ชุดชาติพันธุ์ชิน และ เสียงที่กึกก้อง ของ 'มิสยูนิเวิร์ส เมียนมา'

ชุดชาติพันธุ์ชิน และ เสียงที่กึกก้อง ของ 'มิสยูนิเวิร์ส เมียนมา'

เมื่อ "มิสยูนิเวิร์ส เมียนมา" คว้ารางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม “Miss Universe 2020” ทุกสายตาจดจ้องไปที่เธอ แล้วภายใต้สายตาที่กล้าแกร่งของเธอ มีอะไรซ่อนอยู่

 บนเวที “Miss Universe 2020 ครั้งที่ 69 ที่สหรัฐอเมริกา “ธูซาร์ วินท์ ลวินมิสยูนิเวิร์สเมียนมา ขึ้นรับรางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม

เธอขึ้นเวทีด้วยเครื่องแต่งกายชนชาติชิน ซึ่งอยู่ในรัฐชินของเมียนมา แม้สายตาในวันนั้นจะดูกล้าแกร่ง แต่แฝงไว้ด้วยความเศร้า เธอชูป้าย “Pray For Myanmar” เพื่อส่งเสียงให้คนทั้งโลกรู้ว่า เธอก็เป็นคนหนึ่งที่ต่อต้านรัฐบาลทหารที่ทำร้ายประชาชน

ว่ากันว่า ตอนแรกเธอตั้งใจจะใส่ชุดที่ผู้ออกแบบได้แรงบันดาลใจจาก ตุ๊กตาล้มลุก ของเล่นดั้งเดิมของชาวเมียนมา แต่ก็ไม่ได้ใส่ชุดนั้น ส่วนชุดที่ได้รางวัล ก็ดูงามสง่ามีเอกลักษณ์แบบเมียนมาไม่แพ้กัน และได้คว้ารางวัลชุดประจำชาติยอดเยี่ยม ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า รางวัลครั้งนี้เป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ เพราะการประกวดมิสยูนิเวิร์ส เป็นธุรกิจที่คนทั้งโลกสนใจและแฝงไว้ด้วยการเมืองระหว่างประเทศ

ศิรดา เขมานิฏฐาไท นักศึกษาปริญญาเอก สาขา Politics and International Studies,SOAS มหาวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งทำวิทยานพิพนธ์เกี่ยวกับการเมืองว่าด้วยการอพยพย้ายถิ่นของเมียนมา และมีความเชี่ยวชาญด้านเมียนมา กล่าวว่า ชุดที่ธูซาร์ใส่วันนั้น เป็นชุดชาติพันธุ์ชิน (chin) คนไทยจะจำสับสนกับคะฉิ่น ซึ่งต่างกัน รัฐชินอยู่ทางตะวันตกของพม่าติดกับอินเดีย รัฐนี้มีหลายชนเผ่า น้องเขามาเมืองฮ่าค่า ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐชิน

162131308345

(มิสยูนิเวิร์สเมียนมากับการเรียกร้องเพื่อประชาชนเมียนมา) 

“ชาติพันธุ์นี้ชอบใส่สีแดง มีเครื่องประดับลูกปัดระย้อย มีเครื่องหัวเป็นเครื่องประดับสวยงาม ชุดนี้สะท้อนวัฒนธรรมการแต่งกายของชาติพันธุ์ชินขนานแท้

เป็นชุดที่ใส่ในพิธีกรรมดั้งเดิมในหลายเทศกาล บางเทศกาลใส่เพื่อเชิดชูผู้หญิงที่เพรียบพร้อมทั้งสติปัญญาและฐานะ สะท้อนความกล้าหาญของสตรี”

ก่อนหน้านี้ชุดที่ออกแบบไว้ได้แรงบันดาลใจจากตุ๊กตาล้มลุก ของเล่นเมียนมา แต่เนื่องจากชุดมาไม่ทัน จึงแก้ไขสถานการณ์มาเป็นชุดชาติพันธุ์ชิน

ศิรดา บอกว่า เป็นการสะท้อนทางการเมืองให้เห็นว่า เมียนมามีชาติพันธุ์หลากหลาย และคนส่งสารอยากบอกว่า ไม่ว่าชาติพันธุ์ไหนก็เป็นส่วนหนึ่งของเมียนมา ไม่จำเป็นต้องยึดโยงกับชาติพันธุ์หลัก

“เราสามารถตีความจากเครื่องแต่งกายเหล่านี้ ชุดนี้สะท้อนการเมืองชัดมาก แต่เดิมจะเป็นชุดตุ๊กตาล้มลุก สื่อถึงการเรียกร้องประชาธิปไตย ไม่ว่าจะแพ้กี่ครั้ง ก็ต้องลุกขึ้นสู้เหมือนตุ๊กตาล้มลุก ไม่ว่าจะถูกปราบกี่ครั้ง ล้มกี่ครั้งก็จะลุกขึ้นมา”

ครั้งนี้มิสยูนิเวิรสเมียนมา ส่งสารถึงคนทั้งโลกด้วยคำว่า “Pray For Myanmar” เป็นสารที่สื่อตรงๆ เพื่อให้ประชาคมโลกรู้และเห็น และเอาใจช่วยคนเมียนมา โดยอยากให้นานาชาติเข้ามาแทรกแซงเรื่องนี้”

ชุดเครื่องแต่งกายของมิสยูนิเวิร์สเมียนมา เป็นความร่วมแรงร่วมใจกันของคนชาติพันธุ์เมียนมาในอเมริกา ศิรดา บอกว่า เขาไม่ได้สู้แค่คนในประเทศ แต่ต้องการส่งสารทางการเมืองให้คนทั้งโลกเห็น

162131386076

(ชุดนี้ได้แรงบันดาลใจจากตุ๊กตาล้มลุก แต่มาไม่ทันประกวด)

“ไม่ใช่แค่ชุดที่มีนัยยะทางการเมือง การพูดของเธอสะท้อนการเมือง ไม่ว่าช่องทางอะไรเธอก็อยากสื่อสารให้โลกรู้ ในเชิงการเมืองระหว่างประเทศ การที่รัฐๆ หนึ่งจะอยู่ได้ ไม่ใช่ว่ กุมอำนาจได้หมดแล้วจบ ยังมีเรื่องความชอบธรรมด้วยการที่ระบบเผด็จการอยู่ได้ เพราะมีการช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทำให้ระบอบทหารมีอำนาจเยอะ ประชาชนก็ต้องทำให้เห็นว่า พวกเขาไม่ยอมรับระบอบการปกครองด้วยทหารที่เป็นเผด็จการ”

   

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาการประกวดนางงามระดับโลก ทำให้เห็นว่า ผู้หญิงไม่ได้มีแค่ความสวยงาม สิ่งสำคัญคือทัศนคติ และการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม

  

อย่างการประกวดระดับมิสแกรนด์ หัวข้อการพูดจะชัดว่า ต้องเป็นเรื่องสันติภาพ ต่อต้านความรุนแรง แต่เวทีนี้น่าจะเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน คนมาประกวดก็ต้องมีความเข้าใจสังคมโลกและทัศนคติที่เป็นสากล

เหมือนเช่นที่มิสยูนิเวิร์สเมียนมา กล่าวในวิดีโอเวทีประกวดก่อนจะถึงรอบสุดท้ายว่า

คนของเรากำลังจะตาย เพราะถูกทหารยิงทุกวัน