เซิ้นเจิ้น และ EEC ในบริบท การสร้างบ้าน แปงเมือง

เซิ้นเจิ้น และ EEC ในบริบท การสร้างบ้าน แปงเมือง

ตั้งแต่แรกเริ่ม จุดประสงค์และความฝันในการสร้างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือEECของเรานั้นคือการสร้างบ้านแปงเมืองเพื่อให้เป็นเมืองในฝันสำหรับอนาคต

ตั้งแต่แรกเริ่ม จุดประสงค์และความฝันในการสร้างเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือEECของเรานั้นคือการสร้างบ้านแปงเมืองเพื่อให้เป็นเมืองในฝันสำหรับอนาคต เป็นที่ผู้คนพึงปรารถนามาอยู่อาศัย หรืออยากให้บ้านของตนเองเป็นเช่นนี้ ไม่ว่าพื้นที่นี้อาจรู้จักกันในนาม อีสต์เทริน์ซีบอร์ด มาแต่เดิม แต่วันนี้พื้นที่ตรงนี้กำลังถูกวางให้เป็นตัวจุดประกายของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในบริบทใหม่ บริบทของการพัฒนาในยุคดิจิลทัล ซึ่งแน่นอนรัฐจะต้องออกแรงอย่างมหาศาลในการแปลงร่างของพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นเมืองที่วาดฝันไว้

โครงการต่าง ๆ ของรัฐทั้งทางด้านสาธารณูปโภคทันสมัย สิ่งอำนวยความสะดวก สถาบันการศึกษา การลงทุนในธุรกิจสมัยใหม่ที่เป็นเป้าหมายเริ่มมีให้เห็น แม้ว่าจะช้าหรือใช้เวลาเดินช้ามากก็ตาม

หากมองในพื้นที่เดิมนั้น ผมมองดูแล้วจากสภาพของผู้คนในพื้นที่ และสาธารณูปโภค กติกา รวมทั้งสังคมโดยรวมแล้ว ผมว่าไม่ง่ายที่จะสร้างให้เป็นเมืองในฝันที่มีครบทุกเรื่องดั่งที่หวังไว้

การสร้างบ้านแปงเมืองให้ออกมาในรูปแบบที่เราต้องการนั้น ทำให้ผมนึกถึงประเทศจีนที่เขาสร้างเมืองเซินเจิ้น เมืองที่คนทั้งโลกพอได้ยินชื่อก็จะมองว่าเป็นเมืองที่ผลิตของปลอมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพต่ำ เราจะเห็นว่าคนไทยส่วนมากก็ยังมองประเทศจีนโดยใช้เมืองนี้เป็นบรรทัดฐานเวลาที่พูดถึงของหรือสินค้าใดก็มักจะมองแบบประชดประชันว่าผลิตภัณฑ์เซิ้นเจิ้น 

แสดงให้เห็นถึงความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ายังมีน้อยและไม่ได้ติดตามความก้าวหน้าการขึ้นไหวของความเจริญเติบโตว่าประเทศจีนได้เปลี่ยนเมืองนี้จากเมืองที่ผลิตของเลียนแบบมาเป็นเมืองสร้างสรรค์จนได้ชื่อว่า “ซิลิคอนวันเล่ย์ของเอเชีย”เมืองที่มีคนหนุ่มสาวอยู่จำนวนมากเมืองที่สามารถดึงมันสมองที่ปราดเปรื่องทั้งคนจีนที่อยู่ในต่างประเทศชาวต่างประเทศและเด็กหนุ่มรุ่นใหม่ที่เก่งกาจในเรื่องของนวัตกรรมในทั้งในในประเทศเข้ามาอยู่ในเมืองนี้

ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเมืองนี้เมื่อประมาณปีกว่า ๆ และได้ติดตามความก้าวหน้าของการเจริญเติบโตของเมืองนี้มาโดยตลอดมีโอกาสไปบรรยายในงานเอสเอ็มอีกก่อนหน้าที่จะมีโควิดไม่นานก็พอเห็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจจนไม่น่าเชื่อว่าจะพลิกโฉมได้ขนาดนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ที่ประกาศให้เซินเจิ้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้น ต่อมา อีก 40 ปีให้หลัง เมืองนี้ได้เติบโตจากหมู่ประมงที่มีผู้คน 30,000 คน เติบใหญ่ ผ่านกาลเวลามาเป็นเมืองการผลิตสินค้าทุกประเภท เป็นเมืองแห่งการผลิตของก๊อปปี้ ลอกเลียนแบบ 

วันนี้ เซินเจิ้นกลายเป็นเมืองแห่งนวัตกรรม เมืองที่มีผู้คนอาศัยกว่า 12 ล้านคน และวันนี้ถูกขนานนามว่ามีสตาร์ทอัพด้านดิจิตัลมากที่สุดของจีน และเป็นเมืองที่เด็กหนุ่มสาวชาวจีนไฝ่ฝันอยากมาทำงานกับบริษัทแห่งอนาคตในเมืองนี้ การสร้างเมืองใหม่ที่ทันสมัยที่ผมเห็นที่เซินเจิ้น จะเห็นการวางผังเมืองที่ทันสมัย เป็นปัจจัยสำคัญในการดึงทุกคนที่ต้องการให้เข้ามาดำเนินการให้เข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งเงื่อนไขทางการปกครองของจีนอาจจะทำง่ายกว่าบ้านเรา แต่ผมคิดว่าเขามีการมองภาพใหญ่ของการพัฒนาที่ครบ และมีการร่วมมือกันจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นเป็นเรื่องสำคัญ โดยนโยบายของรัฐบาลกลางที่สร้างความมั่นใจให้ทุกระดับอย่างชัดเจน ทำให้เขาสามารถสร้างเมืองในฝันของอนาคตได้สำเร็จ

ผมย้อนมามอง EEC ผมคิดว่าบางทีเราอาจใช้พื้นที่เขตส่งเสริมพิเศษในพื้นที่ EEC ให้จำลองเมืองที่เราอยากเห็นในการสร้างโครงการ EEC นี้ ให้ผู้คนเห็นภาพเมืองในฝันของ EEC ทั้งหมดว่าเป็นดั่งนี้ เมืองที่ผู้คนมีวิถีของการอยู่อาศัยและทำงานอย่างสมดุลตามแบบที่คนที่ EEC อยากให้เป็น เพื่อให้เขาเข้ามาอยู่และร่วมสร้างบ้านแปงเมืองร่วมกับเรา และผู้คนในพื้นที่อื่น ๆ ได้เห็นเป็นตัวอย่าง พื้นที่ที่พอมีโครงการแล้ว อาทิ เช่น พื้นที่ EECi หรือ EECd ฯลฯ ก็ไม่เลวที่จะจำลองชุมชนแบบที่ครบถ้วนและอัจฉริยะตามแบบที่ EEC ไฝ่ฝัน แทนที่จะใช้ทำเป็นแค่เพียงที่ทำงานเท่านั้น เพื่อให้เป็นแบบตัวอย่างให้ผู้คนได้เห็นและอยากร่วมฝันและอยากเป็นส่วนหนึ่งของ EEC