค้า จนทำให้ประชาชนสับสนในข้อมูลขณะนั้นว่าสุดท้ายควรเชื่อควรมูลจากแหล่งใดมากที่สุด

162251598074

เช่นเดียวกันความสับสนของประชาชน จากคำสั่งที่ กทม.ฉบับที่ 16 เมื่อวันที่ 4 ..2564 ที่ออกมาช่วงเวลา 12.12 . เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมเวลารับประทาน "ในร้าน" อาหารตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 . ทั้งที่ก่อนหน้านี้ที่ ...พงศกร ขวัญเมือง โฆษก กทม. ออกมาแถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.มีมติกำหนดให้ร้านอาหารทุกประเภท เปิดให้รับประทานในร้านได้ถึง 19.00 .เท่านั้น

แต่ภายในวันเดียวกันช่วงเวลา 16.30 . กลับเป็นคำสั่งที่มาจาก พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่ง กทม.ให้ขยายเวลามาตรการนี้ออกไปจากเดิมให้นั่งกินในร้านได้ในเวลา 19.00 . แต่ให้ขยายไปถึงเวลา 21.00 . ภายหลังมีข้อเรียกร้องจากสมาคมภัตตาคารที่เสนอเข้ามาที่รัฐบาล

162251608724

กระทั่งเหตุการณ์ล่าสุดที่ กทม.โดน ศบค.เปลี่ยนแปลงคำสั่งอีกครั้ง เมื่อช่วงค่ำวันที่ 31 ..ที่ผ่านมามีคำสั่งชะลอการเปิดสถานประกอบการ 5 ประเภทออกไปอีก 14 วัน จนทำให้ฝ่ายบริหาร กทม.เร่งปรับเปลี่ยนประกาศที่เตรียมไว้ให้เป็นไปตามคำสั่งของ ศบค.

จากเหตุการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิดตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงกลางปี 2564 ปฏิเสธไม่ได้ว่า เป็นอีกครั้งที่ประชาชน "สับสน" การทำงานบูรณาการระหว่างระหว่างหน่วยงานรัฐ ซึ่งถูกตั้งคำถามถึงความเป็นเอกภาพในการสื่อสารภายใน จะพาให้คนในสังคมผ่านสถานการณ์วิกฤติครั้งนี้ไปได้หรือไม่.