สศช.ชี้โควิด-19ทำว่างงานพุ่ง กดดันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่ม

สศช.ชี้โควิด-19ทำว่างงานพุ่ง  กดดันสัดส่วนหนี้ครัวเรือนเพิ่ม

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)นำเสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2564 พบความเคลื่อนไหวสำคัญได้แก่ อัตราการว่างงานสูงขึ้น แรงงานมีชั่วโมงการทำงานลดลง หนี้สินครัวเรือนเพิ่ม

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 1/2564 วานนี้ (24 พ.ค.) ว่าการจ้างงานในไตรมาสแรกของปีนี้ผู้มีงานทำอยู่ที่ 37.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในสาขาภาคเกษตรตามทิศทางราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น ซึ่งภาคเกษตรถือว่าช่วยดูดซับแรงงานจากสาขาอื่นๆได้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้เข้ามาทำงานในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามการจ้างงานนอกภาคเกษตรปรับตัวลดลงที่ 0.6% จากผลกระทบการแพร่ระบาดในช่วงต้นปี 2564

สำหรับการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.96% คิดเป็นผู้ว่างงาน 7.6 แสนคน สูงกว่าไตรมาสก่อนที่การว่างงานอยู่ที่ 1.83% โดยการว่างงานที่เพิ่มขึ้นสะท้อนให้เห็นผลกระทบจากโควิดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งยังสะท้อนผ่านชั่วโมงการทำงานรวมต่อสัปดาห์ลดลงเหลือ 40.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลง 1.8%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และลดลงต่อเนื่องกัน 6 ไตรมาส โดยกลุ่มอาชีพที่มีการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ลดลงต่อเนื่องมากที่สุดคือกลุ่มอาชีพอิสระซึ่งทำให้แรงงานมีรายได้ลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน 

นอกจากนี้จำนวนแรงงานที่ว่างงานติดต่อกันมากกว่า 1 ปีแล้วยังมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากประมาณ 8.1 หมื่นคนในไตรมาสก่อน เป็น 8.85 หมื่นคนในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้

“ทั้งชั่วโมงการทำงานที่ลดลง  การเลิกจ้างและการว่างงานที่ยาวนานขึ้น ทำให้เงินออกของแรงงานลดลงเห็นได้จากจำนวนบัญชีที่มีเงินฝากไม่ถึง 1 แสนบาทเริ่มเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา”

ทั้งนี้ สศช.ได้เสนอแนะว่ามีประเด็นเกี่ยวกับแรงงานและสถานการณ์การจ้างงานในประเทศไทยในปี 2564 ใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ผลกระทบของโควิด-19 ระลอกใหม่ต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยเฉพาะผลกระทบที่จะเกิดจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีซึ่งมีการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะแบกรับสถานการณ์นี้ได้อีก 6 เดือนเท่านั้น แรงงานในกลุ่มนี้อาจตกงานมากขึ้นหรือถูกลดชั่วโมงการทำงาน 

162194336540

“ธุรกิจเอสเอ็มอีได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ปี 2563 ทำให้จีดีพีเอสเอ็มอีปรับตัวลดลง 9.1% หากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ อย่างรวดเร็ว ธุรกิจฯ อาจไม่สามารถประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้างแรงงาน และโอกาสการกลับมาฟื้นตัว อาจใช้เวลานานมากขึ้น กระทบต่อการจ้างงานซึ่งนอกจากมาตรการทางสินเชื่อต้องมีมาตรการในการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติมด้วย” 

2.ผลกระทบที่จะเกิดจากแรงงานภาคท่องเที่ยว ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิดที่ยาวนานทำให้การกลับมาปกติของภาคการท่องเที่ยวจะต้องใช้เวลายาวนานมาก ศูนย์วิจัย ด้านการตลาดท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) คาดว่าการท่องเที่ยวจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติในปี2569 ส่งผล

กระทบต่อแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่มีอยู่กว่า 7 ล้านคน โดยหากแรงงานถูกเลิกจ้างจะไม่สามารถกลับเข้ามาทำงานในสาขาเดิมได้ในระยะเวลาอันใกล้ และอาจต้องเปลี่ยนอาชีพ ซึ่งต้องมีมาตรการในการรองรับในส่วนนี้ด้วย 

3.ปัญหาความพอเพียงของการจ้างงานที่อาจไม่เพียงพอที่จะรองรับนักศึกษาจบใหม่ เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มต่ำกว่าเป้าหมายส่งผลต่อการขยายงานเพิ่มในตำแหน่งใหม่ ซึ่งจะกระทบกับนักศึกษาจบใหม่ในปี 2564 ประมาณ 4.9 แสนคน ขณะที่โครงการจ้างงานกลุ่มผู้จบการศึกษาใหม่และ แรงงานคืนถิ่นภายใต้ พ.ร.ก. เงินกู้ฯ ในปี 2563 ซึ่งมีระยะเวลาการจ้างงานประมาณ 12 เดือนกำลังจะสิ้นสุดลง อาจส่งผลกระทบต่อแรงงานภายใต้โครงการนี้อีกประมาณ 1.4 แสนตำแหน่ง ซึ่งเป็นอีกส่วนที่จะต้องเตรียมมาตรการรองรับเช่นกัน 

ดนุชา กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนของไทยในปี 2564 คาดว่าหนี้สินครัวเรือนต่อ GDP จะยังคงอยู่ในระดับสูง จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวกลับไปในระดับก่อนโควิด-19 ประกอบกับตลาดแรงงานอาจได้รับผลกระทบ ที่รุนแรงขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อรายได้ของแรงงานและทำให้

ครัวเรือนประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องมากขึ้น โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อย 

โดยในปี2564 ครัวเรือนจะระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการชะลอการซื้อ สินค้าในกลุ่มสินค้าคงทน ทำให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยและรถยนต์ชะลอตัวลง ขณะที่ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิตและสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลอาจปรับตัวเพิ่มขึ้น จากปัญหาการขาดสภาพคล่อง รวมทั้งมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับประชาชนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเหมาะสม ควบคุมดูแลการให้สินเชื่อให้สอดคล้องกับระดับรายได้ รวมทั้งเฝ้าระวังการก่อหนี้นอกระบบโดยเฉพาะกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย ควบคู่ไปกับการส่งเสริม การจ้างงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ครัวเรือนมีรายได้ และสามารถรักษาระดับการบริโภคไว้ในระดับเดิม

สำหรับสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไตรมาส4 ปี 2563 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.02 ล้านล้านบาท ขยายตัว 3.9% จาก 4% ในไตรมาสก่อน หรือคิดเป็นสัดส่วน 89.3% ต่อ GDPเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว แม้หนี้ครัวเรือน จะขยายตัวในอัตราที่ช้าลงสะท้อนให้เห็นว่าครัวเรือนยังระมัดระวังในการก่อหนี้ ด้านความสามารถในการชำระหนี้ ของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นแต่ยังต้องเฝูาระวัง เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน (สินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ) ยังอยู่ในระดับสูง โดยในไตรมาสสี่ ปี 2563 สัดส่วน NPLs ของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.84% ลดลงจาก2.91% ในไตรมาสก่อน เป็นผลจากการดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง