เช็คมาตรการช่วยเหลือช่วง 'โควิด-19' จาก 8 ธนาคารรัฐผ่าน 'www.gfa.or.th'

เช็คมาตรการช่วยเหลือช่วง 'โควิด-19' จาก 8 ธนาคารรัฐผ่าน 'www.gfa.or.th'

สำรวจ "www.gfa.or.th" เว็บไซต์จาก "สมาคมสถาบันการเงินรัฐ" ศูนย์รวมความช่วยเหลือทางการเงินจาก "แบงก์รัฐ" ทุกแห่ง พร้อมอัพเดทมาตรการช่วยเหลือด้าน "การเงิน" ช่วง "โควิด-19" ระลอกล่าสุด สำหรับประชาชน

"โควิด-19" ระลอกเดิมยังไม่ผ่านพ้นไป ระลอกใหม่รุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ สุขภาพ รวมถึงธุรกิจและเงินในกระเป๋า ทำให้ธนาคารต่างๆ โดยเฉพาะธนาคารของรัฐทยอยออกมาตรการช่วยเหลือประชาชน ในการบริหารจัดการ "หนี้" เพื่อให้สามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยดี หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

"กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมมาตรการช่วยเหลือทางการเงินสำหรับประชาชนที่เป็นลูกค้า "ธนาคารรัฐ" 8 แห่ง จากเว็บไซต์ "www.gfa.or.th" เว็บไซต์จาก "สมาคมสถาบันการเงินรัฐ" ศูนย์รวมความช่วยเหลือทางการเงินจาก "8 แบงก์รัฐ" ให้ประชาชนเข้าถึงมาตรการทางการเงินได้ง่ายขึ้น โดย สมาชิกสถาบันการของรัฐทั้ง 8 แห่งประกอบด้วย

1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์
2. ธนาคารออมสิน
3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
4. ธนาคารกรุงไทย
5. ธนาคารอิสลาม
6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank)
7. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) 
8. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

สถาบันการเงินแต่ละแห่งมีมาตรการช่วยเหลือที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 27 เม.ย. 64)

 1. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 

161951605454

มี 4 มาตรการ ช่วยลูกค้า ธอส.ทั่วประเทศ ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จากโควิด -19 เลือกจ่ายเงินงวดเหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ตัดทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย

อ่านรายละเอียดมาตรการของ ธอส. เพิ่มเติม คลิกที่นี่

 2. ธนาคารออมสิน 

161951616445

มีมาตรการทั้งสำหรับประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และมีทั้งการพักชำระ การลดดอกเบี้ย การให้สินเชื่อ และขยายเวลาการผ่อนชำระต่างๆ ซึ่งโครงการที่ยังเปิดให้เข้าร่วมได้ เช่น มาตรการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้, มาตรการช่วยเหลือลูกค้าผู้ถือบัตรเครดิต (Reduce Minimum Payment)

รวมไปถึงการขยายเวลาโครงการเดิมออกไปอีก เช่น สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่าย สำหรับผู้มีอาชีพอิสระ/ผู้มีรายได้ประจำ ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า (COVID-19), สินเชื่อเสริมพลังฐานราก, โครงการสินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน, โครงการสินเชื่อ SMEs มีที่ มีเงิน สำหรับธุรกิจการท่องเที่ยว เป็นต้น

อ่านรายละเอียดมาตรการของออมสินเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 3. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

161951623782

ธ.ก.ส. ยังคงมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ระลอกใหม่ ทั้งสำหรับประชาชนทั่วไป เกษตรกร และเอสเอ็มอี ซึ่งมีทั้งโครงการเดิมที่ยังไม่สิ้นสุดโครงการ และโครงการใหม่

เช่น โครงการพักชำระหนี้ต้นเงินให้แก่ลูกค้าเกษตรกรและลูกค้ารายคน โดยขยายเวลาชำระหนี้เป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากงวดชำระเดิม โดยไม่พักชำระดอกเบี้ยเงินกู้, โครงการพักชำระหนี้ต้นเงินให้แก่ลูกค้าผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกร โดยขยายเวลาชำระหนี้เป็นระยะเวลา 6 เดือน นับจากงวดชำระเดิม โดยไม่พักชำระดอกเบี้ยเงินกู้ เป็นต้น

ทั้งนี้ผู้ที่เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส. สามารถเข้าไปดูมาตรการการช่วยเหลือที่เหมาะสมกับตัวเองที่อัพเดทแล้ว เพียง คลิกที่นี่

 4. ธนาคารกรุงไทย 

มีมาตรการกรุงไทยช่วยเหลือลูกค้าฝ่าวิกฤติ "โควิด-19" ทั้งลูกค้าบุคคล และลูกค้าธุรกิจ เช่น มาตรการที่ยังมีวงเงินคงเหลืออย่าง มาตรการขยายระยะเวลาโดยลดอัตราผ่อนชำระหนี้ ไม่เกิน 12 เดือน, มาตรการขยายระยะเวลาตั๋วแต่ละฉบับออกไปสูงสุด 6 เดือน เป็นต้น

รวมถึงมาตรการใหม่ๆ เช่น มาตรการ พักชำระเงินต้น (ชำระแต่ดอกเบี้ย) นาน 3 เดือน สำหรับประชาชนฐานรากและบุคคลทั่วไป เป็นต้น

161951649079

อ่านรายละเอียดมาตรการของ ธ.ก.ส.เพิ่มเติม คลิกที่นี่

 5. ธนาคารอิสลาม 

ออกมาตรการพักชำระเงินต้น/อัตรากำไร ขยายระยะเวลาสินเชื่อ ยกเว้นค่าชดเชย (เบี้ยปรับ) ช่วยเหลือวงเงินเพิ่มเติม สำหรับลูกค้าและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ 

161951676178

อ่านรายละเอียดมาตรการของธนาคารอิสลามเพิ่มเติม คลิกที่นี่

 6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) 

เน้นการช่วยเหลือเหลือลูกค้าและผู้ประกอบการจากผลกระทบ COVID-19 ที่เป็น "ลูกค้า EXIM Bank" เช่น มาตรการใหม่อย่าง มาตรการฟื้นฟูผู้ประกอบการหลังสถานการณ์ COVID-19 ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก

หรือมาตรการที่มีการขยายเวลาให้ อาทิ มาตรการสินเชื่อ SMEs ผ่อนปรน (Soft Loan) อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี, มาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น

161951760482

อ่านรายละเอียดมาตรการของ EXIN Bank เพิ่มเติม คลิกที่นี่

 7. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME D Bank) 

มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีจาก "โควิด-19" ที่ยังเปิดให้เข้าร่วมโครงการได้ เช่น การพักชำระหนี้เงินต้น 6 เดือน ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2564 ทั้งลูกค้าบุคคล และลูกค้าธุรกิจ

161951804951

อ่านรายละเอียดมาตรการของ SME D Bank เพิ่มเติม คลิกที่นี่

 8. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) 

มีมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นลูกค้าของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) หลายมาตรการ เช่น สินเชื่อเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องอย่าง โครงการค้ำประกันสินเชื่อ บสย. SMEs สร้างชาติ (PGS9), โครงการค้ำประกัน สินเชื่อ บสย. SMEs ไทยชนะ (Bilateral6) เป็นต้น

161951786259

อ่านรายละเอียดมาตรการของ บสย. เพิ่มเติม คลิกที่นี่

นอกจากรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการของธนาคารของรัฐแล้ว https://gfa.or.th/ ยังมีข้อมูลอื่นๆ เช่น ข่าวประชาสัมพันธ์ คำตอบของคำถามที่พบบ่อย และช่องทางการติดต่อที่ช่วยให้ลูกหนี้ของสถานบันการเงินต่างๆ เข้าถึงการช่วยเหลือทางการเงินได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ gfa