เปิดคู่มือประชาชนต้องรู้ ถึงคิวเลือกตั้ง 'อบต.'

เปิดคู่มือประชาชนต้องรู้ ถึงคิวเลือกตั้ง 'อบต.'

ฐานข้อมูล "อบต." ในคู่มือพื้นฐานสำหรับประชาชนเตรียมความพร้อม รอวันเลือกตั้ง อบต.อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

จากหนังสือที่ "กิตติพงษ์ บริบูรณ์" รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ส่งถึงผู้อํานวยการสํานักงาน กกต.ประจําจังหวัด เรื่อง "การเตรียมความพร้อมในการเสนอรายชื่อบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้งประจําองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนตําบล)" ลงวันที่ 16 เม..2564 นั้น

เป็นสัญญาณสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมจัดเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตําบล(อบต.) ต่อจากการเลือกตั้งเทศบาลทั่วประเทศหลังเว้นว่างการเลือกตั้ง "อบต." ที่ครบวาระหรือยกฐานะมานานถึง 7 ปีก่อนเหตุการณ์รัฐประหารในปี 2557 เวลานี้จึงรอเพียงมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบวันเวลาการเลือกตั้งนายก และสมาชิก อบต.เป็นคิวถัดไป

เมื่อการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหนึ่งในรูปแบบกระจายอำนาจ ให้ประชาชนแต่ละพื้นที่มีส่วนร่วมในการปกครองและบริหารท้องถิ่นของตัวเองตามพระราชบัญญัติ(...) กำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น ..2542 เพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ภาคประชาชน ผ่านระบบการเลือกผู้แทนเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น

โดยเฉพาะ อบต. จำนวน 5,300 แห่งซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีจำนวนมากที่สุดกว่าท้องถิ่นทุกระดับ เมื่อเปรียบเทียบกับองค์การบริหารส่วนตำบล 76 แห่ง เทศบาล 2,472 แห่ง หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) อีก 2 แห่ง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่ารูปแบบการบริหาร อบต.ถึงแม้จะเป็นท้องถิ่นที่ขนาดเล็กแต่ใกล้ชิดประชาชนในชนบทมากที่สุด

161927412571

สำหรับ "อบต." นั้นจัดตั้งขึ้นตาม ...สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ..2537 และแก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 7) ..2562 หากลงรายละเอียดไปที่โครงสร้างการบริหาร จะพบว่า อบต.ถูกแยกเป็น 2 ส่วน คือ 1.ฝ่ายบริหาร มีนายก อบต.เป็นผู้บริหารสูงสุด และ 2.ฝ่ายนิติบัญญัติ มีสมาชิก อบต.ทำหน้าที่ใน "สภา อบต."

ทั้ง 2 ส่วนมีอำนาจหน้าที่คือ นายก อบต. กำหนดนโยบายต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน และให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมต้องดำเนินการให้ไม่ขัดต่อกฎหมาย นโยบาย แผนพัฒนาในเขตพื้นที่ตำบลตั้งแต่ โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณสุขภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม ขีดเส้นใต้ไปถึงหน้าที่ "นายก อบต." ต้องแถลงนโยบายต่อสภา อบต. พร้อมจัดทำรายงานผลปฏิบัติงานตามนโยบายที่แถลงเป็นประจำทุกปี 

ส่วนการได้มาซึ่ง "นายก อบต.-สมาชิก อบต." นั้นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน 2 ระดับ ประกอบด้วย 1.นายก อบต. ใช้ "เขตตำบล" เป็นเขตเลือกตั้ง และ 2.สมาชิก อบต.ใช้ "เขตหมู่บ้าน" เป็นเขตเลือกตั้ง ยกเว้นแต่หมู่บ้านใดมีราษฎรไม่ถึง 25 คน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกัน และรวมกันแล้วมีราษฎรถึง 25 คน เป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน

161927414238

ขณะที่จำนวน "สภา อบต." พิจารณาจากเขตเลือกตั้ง (หมู่บ้าน) ละ 1 คน แต่หาก อบต.ใดมีเขตเลือกตั้งไม่ถึง 6 เขตเลือกตั้ง ให้สภาอบต.นั้น (ประกอบด้วยสมาชิก 6 คน) แบ่งได้ดังนี้

ถ้ามี 1 เขตเลือกตั้งให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล หรือ .อบต. 6 คน

ถ้ามี 2 เขตเลือกตั้งให้มี .อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 3 คน

ถ้ามี 3 เขตเลือกตั้ง ให้มี .อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 2 คน

ถ้ามี 4 เขตเลือกตั้งให้มี .อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 1 คนก่อน แล้วเพิ่มให้เขตเลือกตั้งที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุด 2 เขตเลือกตั้งแรกเขตเลือกตั้งละ 1 คน

ถ้ามี  5 เขตเลือกตั้ง ให้มี .อบต. ได้เขตเลือกตั้งละ 1 คนและเพิ่มให้เขตเลือกตั้งที่มีจำนวนราษฎรมากที่สุดอีก 1 คน

161927415458

สำหรับการดำรงตำแหน่ง "นายก อบต." มีวาระคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้ โดยเฉพาะในกรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบ 4 ปีให้ถือว่าเป็น 1 วาระ และเมื่อได้ดำรงตำแหน่ง 2 วาระติดต่อกันแล้ว จะดำรงตำแหน่งได้อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 4 ปีนับแต่วันพ้นตำแหน่ง ขณะที่ "สภา อบต." มีวาระคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้งเช่นกัน

ทั้งหมดเป็นฐานข้อมูล "อบต." ในคู่มือพื้นฐานสำหรับประชาชนในฐานะศูนย์กลางการกระจายอำนาจ เพื่อเตรียมความพร้อม รอวันเลือกตั้ง อบต.อีกไม่กี่เดือนข้างหน้า.