BAY หั่นจีดีพีดิ่ง 2.0% หวั่นเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ดันโควิดพุ่ง 3แสนราย ก.ค.นี้

BAY หั่นจีดีพีดิ่ง 2.0% หวั่นเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ดันโควิดพุ่ง  3แสนราย ก.ค.นี้

กรุงศรี หั่นศก.ไทยปีนี้ ต่ำเหลือ2% จาก2.2% จากผลกระทบโควิด ชี้ หากโควิดคุมไม่ได้ แถมเจอคลัสเตอร์ใหม่ จ่อเห็นผู้ระบาดทะลุแตะ3แสนคน ในช่วงปลายก.ค.นี้

     วิจัยกรุงศรี กล่าวว่า มีความเห็นต่อเศรษฐกิจไทยว่า เศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2564 หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ที่      -2.6% YoY

      ทั้งนั้น คาดทั้งปีขยายตัว 2.0% GDP ในไตรมาสแรกของปีนี้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อทียบกับ -4.2% ในไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน และหดตัวน้อยกว่าที่วิจัยกรุงศรีและผลสำรวจ Bloomberg คาดไว้ที่ -3.3% และ -3.6% ตามลำดับ

      ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายรัฐบาลและการเติบโตเร่งขึ้นของการลงทุนภาครัฐ

     ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนกลับมาหดตัวอีกครั้ง ผลกระทบจากการระบาดระลอกที่สองในช่วงปลายปี 2563 บั่นทอนความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ประกอบกับตลาดแรงงานยังคงมีความเปราะบาง

      ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกจากมาตรการเยียวยาของรัฐช่วยพยุงการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนมิให้ทรุดแรง

      จากผลกระทบจากการระบาดระลอกสามมีแนวโน้มรุนแรงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนเมษายน

     

       โดยจากแบบจำลองสถานการณ์การระบาดล่าสุด (ข้อมูลถึงวันที่ 17 พฤษภาคม) คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันกว่าจะปรับลดลงมาต่ำกว่า 100 ราย อาจเป็นในช่วงเดือนสิงหาคม ช้าลงจากเดิมเคยคาดไว้ต้นเดือนกรกฎาคม

      ดังนั้น กิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศโดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคเอกชนอาจถูกจำกัดมากขึ้น รวมถึงคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางมาไทยในปีนี้มีแนวโน้มลดลงเหลือเพียง 3.3 แสนคน

      อย่างไรก็ดีเศรษฐกิจไตรมาสแรกที่หดตัวน้อยกว่าคาด การขยายตัวของภาคส่งออกในปี 2564 มีแนวโน้มปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศแกนหลัก และหนุนให้การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้น

       นอกจากนี้ ยังมีการเร่งลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และมีมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดวงเงินกว่า 2 แสนล้านบาท

       ปัจจัยบวกเหล่านี้จะช่วยลดแรงกระทบจากผลเชิงลบที่เพิ่มขึ้นในการคาดการณ์ล่าสุด ทางด้านสภาพัฒน์ฯ ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2564 เป็น 1.5- 2.5% จากเดิมคาด 2.5-3.5%

     ทางการปรับเป้าหมายการจัดหาและการฉีดวัคซีน ขณะที่วิจัยกรุงศรีประเมินสถานการณ์การระบาดเลวร้ายกว่าเดิม การประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ (วันที่ 12 พฤษภาคม)  มีมติในประเด็นสำคัญดังนี้

    โดย หากปรับเพิ่มจำนวนการจัดหาวัคซีนเป็น 150 ล้านโดส ภายในปี 2565 (จากเดิม 100 ล้านโดส ในปี 2564)
    นอกจากนี้ หาก รับแนวทางการฉีดวัคซีนเป็นการปูพรมฉีดเข็มแรกแก่ประชาชนให้มากที่สุด (จากแผนฉีดให้ครบคนละ 2 โดส จำนวน 50 ล้านคน)
    ทั้งนี้ หาก เร่งการเจรจาจัดหาวัคซีนให้ได้จำนวนมากที่สุดและหลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดและความรุนแรงของโรค

 

BAY หั่นจีดีพีดิ่ง 2.0% หวั่นเกิดคลัสเตอร์ใหม่ ดันโควิดพุ่ง  3แสนราย ก.ค.นี้

 

    จากการพบการระบาดเป็นกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่เป็นระยะๆ โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล วิจัยกรุงศรีได้ทบทวนประมาณการแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายวันอีกครั้ง  

      โดยใช้ข้อมูลล่าสุดถึง ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 จำแนกเป็น 3 กรณีด้วยกัน คือกรณีแรก หากสามารถคุมการระบาดในกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ได้ (เส้นสีเหลือง) จำนวนสูงสุดของผู้ติดเชื้อใหม่จะยังอยู่ในเดือนพฤษภาคม (เช่นเดียวกับคาดการณ์เดิม)

     แต่กว่าจะเห็นจำนวนผู้ติดเชื้อต่ำกว่า 100 รายต่อวันล่าช้าขึ้นเป็นปลายเดือนกรกฎาคม (จากเดิมต้นเดือนกรกฎาคม)

       กรณีที่สอง หากไม่สามารถคุมการระบาดในกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ได้ (เส้นสีส้ม) จำนวนสูงสุดของผู้ติดเชื้อจะอยู่ราวปลายเดือนพฤษภาคม และจะใช้เวลามากขึ้นกว่าจะปรับลดลงมาอยู่ต่ำกว่า 100 รายต่อวัน เป็นในปลายเดือนสิงหาคม

      และกรณีเลวร้ายสุด หากมีการระบาดในกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่ๆ เกิดขึ้นต่อเนื่องในเขตกรุงเทพฯ (เส้นสีแดง) จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า และอาจทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมสูงขึ้นแตะระดับ 3 แสนกว่ารายในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีคาดความเป็นไปได้ของสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อจะอยู่ในช่วงระหว่างกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 (อยู่ระหว่างเส้นสีเหลืองและสีส้ม)