เปิด10 อันดับบจ.กำไรสูงสุดในตลาดหุ้นไทยไตรมาส1/64

เปิด10 อันดับบจ.กำไรสูงสุดในตลาดหุ้นไทยไตรมาส1/64

10 อันดับบจ.ที่มีกำไรสูงสุดในตลาดหุ้นไทยไตรมาส1/64 นำโดย PTTกำไรสุทธิ 3.25 หมื่นล้าน อันดับสอง SCC 1.49 หมื่นล้าน อันดับสาม.PTTEP  มีกำไรสุทธิ1.15หมื่นล้าน

 จบไปแล้วการรายงานผลการดำเนินงานไตรมาส1ปี 2564ของบริษัทจดทะเบียน(บจ.) ซึ่งเติบโตสูงเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุ ไตรมาสนี้บจ.มีกำไรสุทธิรวม 257,266 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 229.81% เป็นเพราะ หมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy & Utilities) โดยเฉพาะธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน และหมวดธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (Petrochemicals & Chemicals) มีรายได้ กำไรจากการดำเนินงานและกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น โดยได้อานิสงค์จากการที่กลุ่มประเทศ OPEC ลดกำลังการผลิตซึ่งส่งผลให้ราคาน้ำมันและค่าการกลั่นน้ำมันปรับสูงขึ้น 

สำหรับบจ. อื่นๆ แม้ยอดขายทรงตัวจาก COVID-19 แต่มีการปรับตัวและรับมือกับสถานการณ์ได้ดี โดยเฉพาะการบริหารต้นทุนการผลิตและการจัดการ จึงส่งผลทำให้ทั้งกำไรจากการดำเนินงานและกำไรสุทธิปรับเพิ่มขึ้น         

   ทั้งนี้หากจากการรวบรวมข้อมูล 10 บจ.ที่มีกำไรสุทธิสูงสุดในตลาดหุ้นไทยไตรมาส1ปี 2564ดังนี้

1.บมจ.ปตท. ( PTT) มีกำไรสุทธิ  32,587.61 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีผลขาดทุน1,554 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 2,197%เพราะราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นทำให้กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นมีผลการดำเนินเพิ่มขึ้นกจากำไรสต็อกน้ำมัน  ธุรกิจปิโตรเคมีดีขึ้นตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีกับวัตถุดินสายโอเลฟินส์กและอะโรเมติกส์โดยรวมที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ,ธุรกิจน้ำมันและธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมปรับตัวเพิ่มขึ้น 

2.บมจ.ปูนซิเมนไทย(SCC) มีกำไรสุทธิ 14,913.96  ล้านบาท เพิ่มขึ้น114%จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6,971.20 ล้านบาท  สาเหตุหลักธุรกิจเคมิคอลส์มีส่วนต่างราคาสินค้าและส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 

3.บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP)  มีกำไรสุทธิ11,533.68 เพิ่มขึ้น34% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 8,612.48 ล้านบาท เพราะจากราคาขายที่เริ่มฟื้นตัวตามสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลก และยังมีความสำเร็จหลายประการที่เกิดขึ้นในไตรมาสนี้ ทั้งการซื้อสัดส่วนการลงทุนในแปลง 61 ประเทศโอมานที่เสร็จสมบูรณ์ และการเริ่มผลิตก๊าซธรรมชาติในโครงการมาเลเซีย - แปลงเอช เร็วกว่าที่ตั้งเป้าไว้ 


4.ธนาคารกสิกรไทย( KBANK) มีกำไรสุทธิ  10,626.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น44.10%จากไตรมาสเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 7,375 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจำนวน 1,923 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.30 โดยเป็นผลจากการปรับมูลค่ายุติธรรม (Mark to Market) ของสินทรัพย์ทางการเงินตามภาวะตลาด และค่าธรรมเนียมรับจากการจัดการกองทุนเพิ่มขึ้นรวมถึงค่าใช้จ่ายการดำเนินงานลดลง

162234080969


5.ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) มีกำไรสุทธิ 10,087.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้น9% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ  9,250.99 ล้านบาท  เพราะการขยายฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเติบโตมากขึ้น เช่นการขายผลิตภัณฑ์ประกันผ่านธนาคารและธุรกิจการบริหารความมั่งคั่ง และการรับรู้กำไรตามราคาตลาดในปัจจุบันของพอร์ตการลงทุนของธนาคารและบริษัทในเครือ รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน


6.ศรีตรังโกลฟส์ (STGT) มีกำไรสุทธิ  10,051.57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,245% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ428.6 ล้านบาท จากปริมาณการขายและราคาขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

7.บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล( PTTGC) มีกำไรสุทธิ  9,694.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้น210.36% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีผลขาดทุน8,784 ล้านบาท จากรายได้จากการขายรวมเพิ่มขึ้น 9%และราคาขายของทุกผลิตภัณฑ์ปรับขึ้น โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากอุปสงส์ของผลิตภัณฑ์ตามสภาพเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น และราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้น 

8.บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF)   มีกำไรสุทธิ 6,945.47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น13.65% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6,110.92ล้านบาท ปัจจัยหลักจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การตลาด และกระบวนการทำงาน รวมทั้ง การขยายกำลังการผลิต ประกอบกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร

9.ธนาคารกรุงเทพ(BBL)  มีกำไรสุทธิ 6,923.10 ล้านบาท ลดลง 9.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 7,671 ล้านบาท  เพราะการเพิ่มขึ้นของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็นผลจากการรวมค่าใช้จ่ายของธนาคารเพอร์มาตา ขณะที่รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จากกำไรสุทธิจากเครื่องมือทางการเงินที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน(FVTPL)ซึ่งเป็นไปตามสภาวะตลาด

10.บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) มีกำไรสุทธิ6,643.89ล้านบาท ลดลง1.66%   จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 6,756.19 ล้านบาท เป็นผลจากค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายที่สูงขึ้นจากการเข้ารับใบอนุญาตคลื่นความถี่เพิ่มเติมและการลงทุนโครงข่าย และลดลง 7.3% เทียบกับไตรมาสก่อนจากผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่รับรู้ และสิทธิประโยชน์ทางภาษีในไตรมาส