รับอาสาสมัคร 'ผู้ป่วยมะเร็ง' ร่วม 'ฉีดวัคซีนโควิด-19'

รับอาสาสมัคร 'ผู้ป่วยมะเร็ง' ร่วม 'ฉีดวัคซีนโควิด-19'

"สถาบันมะเร็งแห่งชาติ" ทำโครงการวิจัย การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 หลังการ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ในผู้ป่วยมะเร็ง เปิดรับอาสาสมัคร ชวน "ผู้ป่วยมะเร็ว" เข้าร่วมสร้างภูมิคุ้มกัน

นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า โครงการ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน ที่จำเพาะต่อไวรัส SARS-CoV-2 หลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง  วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันภายหลังการวัคซีนโควิด-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง โดยโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจาก ศ.นพ.สุรเดช หงส์อิง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รศ พญ อรุณี ธิติธัญญานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยได้รับงบประมาณจาก สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.)

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ คือ ผู้ป่วยมะเร็งที่มีอายุ 18 ปีขั้นไปและมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือกำลังวางแผนการรักษา อยู่ระหว่างการรักษา หรือ หลังการรักษาไม่เกิน 6 เดือน วัคซีนที่นำมาใช้ในโครงการเป็นวัคซีน Sinovac ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ

162140734984

  • เชิญชวน"ผู้ป่วยมะเร็ง" เป็นอาสาสมัคร "ฉีดวัคซีนโควิด-19"

สำหรับ "ผู้ป่วยมะเร็ง"ที่สนใจ จะได้รับการให้ข้อมูลของโครงการก่อนเซ็นยินยอมเข้าร่วมโครงการ จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac 2 เข็ม แต่ละเข็มห่างกัน 4 สัปดาห์ โดยจะได้รับการดูแลขณะ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ตามมาตรฐานของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ตั้งแต่การคัดกรอง การฉีดยา และติดตามอาการไม่พึงประสงค์อย่างใกล้ชิดจากทีมสหวิชาชีพ

ประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับโดยตรงคือ การทราบถึงระดับ "ภูมิคุ้มกัน"หลังการ"ฉีดวัคซีนโควิด-19"โดยการตรวจเลือดเพื่อหาภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อไวรัสโควิด-19 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่ต้องเจาะเลือดผู้ป่วย 2 ครั้ง ครั้งแรกคือ ก่อนฉีดวัคซีนเข็มแรก และ ครั้งที่สอง หลังฉีดวัคซีนเข็มที่สองไปแล้วสองสัปดาห์

162140736199

  • ติดต่อ "สถาบันมะเร็งแห่งชาติ" สร้างภูมิคุ้มกัน

หากมี"ผู้ป่วยมะเร็ง"ท่านใดสนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถเข้าร่วมโครงการนี้ได้แม้จะไม่ได้เป็นผู้ป่วยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ แต่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกนวตกรรมการแพทย์ผสมผสานด้านโรคมะเร็ง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ

สุดท้ายนี้ หวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากทุกท่านในการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยมะเร็งที่มีคุณสมบัติเข้าร่วมโครงการนี้ ประโยชน์ที่จะได้รับภายหลังสิ้นสุดโครงการคือทราบระดับภูมิคุ้มกันของ "ผู้ป่วยมะเร็ง"แต่ละคน ทุกคน นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นในการ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ส่งเสริมทัศนคติด้านบวกให้กับประชาชนในวงกว้างและนำพาประเทศไทยไปสู่ความยั่งยืนด้านสาธารณสุขโดยเร็วที่สุด

162140737930