SCB จับมือ โรช ไทยแลนด์ ส่ง‘สินเชื่อเพื่อค่ารักษาโรคมะเร็งและโรคฮีโมฟีเลีย’

SCB จับมือ โรช ไทยแลนด์ ส่ง‘สินเชื่อเพื่อค่ารักษาโรคมะเร็งและโรคฮีโมฟีเลีย’

ธนาคารไทยพาณิชย์ ร่วมมือกับ บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด ส่งโครงการ “สินเชื่อเพื่อค่ารักษาโรคมะเร็งและโรคฮีโมฟีเลีย” สินเชื่อดิจิทัลที่มุ่งช่วยแบ่งเบาความกังวลเรื่องค่ายารักษา วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาทต่อคน ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 60 เดือน

       ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารมีความห่วงใยและตระหนักถึงความรุนแรงของโรคมะเร็งซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 2 ของโลก

.     ซึ่งค่ายารักษาโรคมะเร็งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยและคนที่ใกล้ชิดเป็นกังวลอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการแบ่งเบาและคลายความกังวลเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา

        ธนาคารจึงได้ร่วมมือกับ บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด ผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมยาเพื่อการดูแลสุขภาพและการรักษาแบบจำเพาะบุคคล นำเสนอโครงการสินเชื่อเพื่อค่ารักษาโรคมะเร็งและโรคฮีโมฟีเลีย ภายใต้โครงการ Roche Patient Support Solution (RPSS)

       โดยเปิดให้คู่สมรส บุตร บิดา มารดา สมัครให้กับผู้ป่วย วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาทต่อคน ผ่อนชำระได้นานสูงสุด 60 เดือน เดือนละเท่า กัน จ่ายดอกเบี้ยแค่ครึ่งเดียว เพียง 7.5% ต่อปี นาน 12 เดือนแรก ในอัตราลดต้น ลดดอก ซึ่งจะช่วยให้เงินต้นหมดเร็วขึ้น และจ่ายดอกเบี้ยเพียง 15% ต่อปี

      ในปีถัดไปจนครบสัญญา สมัครขอใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน SCB EASY สะดวก ง่าย สมัครได้เอง ทุกที่ ทุกเวลาตลอด 24 ชั่วโมง

.     ทั้งนี้ ธนาคารมุ่งมั่นที่จะยืนเคียงข้างและดูแลลูกค้าของธนาคารในทุกกลุ่มให้สามารถก้าวผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้

      โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือกับพันธมิตรในครั้งนี้ จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นพร้อมทั้งช่วยคลายกังวล แบ่งเบาภาระ และสร้างความอุ่นใจให้กับลูกค้าในการดำเนินชีวิต พร้อมสู้เพื่อคนที่คุณรักต่อไป

​       ด้าน มร. ฟาริด บิดโกลิ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โรช ไทยแลนด์ เมียนมาร์ กัมพูชา และลาว กล่าวว่า “ปัจจุบัน มีผู้ป่วยอีกจำนวนไม่น้อยที่เผชิญกับโรคมะเร็งและโรคฮีโมฟีเลีย แต่ยังขาดความสามารถในการเข้าถึงนวัตกรรมการรักษา

      โดยสาเหตุหลักคือสภาพคล่องทางการเงิน โรช ไทยแลนด์ จึงตระหนักถึงความต้องการของผู้ดูแลและผู้ป่วยในด้านนี้ เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ดูแลและขยายโอกาสการเข้าถึงการรักษาให้แก่ผู้ป่วย เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือและเป็นพันธมิตรกับ SCB และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเสนอความช่วยเหลือจากธนาคารด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

        ภายใต้โครงการ Roche Patient Support Solutions (RPSS) เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำให้ผลลัพธ์การรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น ตลอดระยะเวลา 50 ปีแห่งการดำเนินกิจการในประเทศไทย โรช ไทยแลนด์

.      มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเติมเต็มความต้องการทางการแพทย์ที่จำเป็นแต่ประชาชนยังเข้าไม่ถึง และผลักดันคุณภาพการดูแลผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น”

      วิธีการสมัครบริการสินเชื่อเพื่อค่ารักษาโรคมะเร็ง และโรคฮีโมฟีเลีย

     1. ผู้ป่วยได้รับใบรับรองแพทย์จากแพทย์ผู้รักษา เพื่อยืนยันถึงความจำเป็นในการรักษาและใช้ในการสมัครเข้าร่วมโครงการ
      2. ติดต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัท อินดิเพนเดนท์ โพรเซสซิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (IPS) โทร. 02-161-4948 เพื่อขอเข้าร่วมโครงการ Roche Patient Assistance Program (RPAP)
      3. แจ้งความประสงค์ในการขอสินเชื่อเพื่อค่ารักษาโรคมะเร็งและโรคฮีโมฟีเลียแก่เจ้าหน้าที่ของบริษัท อินดิเพนเดนท์ โพรเซสซิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (IPS) เพื่อสมัครเข้าโครงการ Roche Patient Support Solution (RPSS)
      4. เจ้าหน้าที่ของบริษัท อินดิเพนเดนท์ โพรเซสซิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (IPS) ออกใบแจ้งค่ายารักษาโรคมะเร็งและโรคฮีโมฟีเลีย เพื่อใช้แนบเป็นหลักฐานในการสมัครขอสินเชื่อ
      5. เปิดแอปพลิเคชัน SCB EASY เลือกสินเชื่อเพื่อการศึกษาและรักษาพยาบาล พร้อมเตรียมเอกสารประกอบการสมัครขอสินเชื่อเพื่อยื่นให้กับทางธนาคารเพื่อพิจารณา

      สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินเชื่อเพื่อค่ารักษาโรคมะเร็งและโรคฮีโมฟีเลียเพิ่มเติมติดต่อ:

      • ธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขา หรือศูนย์บริการลูกค้าธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Call Center 02-777-7777 หรือเว็บไซต์ scb.co.th
      • บริษัท อินดิเพนเดนท์ โพรเซสซิ่ง เซอร์วิสเซส จำกัด (IPS) โทร. 02-161-4948 หรือเว็บไซต์https://www.roche.co.th/th/patientsolutions/patient-access-program.html